Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2200
Title: EFFECT OF GROWING MEDIA ON  GROWTH AND YIELD OF POTATO (Solanum tuberosum L.) 
ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันฝรั่ง
Authors: Sukanya Sribuakhao
สุกัญญา ศรีบัวขาว
Pathipan Sutigoolabud
ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร
Maejo University
Pathipan Sutigoolabud
ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร
pathipan@mju.ac.th
pathipan@mju.ac.th
Keywords: มันฝรั่ง
วัสดุปลูก
การเจริญเติบโต
ผลผลิต
potato
growing media
growth
yield
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted effects of growing media on growth and yield of potato. Planted in Nong Han Subdistrict, San Sai District, Chiang Mai Province. The study period was between September 2022 and March 2024. Atlantic potato strain was used for experimental test in greenhouse. The seed potato were incubated until 2-3 centimeters of potato shoots. One whole bulb of potato were in plastic bag. Keep the depth the potato bulb were place in the middle of the planting bag. Water and fertilizer were given by water every week (15 week). Using fertilizer throughout the season per planting bag per bulb of all varieties as follows: nitrogen 3.07 grams, phosphorus 2.22 grams, potassium 6.13 grams, calcium 1.96 grams, magnesium 0.87 grams, sulfur 1.35 grams, and micronutrients 0.05-0.1 grams. The experiment used completely randomized design (CRD) with 9 treatments and 10 replications with growing media as 1)coconut coir dust, 2)coconut coir dust + rice husk (1:1), 3)coconut coir dust + rice husk charcoal (3:1), 4)coconut coir dust + sand (1:1), 5)sand, 6)sand + rice husk (1:1), 7)sand + rice husk charcoal (3:1), 8)coconut coir dust + rice husk + sand + rice husk charcoal (1:1:1:1) and 9)rice husk. The results found that the chemical and physical properties of all types of growing media were suitable for growing potato. The coconut coir dust or media mixed with coconut coir dust is most suitable for growing potatoes. All growing media in the experimental treatments could be used to seed potato production. Except for using only rice husk. Therefore, it can not be used as a growing media for potato. The most suitable growing media for seed potato production is coconut coir dust + rice husk (1:1), followed by coconut coir dust due to its good growth and the greatest number of potato tuber.
การศึกษาการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งในวัสดุปลูกมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง ทำการปลูกมันฝรั่งในพื้นที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะเวลาการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ.2567 ทำการปลูกในโรงเรือนพลาสติกกันแมลง โดยใช้มันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติก ทำการบ่มหัวพันธุ์มันฝรั่งจนมีหน่องอกออกมา 2-3 เซนติเมตร จากนั้นนำไปปลูกโดยใช้หัวพันธุ์ทั้งหัวต่อหนึ่งถุงปลูก ให้ความลึกของหัวมันฝรั่งอยู่ระหว่างกลางของถุงปลูก ให้น้ำและปุ๋ยทางน้ำทุกสัปดาห์ ทั้งหมด 15 สัปดาห์ โดยใช้ปุ๋ยตลอดฤดูกาลต่อถุงปลูกต่อหนึ่งหัวพันธุ์ทั้งหมด ดังนี้ ไนโตรเจน 3.07 กรัม, ฟอสฟอรัส 2.22 กรัม, โพแทสเซียม 6.13 กรัม, แคลเซียม 1.96 กรัม, แมกนีเซียม 0.87 กรัม,  กำมะถัน 1.35 กรัม และธาตุอาหารเสริม 0.05-0.1 กรัม วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วย วัสดุปลูก 9 ชนิด ๆ ละ 10 ซ้ำ ได้แก่ 1) ขุยมะพร้าว, 2) ขุยมะพร้าว+แกลบดิบ (1:1), 3) ขุยมะพร้าว+แกลบดำ (3:1), 4) ขุยมะพร้าว+ทราย (1:1), 5) ทราย, 6) ทราย+แกลบดิบ (1:1), 7) ทราย+แกลบดำ (3:1), 8) ขุยมะพร้าว+แกลบดิบ+แกลบดํา+ทราย (1:1:1 :1) และ 9) แกลบดิบ ผลการทดลอง พบว่า สมบัติด้านเคมีและกายภาพของวัสดุปลูกทุกชนิดเหมาะสมต่อการปลูกมันฝรั่ง วัสดุปลูกที่มีขุยมะพร้าวหรือมีขุยมะพร้าวผสมจะเหมาะสมต่อการปลูกมันฝรั่งมากที่สุด วัสดุปลูกทุกตำรับการทดลองสามารถนำมาผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งได้ ยกเว้นการใช้แกลบดิบที่ไม่ผสมกับวัสดุปลูกอื่น ๆ จะไม่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกมันฝรั่งได้ และวัสดุปลูกที่มีความเหมาะสมต่อการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งมากที่สุด คือ ขุยมะพร้าว+แกลบดิบ (1:1) รองลงมาคือ ขุยมะพร้าว ให้ผลในด้านการเจริญเติบโต และจำนวนหัวพันธุ์ของมันฝรั่งมากที่สุด
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2200
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6301313001.pdf7.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.