Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2293
Title: | ภูมิปัญญาชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชนในจังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง |
Other Titles: | Indigenous knowledge of the local people in communty forest conservation Lamphun and Lampang provinces |
Authors: | สุนิลา ทนุผล และนำชัย ทนุผล |
Keywords: | การอนุรักษ์ป่าไม้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ป่าชุมชน การอนุรักษ์ป่าชุมชน ทัศนคติของชาวบ้าน |
Issue Date: | 20-Dec-1997 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการจัดการดูแลรักษาป่า ชุมชนดั้งเดิมที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านทุ่งยาว อ.เมือง จ.ลําพูน และบ้านห้วยลึก อ.เมือง จ.ลําปาง รวมทั้งเงื่อนไขในการเกิดและการดํารงไว้ซึ่งป่าชุมชนทั้งสองแห่ง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้นําหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านที่เป็นหัวหน้าครอบครัวของทั้งสองหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามเพื่อการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ของผู้วิจัย การรวบรวมข้อมูลได้ดําเนินการระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2539 ผลวิจัยพอสรุปได้ดังนี้ 1. ป่าชุมชนทั้งสองแห่งเป็นป่าดั้งเดิม ที่ชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้านได้ร่วมใจกันอนุรักษ์ไว้ โดยป่าชุมชนบ้านทุ่งยาวชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์ไว้เป็นป่าซับน้ำ ส่วนป่าชุมชนบ้านห้วยลึกได้อนุรักษ์ไว้ เพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ 2. ทัศนคติของชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มีทัศนคติในทางที่ดีต่อการอนุรักษ์ป่า โดยมีแนวความคิดว่าป่าเป็นแหล่งซับน้ำ ช่วยขจัดความแห้งแล้งและการพังทลายของดิน เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าและก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านในชุมชน 3 การใช้ประโยชน์ในป่าชุมชน ผลวิจัยพบว่าชาวบ้านของงสองหมู่บ้านส่วนใหญ่ระบุว่าเข้าไปใช้ประโยชน์ในป่าชุมชน โดยมีการนําไม้ในป่ามาสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน และเป็นแหล่งของอาหารธรรมชาติ ส่วนประเด็นของการใช้ปาชุมชนเพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อนั้น พบว่าเป็นไปเฉพาะหมู่บ้านห้วยลึกเท่านั้นที่ใช้เป็นสถานที่เผาศพผู้ตาย ส่วนการใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งไม้ใช้สอยในครัวเรือน จะพบว่าชาวบ้านทุ่งยาวเท่านั้นที่ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมเหล่านี้ ส่วนชาวบ้านบ้านห้วยลึกจะไม่เข้าไปใช้ประโยชน์ โดยให้เหตุผลว่ากลัววิญญาณเจ้าบ้านป่าจะดลบันดาลให้เกิดเจ็บป่วย ซึ่งในอดีตเคยมีผู้เข้าไปบุกรุกป่าแห่งนี้และได้เสียชีวิตมาหลายรายแล้ว 4. รูปแบบและวิธีการจัดการดูแลรักษาป่า ผลการวิจัยพบว่าป่าชุมชนทั้งสองแห่งมีองค์กรประชาชนท้องถิ่นเข้ามาจัดการดูแล โดยมีการกําหนดกฎเกณฑ์การใช้ประโยชน์จากป่าชุม ชนรวมกับหมู่บ้าน รวมทั้งกําหนดบทลงโทษสําหรับผู้ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านทุ่งยาวได้มีกําหนดเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนบ้านห้วยลึกมิได้มีการกําหนดบทลงโทษ หากแต่ชาวบ้านทุกคนมีความเชื่อว่าป่าแห่งนี้มีวิญญาณเจ้าบ้านป่าปกป้องรักษา หากชาวบ้านต้องการใช้ไม้เพื่อกิจกรรมส่วนรวมจะต้องขออนุญาตจากวิญญาณเจ้าบ้านป่าเสียก่อน สําหรับประเด็นการบํารุงรักษาป่าของทั้งสองหมู่บ้านนั้น พบว่ามีการดําเนินกิจกรรมบํารุงรักษาน้อย เนื่องจากชาวบ้านเชื่อว่าวิธีการอนุรักษ์รักษาป่าที่ดีที่สุดคือการไม่เข้าไปบุกรุกทําลาย 5. เงื่อนไขการเกิดและความสําเร็จของป่าชุมชน ผลวิจัยพบว่าป่าชุมชนบ้านทุ่งยาวเกิดขึ้นและดํารงไว้ เนื่องจากชาวบ้านเห็นความสําคัญของป่าชุมชนได้ร่วมมือกันต่อต้านการแย่งชิงบุกรุกพื้นที่จากบุคคลภายนอก ส่วนป่าชุมชนบ้านห้วยลึกเกิดขึ้นจากความเชื่อตามจารีต ประเพณีและจิตวิญญานเจ้าบ้านป่า โดยยึดถือติดต่อนมากว่า 100 ปี เพื่อใช้ในพิธีกรรมเผาและเพื่อลูกหลานในอนาคต ป่าแห่งนี้ดํารงความสมบูรณ์อยู่ได้เนื่องจากความเชื่อของชาวบ้านเกี่ยวกับอํานาจเหนือธรรมชาติของวิญญาณอารักษ์ป่า |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2293 |
Appears in Collections: | RAE-Technical Report |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RM-2563-0039-348172.PDF | 8.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.