Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2329
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Naphatsawan Kansiri | en |
dc.contributor | นภัสวรรณ กันศิริ | th |
dc.contributor.advisor | Montri Singhavara | en |
dc.contributor.advisor | มนตรี สิงหะวาระ | th |
dc.contributor.other | Maejo University | en |
dc.date.accessioned | 2025-05-14T07:59:38Z | - |
dc.date.available | 2025-05-14T07:59:38Z | - |
dc.date.created | 2025 | |
dc.date.issued | 24/3/2025 | |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2329 | - |
dc.description.abstract | This research focuses on analyzing rice production efficiency and studying the factors that influence the efficiency of rice farmers in Chiang Rai Province, a major rice cultivation area in Thailand. The study sampled rice farmers participating in the large-scale farming project in Chiang Rai Province, covering all 17 districts with 400 households to obtain comprehensive and representative data of farmers in the area. Data collection involved using questionnaires as the primary research tool, focusing on information related to farmers' rice production processes and factors that may affect production efficiency. The data collected was then analyzed using Stochastic Nonparametric Envelopment of Data (StoNED) to measure the rice production efficiency of individual farmers. The Tobit Model was employed to study the factors affecting rice production efficiency. The analysis revealed that, on average, rice farmers in Chiang Rai Province have a high level of efficiency in rice production, with an average efficiency value of 0.610. This indicates that most farmers manage their rice production processes effectively. However, there is still a portion of farmers who have the potential to further increase their production efficiency. When considering the factors affecting rice production efficiency, it was found that higher farming experience, land ownership, the use of self-owned capital without reliance on borrowing, and growing rice in the rainy season tend to contribute to increased rice production efficiency. On the contrary, having an excessively large cultivation area leads to a decrease in production efficiency, which may result from more challenging area management or a lack of production resources when having a large cultivation area. Based on the research findings, the research team suggests that the government should prioritize supporting and promoting knowledge in rice cultivation for farmers continuously to help reduce the learning time and accumulation of farmers' experience. In addition, supporting low-interest funding sources for agriculture and allocating land for small-scale farmers are important factors that will help farmers have security in production and increase rice production efficiency. Since land rental costs are a significant burden for farmers, accounting for approximately 10-20% of the total rice production costs, having their own land will help reduce this cost and increase farmers' motivation to develop their production. Furthermore, promoting farmers' knowledge and understanding in managing cultivation areas appropriately to the land size will help increase the overall rice production efficiency of the country. | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตข้าวและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีการเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการสุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ในจังหวัดเชียงราย โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 17 อำเภอ จำนวน 400 ครัวเรือน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมและเป็นตัวแทนของเกษตรกรในพื้นที่ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทางคณะผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการวิจัย โดยมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตข้าวของเกษตรกร รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิต หลังจากนั้น ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้มเชิงเฟ้นสุ่ม (Stochastic Nonparametric Envelopment of Data) เพื่อวัดประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรแต่ละราย และใช้แบบจำลองโทบิต (Tobit Model) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตข้าว ผลการวิเคราะห์พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดเชียงรายมีประสิทธิภาพในการผลิตข้าวอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการผลิตอยู่ที่ 0.610 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการจัดการกระบวนการผลิตข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ยังมีเกษตรกรอีกส่วนหนึ่งที่ยังมีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อีก เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตข้าว พบว่า ประสบการณ์ในการเพาะปลูกที่สูงขึ้น การเป็นเจ้าของที่ดินทำกิน การใช้เงินทุนของตนเองโดยไม่พึ่งพาการกู้ยืม และการปลูกข้าวในฤดูนาปี มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตข้าวสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การมีขนาดพื้นที่เพาะปลูกที่มากเกินไปกลับส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการบริหารจัดการพื้นที่ที่ยากขึ้น หรือการขาดแคลนทรัพยากรในการผลิตเมื่อมีพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ จากผลการวิจัยนี้ ทางคณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการปลูกข้าวแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดระยะเวลาการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ของเกษตรกร นอกจากนี้ การสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำสำหรับการทำเกษตร และการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรรายย่อย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรมีความมั่นคงในการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวได้ เนื่องจากต้นทุนการเช่าที่ดินถือเป็นภาระสำคัญสำหรับเกษตรกร โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10-20% ของต้นทุนการผลิตข้าวทั้งหมด การมีที่ดินทำกินเป็นของตนเองจะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้และเพิ่มแรงจูงใจในการพัฒนาการผลิตของเกษตรกรได้ นอกจากนี้ การส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสมกับขนาดที่ดิน ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโดยรวมของประเทศได้ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Maejo University | |
dc.rights | Maejo University | |
dc.subject | ประสิทธิภาพการผลิตข้าว | th |
dc.subject | การวิเคราะห์เส้นห่อหุ้นเชิงเฟ้นสุ่ม | th |
dc.subject | เกษตรกรแปลงใหญ่ | th |
dc.subject | Rice Production Efficiency | en |
dc.subject | Stochastic Nonparametric Envelopment of Data (StoNED) | en |
dc.subject | Large-Scale Farming | en |
dc.subject.classification | Economics | en |
dc.subject.classification | Agriculture,forestry and fishing | en |
dc.subject.classification | Economics | en |
dc.title | EFFICIENCY OF RICE PRODUCTION IN COLLABORATIVE RICE FARM UNDER PROPER USE OF PRODUCTION TECHNOLOGY | en |
dc.title | ประสิทธิภาพการผลิตข้าวในระบบนาแปลงใหญ่ภายใต้การใช้เทคโนโลยีการผลิตอย่างเหมาะสม | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Montri Singhavara | en |
dc.contributor.coadvisor | มนตรี สิงหะวาระ | th |
dc.contributor.emailadvisor | Montri_sh@mju.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | Montri_sh@mju.ac.th | |
dc.description.degreename | Master of Economics (Applied Economics) | en |
dc.description.degreename | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ประยุกต์)) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | - | en |
dc.description.degreediscipline | - | th |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6312304002.pdf | 7.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.