Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2285
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประพันธ์ โอสถาพันธุ์, นิรมิต กิจรุ่งเรือง และสมจิตต์ กิจรุ่งเรือง-
dc.date.accessioned2024-09-05T05:34:55Z-
dc.date.available2024-09-05T05:34:55Z-
dc.date.issued1987-07-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2285-
dc.description.abstractการศึกษาความสัมพันธ์ของพันธุ์ถั่วเหลือง ชนิดของสารเคมี ระยะห่างในการพ่นสารเคมีและเวลาปลูกต่อการป้องกันกําจัดโรคแบคทีเรียพัสตูลของถั่วเหลืองโดยวิธีสมทบในสภาพแปลงทดลอง เมื่อปี พ.ศ. 2530-2531 ณ. สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยปลูกถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.1 และ สจ.2 สารเคมีที่ใช้ได้แก่ copper oxychloride + zineb + maneb และ cupric hydroxide โดยทําการพ่นสารเคมีทุก 7 วัน และ 14 วัน เริ่มพ่นเมื่อถั่วเหลืองอายุ 30 วันหลังงอก จํานวน 4 ครั้ง และเวลาปลูกถั่วเหลือง จํานวน 3 ครั้ง ในเดือนกรกฎาคม กันยายน และตุลาคม ซึ่งแต่ละครั้งห่างกัน 1 เดือนครึ่ง พบว่าการใช้สารเคมี copper oxychloride + zineb + manet กับถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.4 โดยพ่นทุก 7 วัน จะให้ ระดับอาการของโรคต่ำสุด และระดับอาการของโรคจะระบาดในเดือนกรกฎาคมรุนแรงมากกว่าในเดือนกันยายน และตุลาคม ผลการทดลองพบว่า พันธุ์ถั่วเหลืองและชนิดของสารเคมีมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญยิ่งต่อน้ำหนัก 100 เมล็ดเท่านั้น แต่ไม่มีอิทธิพลต่อผลผลิตต่อไร่โดยส่วนรวม แต่เวลาปลูกกลับมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญยิ่งทั้งต่อน้ำหนัก 100 เมล็ด และผลผลิตต่อไร่ สําหรับอิทธิพลของปฏิกิริยาร่วมที่มีผลต่อผลผลิตต่อไร่นั้นมีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือปฏิกริยาร่วมระหว่างระยะห่างในการพ่นสารเคมีกับชนิดของสารเคมีและเวลาปลูกกับพันธุ์ถั่วเหลือง ส่วนน้ำหนักต่อ 100 เมล็ดนั้น พบว่าปฏิกิริยาร่วมมีอิทธิพลแทบทุกชนิด ยกเว้นปฏิกริยาร่วมระหว่างระยะห่างในการพ่นสารเคมีกับเวลาปลูก ในการทดลองนี้พบว่า การใช้ถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.4 x copper oxychloride + zineb + maneb x 14 วัน x 16 ตุลาคม 2530 ให้น้ำหนักต่อ 100 เมล็ดเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 18.42 กรัม การใช้ถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.1 x 18 กรกฎาคม 2530 ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตต่อไร่สูงสุดเท่ากับ 336.70 กิโลกรัม ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์ สจ. 4 x 18 กรกฎาคม 2530 เช่นเดียวกับการใช้ copper oxychloride + zineb + maneb x 7 วัน ก็ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตต่อไร่สูงสุดเท่ากับ 304.64 กิโลกรัมen_US
dc.description.sponsorshipสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectโรคแบคทีเรียบัสตูลen_US
dc.subjectถั่วเหลืองen_US
dc.subjectสารเคมีen_US
dc.subjectการพ่นสารเคมีen_US
dc.titleการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีบางชนติต่อโรคแบคทีเรียนพัสตูลของถั่วเหลือง 2) การศึกษาความสัมพันธุ์ของพันธุ์ถั่วเหลือง ชนิดของสารเคมี ระยะห่างในการพ่นสารเคมีและเวลาปลูกต่อการป้องกันกำจัดโดยวิธีสมทบen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of certain chemicals against bacterial pustule of soybean. II) a study on the relationship of varieties. certain chemicals, spraying intervals and planting dates by integrated control measure / ประพันธ์ โอสถาพันธุ์ นิรมิตร กิจรุ่งเรื่อง และสมจิตต์ กิจรุ่งเรือง. ชื่อเรื่องเพิ่ม bEffectiveness of certain chemicals against bacterial pustule of soybean. II) a study on the relationship of varieties. certain chemicals, spraying intervals and planting dates by integrated control measureen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RM-2563-0030-346793.PDF3.21 MBAdobe PDFView/Open
RM-2566-0028-346793.PDF579.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.