Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2202
Title: EFFECTS OF ORGANIC ACID AND SODIUM DODECYL SULFATE IN REMOVING BACTERIA ON DIFFERENT SURFACES
ผลของกรดอินทรีย์และโซเดียมโดเดซิลซัลเฟตในการกำจัดแบคทีเรียบนพื้นผิวชนิดต่างๆ
Authors: Siriporn Kampan
ศิริพร คำปัน
Pichamon Limcharoenchat
พิชามญชุ์ ลิ่มเจริญชาติ
Maejo University
Pichamon Limcharoenchat
พิชามญชุ์ ลิ่มเจริญชาติ
pichamon_lc@mju.ac.th
pichamon_lc@mju.ac.th
Keywords: E. coli O157:H7
S. aureus
กรดอินทรีย์
โซเดียมโดเดซิลซัลเฟต
พื้นผิว
E. coli O157:H7
S. aureus
Organic acid
Sodium dodecyl sulfate
Surfaces
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: Cross-contamination is a major case of foodborne disease outbreaks. Cleaning methods are important to improve the food safety. The objective of this research is to evaluate the effect of organic acid and sodium dodecyl sulfate for inactivating Escherichia coli O157:H7 and Staphylococcus aures on surfaces (Tile, Stainless steel, Wood and Plastic). E. coli O157:H7 and S. aureus was separated transferred and incubated twice to tryptic soy broth (37◦C for 24 h), centrifuged, and re-suspended with 0.1% peptone water (250 µl). Re-suspended inoculum (250 µl) was dropped on a sterilized surfaces and dried at room temperature. Distilled water with different volumes (5-25 ml) and different methods (pouring and spraying), formic acid (0.1-5%; 5 ml), and acetic acid (1-5%; 5 ml), the selected organic acid combine sodium dodecyl sulfate (0.5 and 1%) were applied to clean the inoculated surfaces. Samples were collected by swab test, diluted, and plated to enumerate survivors (37◦C, 24 h). Results showed that the amount of water did not impact (P>0.05) the reductions when volume was more than 15 ml. S. aureus has higher resistance than E. coli O157:H7 due to S. aureus was flock attached to the surfaces, but E. coli O157:H7 was spread around the surfaces. Spraying method showed greater reduction (P< 0.05), for E. coli O157:H7, but suggested the same results (p > 0.05) for S. aureus. Acetic acid and formic acid 5 % reduced E. coli O157:H7 and S. aureus for > 5 log reduction. Organic acid with low concentration plus SDS did not show different efficacy (P>0.05). Recommended concentration in this combination was at least 3% of organic acid. Types of surfaces affected the sanitation. Tile and wood were the best and worst surfaces for cleaning because of the roughness and structure. In conclusion, formic acid and acetic acid have the ability to be used as disinfection substances.
การปนเปื้อนข้ามเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดการระบาดของเชื้อก่อโรคในอาหาร การทำความสะอาดพื้นผิวจึงมีความสำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยในอาหาร งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้กรดอินทรีย์และโซเดียมโดเดซิลซัลเฟตในการลดปริมาณเชื้อ Escherichia coli O157:H7 และ Staphylococcus aureus บนพื้นผิว (กระเบื้อง สแตนเลส ไม้ และพลาสติก) เชื้อก่อโรคทั้งสองชนิดถูกแยกเพาะเลี้ยงใน Tryptic soy broth บ่มที่อุณหภูมิ 37°C (24 ชั่วโมง) ทำการถ่ายเชื้อและบ่มอีกครั้ง เชื้อถูกนำไปปั่นเหวี่ยงละลายด้วย 0.1% peptone water ปริมาณ 250 µl นำเชื้อหยดลงบนพื้นผิวที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ทิ้งให้แห้งในอุณหภูมิห้อง จากนั้นทำความสะอาดด้วยน้ำกลั่น (5-25 ml) วิธีการทำความสะอาด (เท และพ่น) และ กรดฟอร์มิก (0.1-5%, 5 ml) กรดอะซิติก (1-5%, 5 ml) กรดอินทรีย์ที่ความเข้มข้นที่ที่คัดเลือกร่วมกับโซเดียมโดเดซิลซัลเฟต (0.5 และ 1%) ทำการเก็บตัวอย่างบนพื้นผิว และสารล้างหลังทำความสะอาดและบ่มเพื่อตรวจสอบปริมาณเชื้อ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ปริมาณน้ำไม่ส่งผลต่อการทำความสะอาดเมื่อมีปริมาณมากกว่า 15 ml เชื้อ S. aureus มีความต้านทานสูงกว่าเชื้อ E. coli O157:H7 เนื่องจากเชื้อ S. aureus ยึดเกาะเป็นกลุ่มก้อนในขณะที่เชื้อ  E. coli O157:H7 กระจายตัวอยู่ตามพื้นผิว เมื่อเปรียบเทียบวิธีการทำความสะอาดด้วยการพ่นและการเท พบว่า วิธีการพ่นส่งผลให้ปริมาณเชื้อ E. coli O157:H7 ลดลงมากกว่าการเท (P < 0.05) ในขณะที่วิธีการทำความสะอาดไม่ส่งผลต่อการลดปริมาณเชื้อ S. aureus (P > 0.05) การใช้กรดอะซิติกและกรดฟอร์มิกความเข้มข้น 5% สามารถลดปริมาณเชื้อ  E. coli O157:H7 และ S. aureus ได้มากกว่า 5 log การใช้กรดอินทรีย์ความเข้มข้นต่ำร่วมกับโซเดียมโดเดซิลซัลเฟตไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำความสะอาด (P>0.05) ความเข้มข้นของกรดอินทรีย์ที่เหมาะสมในการใช้ร่วมกับสารลดแรงตึงผิว ได้แก่ 3% ประเภทของพื้นผิวส่งผลต่อการฆ่าเชื้อ ในการทำความสะอาด พื้นผิวกระเบื้องทำความสะอาดได้ง่ายที่สุด และพื้นผิวไม้ทำความสะอาดได้ยากที่สุด เนื่องจากความขรุขระและโครงสร้างของพื้นผิว  กล่าวโดยสรุป กรดฟอร์มิกและกรดอะซิติกสามารถพัฒนาเป็นสารฆ่าเชื้อบนพื้นผิวได้
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2202
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6404302004.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.