Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2213
Title: | HEALTH LITERACY OF THE ELDERLY IN RURAL AREA, CHIANG MAI PROVINCE ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดเชียงใหม่ |
Authors: | Phimduengjai Chaichana พิมพ์ดวงใจ ชัยชนะ Matree Vongverapant เมธี วงศ์วีระพันธุ์ Maejo University Matree Vongverapant เมธี วงศ์วีระพันธุ์ matree@mju.ac.th matree@mju.ac.th |
Keywords: | ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุ เขตชนบท health literacy the elderly rural area |
Issue Date: | 2024 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The objectives of this study were to investigate health literacy of the elderly in rural areas of Chiang Mai province, and key factors affecting their health literacy. The sample group consisted of 400 elderly individuals, aged 60 years old and above and they resided in rural areas of Chiang Mai province. They were screened for dementia using the Thai version of the MMSE (Thai 2002). A set of questionnaires was used for data collection and analyzed by using descriptive statistics and inferential statistics i.e. t-tests, One-Way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and multiple regression analysis.
Results of the study revealed that, as a whole, the respondents had a moderate level of health literacy (x̅ = 2.10, S.D. = 0.78). Key factors affecting their health literacy included biosocial, health service system, social and cultural, and psychological factors. Regarding biosocial factors, most of the respondents were female (57.00%), 60 - 69 years old (68.50%), married (68.25%), elementary school graduates (84.75%), and some hired workers (37.75%). Most of the respondents (87.75%) had an average monthly income of less than 10,000 Baht and they used the government welfare cards/gold cards for the payment of medical treatment (86.25%). The respondents had chronic diseases for 6 - 10 years (28.25%), and they had 1 - 3 household members (65.25%). For health service system, social and cultural, and psychological factors, each was found to have an effect on health literacy of the respondents at a moderate level (x̅ = 1.59, S.D. = 0.98, x̅ = 1.89, S.D. = 0.88, x̅ = 2.18, S.D. = 0.62, respectively). In other words, the biosocial factors having an effect on health literacy included: monthly income (F = 6.19, p-value = 0.002); age (F = 5.07, p-value = 0.007); occupation (F = 4.07, p-value = 0.001); and chronic disease timespan (F = 3.00, p-value = 0.030). In addition, health service system, social and cultural, and psychological factors collectively explained 56.00% of the variance in health literacy of the respondents (Adjusted R Square = 0.56, F = 85.380, p < 0.01).
Results of the study implied that a model of health literacy enhancement should be developed. Also, the following should be done or encouraged: participation of family, community, public health personnel and network parties; guidelines for developing a health service system; place and environment contributing to health promotion of the elderly; skills in access to health service and medical treatment rights; recreational activities; social responsibility; and psychology. Moreover, it should have a qualitative study and a comparative study on health literacy of the elderly both in rural and urban areas. Results of the study can be an effective guideline for developing and promoting health literacy of the elderly. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตชนบท จังหวัดเชียงใหม่ และไม่มีภาวะสมองเสื่อมโดยใช้แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE (Thai 2002) รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดเชียงใหม่ และปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ปัจจัยด้านชีวสังคม ด้านระบบบริการสุขภาพ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านจิตวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง (t-test, One Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดเชียงใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.10, S.D. = 0.78) ปัจจัยด้านชีวสังคม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.00 อายุระหว่าง 60 - 69 ปี ร้อยละ 68.50 สถานภาพสมรสส่วนใหญ่เป็นแบบสมรส ร้อยละ 68.25 การศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 84.75 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 37.75 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 87.75 สิทธิการรักษามาจากบัตรสวัสดิการของรัฐ/บัตรทอง ร้อยละ 86.25 ระยะเวลาที่มีโรคประจำตัว 6 - 10 ปี ร้อยละ 28.25 และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 1 - 3 คน ร้อยละ 65.25 ปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านจิตวิทยา ภาพรวมแต่ละปัจจัยอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 1.59, S.D. = 0.98), (x̅ = 1.89, S.D. = 0.88), (x̅ = 2.18, S.D. = 0.62) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดเชียงใหม่ คือ ปัจจัยด้านชีวสังคม ได้แก่ รายได้ต่อเดือน (F = 6.19, p-value = 0.002) อายุ (F = 5.07, p-value = 0.007) อาชีพ (F = 4.07, p-value = 0.001) และระยะเวลาที่มีโรคประจำตัว (F = 3.00, p-value = 0.030) โดยที่ปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านจิตวิทยา สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร้อยละ 56 (Adjusted R Square = 0.56, F = 85.38, p < 0.01) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ควรมีการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขและภาคีเครือข่าย การจัดแนวทางในการพัฒนาด้านระบบบริการสุขภาพ การจัดสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ รวมทั้งการเพิ่มพูนทักษะด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพและสิทธิการรักษา กิจกรรมสันทนาการ ความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านจิตวิทยา เพื่อเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การสนับสนุนเชิงนโยบายโดยองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการให้ครอบคลุม มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพและมีการศึกษาเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบท และสามารถนำความรู้จากการศึกษามาเป็นแนวทางในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2213 |
Appears in Collections: | Liberal Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6414402001.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.