Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2320
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ประเทือง สง่าวงศ์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-09-16T05:15:50Z | - |
dc.date.available | 2024-09-16T05:15:50Z | - |
dc.date.issued | 1992-01-30 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2320 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาหาสาเหตุและปัจจัยที่ชักนําให้เกิดความรุนแรง และการระบาดของโรคแข้งเน่าในยาสูบ พบว่า เชื้อรา Rhizoctonia solani ที่แยกได้จากสันป่าตอง สามารถทําให้ต้นกล้ายาสูบตายถึง 83 เปอร์เซนต์ ในวันที่ 3 หลังจากได้รับเชื้อและสูงกว่า Solani ที่แยกได้จากแม่แตง แม่ริม แม่ทะ และฝาง ตามลําดับ ต้นกล้ายาสูบเมื่อได้รับ R. solani จากสันป่าตองจะเริ่มตายภายหลังจากได้รับเชื้อเพียง 2 วัน ต้นที่รอดตายจะแสดงอาการเหลือง แคระแกรนและไม่เจริญเติบโต อุณหภูมิต่ำอาจจะมีผลกระทบต่อการตายของต้นกล้ายาสูบ เนื่องจากพบว่าในฤดูหนาวต้นกล้ายาสูบจะตายอย่างรวดเร็วภายหลังที่ได้รับเชื้อรา และเปอร์เซนต์การตายสูงสุดเกิดขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ เท่านั้น ผลการทดลองในฤดูแล้งพบว่า ดินคลุกเชื้อราผสมด้วยฟางข้าวสับ (50 + 50) ทําความเสียหายแก่ ต้นกล้ายาสูบมากที่สุดและต้นกล้าที่เหลือรอด แสดงอาการเป็นโรคอย่างรุนแรง แต่ภายหลังจากการปลูก 36 วัน ความเสียหายจากการตายของต้นยาสูบไม่แตกต่างกับต้นกล้าที่ปลูกในดินคลุกเชื้อราผสมมูลวัว (50 + 50) และต้นกล้าที่ปลูกในดินคลุกเชื้อราผสม มูลวัวและฟางข้าวสับอัตรา 50 + 25, 75 + 25 หรือ 50 + 25 + 25 แต่ต้นกล้าที่เหลือรอดในดินคลุกเชื้อราผสมมูลวัวหรือในดินคลุกเชื้อราผสมมูลวัวและฟางข้าวในอัตราต่ำ แสดงอาการเป็นโรคเพียงเล็กน้อยไม่แตกต่างกับการปลูกต้นยาสูบลงในดินคลุกเชื้อราเพียงอย่างเดียว การทดลองในฤดูฝนและฤดูหนาวพบว่า ต้นกล้ายาสูบที่ปลูกในดินคลุกเชื้อราผสมมูลวัว (75 + 25) มีเปอร์เซนต์ต้นที่เหลือรอดน้อยที่สุด แต่ไม่แตกต่างกับดินคลุกเชื้อราผสมฟางข้าวสับอัตราต่ำ 75 + 25) หรือดินคลุกเชื้อราผสมมูลวัวและฟางข้าว (75 + 12.5 + 12.5) ต้นกล้ายาสูบที่เหลือรอดในดินผสมมูลวัวและฟางข้าวอัตราต่ำนี้ แสดงอาการเป็นโรคในระดับปานกลางในฤดูฝน แต่ในฤดูหนาวต้นกล้ายาสูบที่ปลูกในดินคลุกเชื้อราผสมมูลวัวอัตราต่ำ ที่เหลือรอดมีการ เจริญเติบโตดี ไม่แสดงอาการเหลืองเนื่องจากการเป็นโรค ต้นกล้ายาสูบที่เหลือรอดจากการปลูกในดินคลุกเชื้อราผสมมูลวัวในอัตราสูง (50 + 50) มีจํานวนสูง ไม่แตกต่างกับดินคลุกเชื้อราผสมฟางข้าวสับ (50 + 50) และไม่แสดงอาการเป็นโรค ส่วนต้นกล้าที่เหลือรอดจากการปลูกในดินคลุกเชื้อราผสมฟางข้าวสับ ไม่ว่าอัตราสูงหรือต่ำ ต้นกล้าที่ปลูกในดินคลุกเชื้อราเพียงอย่างเดียว แสดงอาการเป็นโรคโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงรุนแรงเท่านั้น ดังนั้น ฟางข้าวสับอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการระบาดของโรคแข้งเน่าในยาสูบ การใส่มูลวัวเป็นปุ๋ยอาจจะช่วยให้ต้นกล้ายาสูบเจริญเติบโตแข็งแรงรวดเร็ว สามารถช่วยให้ต้นกล้ายาสูบรอดพ้นจากความเสียหายได้ แต่จะต้องใส่ในปริมาณที่มากพอ | en_US |
dc.description.sponsorship | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่ | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | en_US |
dc.subject | ยาสูบ | en_US |
dc.subject | โรคและศัตรูพืชยาสูบ | en_US |
dc.subject | วิจัยยาสูบ | en_US |
dc.subject | เชื้อราก่อโรคต่อพืช | en_US |
dc.subject | โรคแข้งเน่า | en_US |
dc.subject | เชื้อรายาสูบ | en_US |
dc.title | การศึกษาหาสาเหตุโรคแข้งเน่าของยาสูบ | en_US |
dc.title.alternative | Etiology of Basal Stem Rot of Tobacco | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | RAE-Technical Report |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RM-2566-0020-348408.PDF | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.