Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2297
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สมปอง สรวมศิริ และคณะ | - |
dc.date.accessioned | 2024-09-06T07:00:59Z | - |
dc.date.available | 2024-09-06T07:00:59Z | - |
dc.date.issued | 1991-07-22 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2297 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาการใช้ฟางถั่วเหลืองอบยูเรียเป็นอาหารโคขุน ใช้โคทดลองเป็นโคนมลูกผสม (โฮลสไตน์ x พื้นเมือง) เพศผู้ตอนจํานวน 12 ตัว สุ่มแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 4 ตัว ตามแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randormized Design) แต่ละกลุ่มทดลองได้อาหารดังนี้ คือ ฟางถั่วเหลือง, ฟางถั่วเหลืองอบยูเรีย และฟางข้าวอบยูเรีย เป็นแหล่งอาหารหยาบกินเต็มที่ เสริมด้วยอาหารข้นที่มีโปรตีน 23.34% ในวัตถุแห้งในอัตรา ประมาณ 2 กก./ตัว/วัน เป็นเวลา 140 วัน และต้นข้าวโพดสับหรือหญ้าสดเป็นแหล่งอาหารหยาบให้กินเต็มที่เสริมด้วยรําละเอียดในอัตรา 2 กก./ตัว/วัน ให้กินนาน 56 วัน ปรากฏว่าตลอดระยะเวลาทดลอง 196 วัน โคทดลองมีน้ำหนักเพิ่ม 107.50, 98.00 และ 95.00 กก. ตามลําดับ อัตราการเจริญเติบโตต่อวันเป็น กก. ของโคทดลองทั้ง 3 กลุ่ม ตลอดการทดลอง 196 วัน, ระยะ 140 วันแรก และ 56 วันหลัง มีค่าเป็น 0.55, 0.50, 0.48 และ 0.58, 0.51, 0.49 และ 0.51, 0.48 และ 0.46 กก./ตัว/วัน ตามลําดับ ค่าเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P > 0.05) ปริมาณการกินอาหารหยาบในรูปวัตถุแห้งเป็น กก./ตัว/วัน ของโคทดลองที่ได้รับฝางถั่วเหลืองเป็นแหล่งอาหารหยาบมีค่าสูงที่สุดคือ 4.72 กก./ตัว/วัน ซึ่งแตกต่างจากปริมาณอาหารที่กินในรูปวัตถุแห้งของโคกลุ่มที่ได้รับฝางถั่วเหลืองอบยูเรีย และฟางข้าวอบยูเรียอย่างเห็นได้ชัด คือ 4.12 และ 4.92 กก./ตัว/วัน ตามลําดับ ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างทางสถิติ ปริมาณอาหารข้นและรําละเอียดที่กินมีค่าใกล้เคียงกัน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว 1 กก. ของกลุ่มโคทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ค่าเฉลี่ยอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว 1 กก.ของโคดลอง ในช่วง 140 วัน มีค่าเป็น 11.25, 11.59 และ 11.94 ตามลําดับ ต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวของโคกลุ่มที่ได้รับฟางถั่วเหลืองเป็นแหล่งอาหารหยาบมีค่าต่ำที่สุด ตลอดระยะทดลอง 196 วัน ค่าเฉลี่ยต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กก. มีค่าเป็น 23.48 บาท ต้นทุนค่าอาหารตลอดระยะการทดลองมีค่าเป็น 2524.10, 2528.40 และ 2575.45 บาท สําหรับโคทดลองที่ได้รับฝางถั่วเหลือง, ฟางถั่วเหลืองอบยูเรีย และฟางข้าวอบยูเรีย ตามลําดับ โดยมีรายได้จากการขายโคมีชีวิตเป็น 9,794.25, 9,524.25 และ 9,423 บาท ตามลําดับ คุณภาพซากโคขุนของโคทดลองทั้ง 3 กลุ่ม มีค่าใกล้เคียงกัน ค่าเฉลี่ย % ซากมีค่า 51.72, 50.50 และ 49.09 % ตามลําาดับ | en_US |
dc.description.sponsorship | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่ | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | en_US |
dc.subject | โคขุน | en_US |
dc.subject | อาหารสัตว์ | en_US |
dc.subject | กากถั่วเหลือง | en_US |
dc.subject | ฟางถั่วเหลือง | en_US |
dc.subject | อาหารโคขุน | en_US |
dc.subject | ยูเรีย | en_US |
dc.title | การใช้ฟางถั่วเหลืองอบยูเรียเป็นอาหารโคขุน | en_US |
dc.title.alternative | The use of urea treated soybean straw for fattening steer | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | RAE-Technical Report |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RM-2563-0043-348121.PDF | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.