Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/256
Title: GAPS AND OPPORTUNITIES FOR MATERIAL DEVELOPMENT IN THAILAND IN ORDER TO BE ABLE TO COPE WITH CLIMATE CHANGES IN THE FUTURE.​
ช่องว่างและโอกาสการพัฒนาวัสดุก่อสร้างในประเทศไทยเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต 
Authors: Patcharawan Bootkaew
พชรวรรณ บุตรแก้ว
Nachawit Tikul
ณัชวิชญ์ ติกุล
Maejo University. Architecture and Environmental Design
Keywords: Future Climate
Flood resistance
High Temperature resistance
Building Materials
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: Climate change affects living conditions of people; therefore, selecting the most effective building materials in order to cope with both heat and floods is a way to reduce damage from future climate change. This research focuses on collecting future climate change information, calculating material resistant to future heat and floods values of building materials, and the results of durable future climate change values of building materials with a highest Thailand temperature approximately 49 degrees Celsius and the longest flooding lasting about 60 days by 1.8 meters rising levels. The endurable values are variable for finding gap and developing guide of future materials by collecting present material products and researches that relate to resistant heat and floods, by gap analysis tools with Matric Diagram. Forthwith, collecting customers’ opinions survey (VOC) are transformed to suitable properties by Quality Function Deployment (QFD). The gap being that there are just in a few number of researches that relate to flood resistance. In addition, heat and flood properties of present material products cannot coped with future climate. Qualitative developing envelope house all of three parts. Wall materials should develop heat resistance to medium laver which is U-value is 1.3-1.55 W/m2k, R-Value is 0.64-0.77 m2k/W and K-Value is 0.13-0.155 W/mK and flood resistant wall materials value should be at a high level these are: less than or equal to 0.5% of water absorption, less than or equal to 1.5% of water penetration and less than or equal to 6% of swelling test. Second, roof materials should develop heat resistance to a high level which is U-value being greater than 0.43 W/m2k, R-Value greater than 2.32 m2k/W and K-Value should be less than 0.043 W/mK. Third, opportunities of developing flood resistant materials are the same as flood resistant wall materials value. Furthermore, concrete and fiber-cement products are popular materials which use should be promoted. The new endurable values of this research is an enhancement on the former one because it, according to government management, reduces the risk from future climate change. Apart from that, information on standards and clear value of durability makes consumers be able to distinguish features of each material in order to choose the perfect material for demanding applications. In short, selecting effective building materials that withstand climate change is not only a way to make materials last longer, but also a way to reduce amount of natural resources
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสภาวะการอยู่อาศัยของคนในบ้าน การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต การศึกษานี้จึงได้รวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตและคำนวณหาคุณสมบัติความทนทานของวัสดุกรอบอาคารที่สามารถทนทานต่อความร้อนและน้ำท่วมในอนาคต ผลจากการศึกษาพบว่าในอนาคตประเทศไทยจะมีค่าอุณหภูมิสูงถึง 49 องศาเซลเซียสและมีน้ำท่วมขังนาน 60 วัน สูง 1.8 เมตร หลังจากนั้น นำค่าคุณสมบัติความทนทานที่ได้จากการคำนวณ มาใช้เป็นตัวแปรเพื่อหาช่องว่างที่ยังขาดหายและเสนอแนวทางการพัฒนาวัสดุก่อสร้าง  ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลวัสดุก่อสร้างที่มีในท้องตลาดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้างและความทนทานต่อความร้อนและน้ำท่วม โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ร่วมกับการเรียบเรียงข้อมูลแบบแผนผังเมตริกซ์ (Matric Diagram) จากนั้นสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค (VOC) โดยแปลงความคิดเห็นดังกล่าวด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า (QFD) ช่องว่างที่พบจากการศึกษานี้คือ จำนวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความทนทานต่อน้ำท่วมของวัสดุก่อสร้างพบน้อยมาก อีกทั้งวัสดุก่อสร้างที่มีในท้องตลาดยังไม่สามารถรับมือกับความร้อนและน้ำท่วมในอนาคตได้ดีพอ ในส่วนของคุณสมบัติความทนทานที่เหมาะสมในการพัฒนาที่พบจากวัสดุกรอบอาคารทั้ง 3 กลุ่ม คือ หนึ่ง วัสดุผนังควรพัฒนาให้มีความทนทานต่อความร้อนอยู่ในระดับกลาง (ค่าสัมประสิทธิ์ถ่ายเทความร้อนควรอยู่ในระหว่าง 1.3 ถึง 1.55 วัตต์ต่อตารางเมตร-เคลวิน ค่าต้านทานความร้อน 0.64 ถึง 0.77 ตารางเมตร-เคลวินต่อวัตต์ และค่าการนำความร้อน 0.13 ถึง 0.155 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน ค่าทนทานต่อน้ำท่วมอยู่ในระดับสูง คือค่าการดูดซึมน้ำควรน้อยกว่าร้อยละ 0.5 ค่าการยอมให้น้ำผ่านควรน้อยกว่าร้อยละ 1.5 และค่าการทดสอบการบวมตัวควรน้อยกว่าร้อยละ 6) สอง วัสดุหลังคาควรพัฒนาคือค่าความทนทานต่อความร้อนที่ระดับสูง (ค่าสัมประสิทธิ์ถ่ายเทความร้อนควรมากกว่า 0.43 วัตต์ต่อตารางเมตร-เคลวิน ค่าต้านทานความร้อน ควรมากกว่า 2.32 ตารางเมตร-เคลวินต่อวัตต์ และค่าการนำความร้อนควรน้อยกว่า 0.043 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน) สาม วัสดุพื้นมีโอกาสที่เหมาะสมในการพัฒนาคือความทนทานต่อน้ำท่วมในระดับที่สูง (ค่าเท่ากับความทนทานน้ำระดับสูงของผนัง) นอกจากนี้วัสดุที่ควรพัฒนาตามค่าความนิยมคือวัสดุที่เป็นผลิตภัณฑ์จากคอนกรีตและไฟเบอร์ซีเมนต์  ค่าคุณสมบัติความทนทานที่ได้จากการวิเคราะห์ถือว่าสูงกว่าเกณฑ์และมาตรฐานอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับการพยายามลดความเสี่ยงต่อการเกิดการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศในอนาคตตามแนวทางการจัดการและบริหารของภาครัฐ อีกทั้งการพัฒนาและเสนอแนวทางการแสดงค่าความทนทานให้ชัดเจนและเท่าเทียมกันนั้นจะเป็นการช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อหาวัสดุก่อสร้างที่เหมาะกับที่อยู่อาศัยได้ การที่วัสดุก่อสร้างมีศักยภาพในการทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่สูงขึ้น ไม่เพียงแต่วัสดุจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นแต่ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยลดปริมาณการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติโดยเปล่าประโยชน์
Description: Master of Science (Master of Science (Environmental design and planning))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผนสิ่งแวดล้อม))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/256
Appears in Collections:Architecture and Environmental Design

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5819301002.pdf7.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.