Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2197
Title: ลักษณะกิ่งพันธุ์ไม้ผล ภายใต้โครงการส่งเสริมการสร้างสวนและสวนหลังบ้านตามความต้องการของนักวิชาการเกษตรผู้รับผิดชอบงานพืชสวน ประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดในประเทศไทย
Other Titles: Qualities of fruit trees under Orchard and Backyard Promation Project as required by subject matter specialists at provincial agricultural extension offices in Thailand
Authors: สุวิทย์ ตั่นสุวรรณ, suwit tunsuvan
Keywords: ไม้ผล
มะม่วง
การขยายพันธุ์
ทุเรียน
ลำไย
ลิ้นจี่
มังคุด
ลองกอง
Issue Date: 1994
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) ลักษตะส่วนบุคคลและสังคมของนักวิชาการเกษตร (2 ) ลักษณะของกิ่งพันธุ์ไม้ผลภายใต้โครงการส่งเสริมการสร้างสวนและสวนหลังบ้านตามความต้องการของนักวิชาการเกษตร (3) ปัญหาของลักษณะกิ่งพันธุ์ ไม้ผลที่ได้รับมอบจากศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือนักวิชาการเกษตรผู้รับผิดชอบงานพืชสวนประจำสำนักงาน กษตรจังหวัดทุกจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษละกิ่งพันธุ์ไม้ผลภายใต้โครงการส่งเสริมการสร้างสวนและสวนหลังบ้าน ตามความต้องการของนักวิชาการเกษตรผู้รับผิดชอบงานพืชสวนประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดข้อมูลที่รวบรวมได้วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ผลการวิจัยพบว่า นักวิชาการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุโดยเฉลี่ย 39 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาส่งเสริมการเ กษตร ดำรงตำแหน่งนักวิชาการเกษตร 5 โดยมีระยะเวลารับผิดชอบโครงการเฉลี่ย 7 ปี และมีจำนวนอำเภอที่รับผิดชอบเฉลี่ย 11 อำเภอต่อนักวิชาการเกษตร 1 คน ลักษณะกิ่งพันธุ์ไม้ผลภายใต้โครงการส่งเสริมการสร้างสวนและสวนหลังบ้าน ตามความต้องการของนักวิชาการเกษตร ผลการวิจัยพบว่า นักวิชาการเกษตรต้องการชนิดของไม้ผลคือ มะม่วงมากที่สุด มีรายละเอียดแต่ละประเด็นของชนิดพืช ดังนี้คือ 1. มะม่วง นักวิชาการเกษตรส่วนใหญ่ต้องการพันธุ์น้ำดอกไม้แบบทาบกิ่งบรรจุในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้ว โดยใช้ขุยมะหร้าวผสมตินเป็นวัสดุเพาะชำ กิ่งพันธุ์ควรมีอายุ 2-3 เดือน มีความสูงกว่า 12 นิ้ว และต้องการกิ่งพันธุ์ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งธนล่งด้วยรถบรรทุกคลุมด้วยตาข่ายพรางแสง และควรมีระยะเ วลาในการตรวจรับกิ่งพันธุ์ 30 วัน 2. ทุเรียน นักวิชาการ เกษตรส่วนใหญ่ต้องการพันธุ์หมอนทองแบบเสียบยอด บรรจุในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้ว โดยใช้ขุยมะพร้าวผสมดินเป็นวัสดุเนาะชำ กิ่งพันธุ์ควรมีอายุ 3-4 เดือน มีความสูงกว่า 12 นิ้ว และต้องการรับกิ่งพันธุ์ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งขนส่งด้วยรถบรรทุกคลุมด้วยตาข่ายพรางแสง และควรมีระยะเวลา ในการตรวจรับกิ่งพันธุ์ 30 วัน 3. ลำไย นักวิชาการ เกษตรส่วนใหญ่ต้องการพันธุ์อีดอแบบตอนกิ่ง บรรจุในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้ว โดยใช้ขุยมะพร้าวผสมดินเป็นวัสดุเพาะชำ กิ่งพันธุ์ควรมีอายุ 2-3 เดือน สูงกว่า 12 นิ้ว และต้องการรับกิ่งพันธุ์ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมซึ่งขนส่งด้วยรถบรรทุกคลุมตาข่ายพรางแสงและควรมีระยะ เวลาในการตรวจรับกิ่งพันธุ์ 30 วัน 4. ลิ้นจี่ นักวิชาการ เกษดรส่วนใหญ่ต้องการพันธุ์ฮงฮวยแบบการตอนกิ่งบรรจุในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้ว โดยใช้ขุยมะพร้าวผสมดินเป็นวัสดุเพาะชำ กิ่งพันธุ์ควรมีอายุ 3-4 เดือน มีความสูงกว่า 12 นิ้ว และต้องการรับกิ่งพันธุ์ช่วงเดือนเมษายน-พฤะภาคม ซึ่งขนส่งด้วยรถบรรทุกคลุมด้วยตาช่ายพรางแสง และควรมีระยะเวลาในการตรวจรับกิ่งพันธุ์ 30 วัน 5. มังคุด นักวิชาการ เกษตรส่วนใหญ่ต้องการกิ่งพันธุ์มังคุดบรรจุในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้ว โดยใช้ขุยมะพร้าวผสมดินเป็นวัสดุเพาะชำ กิ่งพันธุ์ควรมีอายุเดือน มีความสูงกว่า 12 นิ้ว และต้องการรับกิ่งพันธุ์ช่วงเดือนเมยายน-พฤษกาคม ซึ่งขนส่งด้วยรถบรรทุกคลุมด้วยตาข่ายพรางแสง และควรมีระยะ เวลาในการตรวจรับกิ่งพันธุ์20 วัน 6. ลองกอง นักวิชาการเกษตรส่วนใหญ่ต้องการกิ่งพันธุ์ลองกองแบบเสียบยอด บรรจุในถุงพลาสติกสีดำขนาด 3x10 นิ้ว โดยใช้ขุยมะพร้าวผสมดินเป็นวัสดุเพาะชำกิ่งพันธุ์ควรมีอายุ 4-6 เดือน มีความสูงกว่า 12 นิ้ว และต้องการรับกิ่งพันธุ์ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งขนส่งด้วยรถบรรทุกคลุมด้วยตาข่ายพรางแสง และควรมีระยะเวลาในการตรวจรับกิ่งพันธุ์ 20 วันส่วนปัญหาของลักษละกิ่งพันธุ์ ไม้ผลที่ได้รับมอบมาจากศูนย์ส่ง เสริมและผลิตพันธุ์พืชสวน ผลการวิจัยพบว่า การผลิตกิ่งพันธุ์ไม้ผลยังไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานสำหรับการส่งเสริม
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2197
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suwit-tunsuvan.PDF2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.