Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/255
Title: | MULTI-CRITERIA DECISION MAKING METHOD FOR EVALUATION OF NON-MOTORIZED TRANSPORTATION NETWORKS IN UNIVERSITY AREAS IN CHIANG MAI PROVINCE การประยุกต์ใช้วิธีการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ สำหรับการประเมินโครงข่ายการสัญจรแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ในพื้นที่มหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ |
Authors: | Chulalux Wanitchayapaisit จุฬาลักษณ์ วณิชยาไพสิฐ Punravee Kongboontiam พันธุ์ระวี กองบุญเทียม Maejo University. Architecture and Environmental Design |
Keywords: | University in Chiang Mai Transportation Networks Multi-Criteria Analysis (MCA) Non-Motorized Transport (NMT) |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | This study has three objectives: 1) to study the needs of pedestrians and cyclists within the university campuses in Chiang Mai, 2) to study the factors and develop criteria for evaluating the non-motorized roaming network and 3) to apply the criteria into the design and planning of the non-motorized roaming network around Maejo University.
The study was conducted in three university. Chiang Mai Rajabhat University, Maejo University and Chiang Mai University. Random sampling was done with Quota Sampling Method for 1,100 participants in the university. Each participants was asked to fill the Significant Evaluation of Factor Questionnaire with Ranking Scale Evaluation Technique.
Then, the factors identified were selected by fifteen experts and organized via Grouping Factor. The experts gave each factor a weight by Analytical Hierarchy Process (AHP). The evaluation criteria were applied to Maejo University through three alternative plans. The plans were then compared with Pair-wise Analysis rating by five experts from Maejo University.
The participants considered that the main and most important factor was Security (32.23%) and the second important factor was Route Profile, Connectivity and Continuity (25.35%). The expert’s weight values revealed that the main factor with the highest weight was Security (41.10%) comparing the following minor factors construction and design (19.33%) safety precaution (11.8%) surfaceand construction standard (9.75%). The second most important factor was Policy (22.69%) which was not identified by the sampling.
The Applied Results indicated that the plan with the highest point (40 points) was Plan 3. The idea was to modify the route structure with more concise and coverage, reduce the conflicts between non-motorized and motorized transportation, provide a large green space and several service points. The disadvantage of this plan was the cost of construction and maintenance.
The evaluation criteria for the non-motorized roaming network within the university campuses in Chiang Mai Province can be applied to network developments by other universities. It is also suitable for application in the urban areas or city areas with limited space. Since roaming within the university is somewhat similar to town activities i.e. work resources, shops and houses. Such applications can be explored further in the future studies. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สามประการ 1) เพื่อศึกษาความต้องการสำหรับการเดินเท้าและการใช้จักรยานในพื้นที่มหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยและจัดทำเกณฑ์ในการประเมินโครงข่ายการสัญจรแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ และ 3) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและวางแผนโครงข่ายการสัญจรแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ การศึกษานี้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยสามแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทำการสุ่มประชากร 1,100 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตามสัดส่วน (Quota Sampling) และให้ตอบแบบสอบถามการให้ค่าความสำคัญของปัจจัยโดยประชากรตัวอย่าง ใช้เทคนิคการให้ค่าคะแนนด้วยวิธีมาตรวัดแบบเรียงลำดับ (Ranking Scale) ได้มีการคัดเลือกปัจจัยจากประชากรตัวอย่างเพื่อจัดกลุ่มปัจจัย (Grouping Factor) โดยผู้เชี่ยวชาญ 15 ท่าน และให้ค่าน้ำหนักปัจจัยแต่ละระดับโดยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process: AHP) หลังจากนั้นนำเกณฑ์ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการออกแบบผังทางเลือกจำนวน 3 ผัง และคัดเลือกด้วยการให้คะแนนแบบเปรียบเทียบทีละผัง (Pair-wise Analysis) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 5 ท่าน ประชากรตัวอย่างเห็นว่า กลุ่มปัจจัยหลักด้านความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่ถูกให้ความสำคัญมากที่สุด (32.23%) ส่วนปัจจัยหลักรองลงมาคือด้านลักษณะเส้นทาง การเชื่อมโยง และความต่อเนื่อง (25.35%) ผลการให้ค่าน้ำหนักของผู้เชี่ยวชาญพบว่า ปัจจัยหลักที่มีค่าน้ำหนักสูงที่สุดคือ ความปลอดภัย (41.10%) ปัจจัยหลักรองลงมาคือ ด้านนโยบาย (22.69%) ซึ่งประชากรตัวอย่างไม่ได้กล่าวถึง ผลจากการนำมาประยุกต์ใช้พบว่าผังที่ได้คะแนนสูงที่สุด 40 คะแนนคือ ผังทางเลือกที่ 3 ซึ่งมีแนวคิดการออกแบบโดยการปรับโครงสร้างถนนใหม่ให้มีความกระชับและครอบคลุมมากขึ้น ลดความขัดแย้งระหว่างการสัญจรแบบไม่ใช้เครื่องยนต์และใช้เครื่องยนต์ มีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ และจุดบริการจำนวนมาก แต่ข้อเสียของผังทางเลือกนี้คือการใช้งบประมาณในการก่อสร้างและการดูแลรักษา เกณฑ์การประเมินโครงข่ายการสัญจรแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ในพื้นที่มหาวิทยาลัย ในจังหวัดเชียงใหม่สามารถนำไปปรับใช้กับการพัฒนาผังโครงข่ายของมหาวิทยาลัยต่างๆ และเหมาะกับการปรับใช้ในพื้นที่เมืองหรือใจกลางเมืองที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก เนื่องจากการสัญจรภายในมหาวิทยาลัยมีความคล้ายคลึงกับกิจกรรมของเมืองคือ แหล่งงาน ร้านค้า และที่พักอาศัย จึงสามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันในการศึกษาครั้งต่อไป |
Description: | Master of Science (Master of Science (Environmental design and planning)) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผนสิ่งแวดล้อม)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/255 |
Appears in Collections: | Architecture and Environmental Design |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5619301010.pdf | 14.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.