Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2316
Title: | การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น |
Other Titles: | Soybean breeding for early maturity |
Authors: | ศิริชัย อุ่นศรีส่ง และคณะ |
Keywords: | ถั่วเหลือง การปรับปรุงพันธ์ถั่วเหลือง การปลูกถั่วเหลือง ถั่วเหลืองอายุสั้น เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง |
Issue Date: | 15-Jan-1993 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | โครงการวิจัยพเพื่อปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้นนี้เป็นโครงการในปีที่หนึ่งของโครงการทั้งหมด 3 ปี โดยแบ่งลักษณะของการวิจัยในปีนี้เป็น 3 งานทดลองย่อยดังนี้ การทดลองที่ 1 คือรวบรวมพันธุ์ถั่วเหลืองและการศึกษาลักษณะประจําพันธุ์ของถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ ทางโครงการได้ติดต่อขอเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์ต่าง ๆ จํานวน 100 สายพันธุ์จากสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร จากนั้นจึงทําการปลูกทดลองเพื่อศึกษาลักษณะประจําพันธุ์ ณ แปลงทดลองและขยายพันธุ์ของฝ่ายขยายพันธุ์พืชและสัตว์ สํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ โดยทําการปลูกสายพันธุ์ละหนึ่งแถว ผลการทดลองพบว่าในจํานวนสายพันธุ์ถั่วเหลืองทั้งหมด 100 สายพันธุ์นั้น สายพันธุ์ที่ออกดอกเร็วที่สุดคือ Nebsoy มีอายุการออกดอก 35 วัน หลังจากการปลูก ส่วนสายพันธุ์ที่อายุออกดอกยาวนานที่สุดคือ ดอยเจียง 91 มีอายุการออกดอก 58 วันนอกจากนั้นยังทําการศึกษาลักษณะเกี่ยวข้องกับผลผลิต เช่น จํานวนฝักต่อต้น จํานวนข้อต่อต้น น้ำหนัก 100 เมล็ด และน้ำหนักเมล็ดต่อต้นด้วย (ตารางที่ 1 และ 2) จากการศึกษาสหสัมพันธ์พบว่าถ้ากลุ่มอายุ การสุกแก่มากขึ้นจะมีผลให้ต้นถั่วเหลืองมีความสูงมากขึ้น อายุการออกดอกยาวขึ้น จํานวนวันในการออกดอกมากขึ้น จํานวนฝักต่อต้นมากขึ้นและน้ำหนักเมล็ดต่อต้นมากขึ้น การทดลองที่ 2 ได้แก่การผสมพันธุ์ถั่วเหลือง โดยเลือกผสมจากสายพันธุ์ถั่วเหลืองอายุการออกดอกและการเก็บเกี่ยวสั้น เพื่อสร้างลักษณะพันธุกรรมใหม่ จากผลการทดลองได้เมล็ดลูกผสมจํานวน 24 เมล็ด แบ่งเป็นจํานวนคู่ผสมทั้งหมด 9 คู่ผสม การทดลองที่ 3 ได้แก่การทดสอบลักษณะและพันธุกรรมของลูกผสม F1 ซึ่งได้จาก งานทดลองที่ 2 โดยเปรียบเทียบกับลักษณะของสายพันธุ์เป็นต้นพ่อและแม่ โดยทําการปลูกทดลองในกระถาง ณ บริเวณเรือนเพาะชําของฝ่ายขยายพันธุ์พืชและสัตว์ สํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร จากการทดลองพบว่าลูกผสม F1 ส่วนมาก มีความสูงอยู่ระหว่างความสูงของต้นพ่อและแม่ ส่วนลูกผสมรหัส MA7, MA8, MA9, MA12, MA13 มีความสูงมากกว่าต้นพ่อหรือแม่ที่สูงที่สุด ส่วนลักษณะวันออกดอกของทุกลูกผสมจะอยู่ระหว่างวันออกดอกของสายพันธุ์ที่เป็นต้นพ่อและแม่ การแสดงออกซึ่งลักษณะของ Heterosis ส่วนใหญ่จะแสดงออกในรูปของจํานวนฝักต่อต้นและน้ำหนักเมล็ดต่อต้น |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2316 |
Appears in Collections: | RAE-Technical Report |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RM-2566-0016-348173.PDF | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.