Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/259
Title: | LANDSCAPE DESIGN AND PLANT SELECTION TO COPING WITH FLOODING IN PUBLIC PARKS IN MUEANG CHIANG MAI แนวทางการออกแบบและเลือกใช้พรรณไม้เพื่อรองรับความเสี่ยงจากน้ำท่วม สำหรับสวนสาธารณะในอำเภอเมืองเชียงใหม่ |
Authors: | Anupong Pengkam อนุพงศ์ เป็งคำ Nachawit Tikul ณัชวิชญ์ ติกุล Maejo University. Architecture and Environmental Design |
Keywords: | การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำท่วม สวนสาธารณะ พรรณไม้ climate change flooding park plant |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | At present, people are increasingly aware of the importance of the public parks because it provides civic benefits and good environment for users. Interestingly, the park is vulnerable areas where have been affected by severe weather such as flooding. The park in Mueang Chiang Mai has been affected from the disaster. Therefore, the purpose of this research is to assess flood risk to survival of plants in the parks in the city of Chiang Mai and the collected of flooding tolerance of plants data can be guideline for improvements plants for future flooding. The studied parks in flood risk include Kawira Monument Park, Baan Den Park and Railway Station Public Park. And then collecting existing plants came from collecting to survey and interview. The collected secondary data include flooding characteristics affected of the survival of trees, flooding tolerance of trees data and the future flooding data. Data are evaluated in a comparision table, using a landscape design principles by the following 3 suggested approaches: site analysis, zoning and conceptual for plant selection.
The evaluation result of plants in three parks can’t be survival when flood occurs for 5 days and flooding depth is 194-272 centimeters. 387 species of flooding tolerant plants are found into 356 species of trees, 29 species of shrubs and 2 of groundcovers. The researcher has a guideline to improve plants in the parks for future flooding by changing new flooding tolerance plants gained from selection and comparative family. The research shows that in improving the three parks can accommodate for future flooding at flooding depth of 500 centimeters and a flood duration of 150 days. ปัจจุบันผู้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสวนสาธารณะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสวนสาธารณะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อเมืองในด้านต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วสวนสาธารณะมีความเปราะบางต่อสภาพอากาศที่รุนแรงโดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมเป็นอย่างมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมในอนาคตต่อการอยู่รอดของพรรณไม้ในสวนสาธารณะในอำเภอเมืองเชียงใหม่และรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ที่ทนทานน้ำท่วมเพื่อใช้ในการเสนอแนวทางปรับปรุงพรรณไม้ในสวนสาธารณะให้สามารถรองรับน้ำท่วมในอนาคตได้ โดยทำการศึกษาสวนสาธารณะที่อยู่ในขอบเขตพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในอำเภอเมืองเชียงใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ สวนสาธารณะอนุสาวรีย์ค่ายกาวิละ สวนสุขภาพบ้านเด่น และสวนสาธารณะบนที่ดินของการรถไฟ จากนั้นทำการรวบรวมข้อมูลพรรณไม้เดิมในแต่ละพื้นที่โดยการสำรวจและการสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องใน 3 ประเด็น ได้แก่ คุณลักษณะของน้ำท่วมที่มีผลต่อการอยู่รอดของต้นไม้ ข้อมูลพรรณไม้ที่ทนทานน้ำท่วมและข้อมูลคาดการณ์น้ำท่วมในอนาคต จากนั้นจึงนำข้อมูลมาประเมินในตารางเปรียบเทียบและเสนอแนวทางการปรับปรุงพรรณไม้เพื่อรองรับน้ำท่วมโดยใช้หลักการออกแบบภูมิทัศน์ ซึ่งมี 3 วิธีการได้แก่ การวิเคราะห์พื้นที่ การแบ่งกลุ่มการใช้พื้นที่และแนวคิดการเลือกใช้พรรณไม้ ผลการประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมในอนาคตต่อการอยู่รอดของพรรณไม้พบว่า สวนสาธารณะทั้งสามแห่งมีโอกาสที่พรรณไม้เดิมไม่สามารถอยู่รอดได้เมื่อเกิดน้ำท่วมที่ระยะเวลาน้ำท่วม 5 วัน และระดับความสูงของน้ำท่วมที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ตั้งแต่ระดับ 194-272 เซนติเมตร ในส่วนของการรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ที่ทนทานน้ำท่วม พบข้อมูลพรรณไม้ที่ทนทานน้ำท่วมทั้งหมด 387 ชนิด แบ่งเป็น กลุ่มไม้ยืนต้น 356 ชนิด กลุ่มไม้พุ่ม 29 ชนิด และกลุ่มไม้คลุมดิน 2 ชนิด จากนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการปรับปรุงวางผังพรรณไม้เพื่อรับรองน้ำท่วม โดยทำการปรับเปลี่ยนพรรณไม้ใหม่เป็นพรรณไม้ที่ทนทานน้ำท่วมที่มาจากการคัดเลือกและเทียบเคียงวงศ์ สุดท้ายหลังจากการปรับปรุงพบว่า สวนสาธารณะทั้งสามแห่งสามารถรับรองน้ำท่วมในอนาคตที่ระยะเวลาน้ำท่วมนาน 150 วันและทนต่อระดับความสูงของน้ำท่วม 500 เซนติเมตร |
Description: | Master of Science (Master of Science (Environmental design and planning)) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผนสิ่งแวดล้อม)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/259 |
Appears in Collections: | Architecture and Environmental Design |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5919301002.pdf | 16.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.