Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2189
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุปผา ไหมพรหม, bubpha maiprom-
dc.date.accessioned2024-06-28T07:47:20Z-
dc.date.available2024-06-28T07:47:20Z-
dc.date.issued1996-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2189-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในอำเภอนะโต๊ะ จังหวัดชุมพร (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการยอมรับปฏิบัติเทคโนโลยีการผลิตกาแฟ (3) ระดับการยอมรับปฏิบัติเทโนโลยีการผลิตกาแฟ ของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ( 4) ความสัมพันธ์ของระดับการยอมรับปฏิบัติเทคโนโลยีการผลิตกาแฟกับสถานภาพทางการผลิต และการรับรู้เทคโนโลยีของเกษตรกร (5) ปัญหาด้านการผลิตกาแฟของเกษตรกร และ (6) ความต้องการต้านการผลิตกาแฟของเ กษตรกรผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในอำเภอนะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ เพื่อรวบรวมช้อมูลเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติเทคโน โลยีการผลิตกาแฟ ระดับปัญหาและความต้องการด้านการผลิตกาแฟของ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ซึ่งข้อมูลได้นำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเดอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์(SPSS/PC+)ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 44 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คนและส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีพื้นที่เพาะปลูกกาแฟเฉลี่ยครอบครัวละ 13 ไร่ พื้นที่เพาะปลูกเป็นของตนเอง และได้รับผลผลิตกาแฟเฉลี่ยปีละ 3,562 กิโลกรัมครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยปีละ 212,904 บาท โดยมีรายได้จากการขายผลผลิตกาแฟเฉลี่ยครอบครัวละ 197,955 บาท รายได้จากภาคเกษตรเฉลี่ย 15,195 บาท รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 4,187 บาทต่อปี มีประสบการณ์ในการทำสวนกาแฟเฉลี่ย 8 ปี เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกษตรเฉลี่ยปีละ 1 ครั้ง ได้รับข่าวสารความรู้เรื่องการทำสวนกาแฟ จากรายการทางโทรทัศน์เฉลี่ยปีละ 1 ครั้ง จากรายการทางวิทยุเฉลี่ยปีละ 7 ครั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์เฉลี่ยปีละ 4 ครั้ง จากผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร เฉลี่ยปีละ 10 ครั้ง จากเพื่อนบ้าน และ เกษดรกรผู้ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพเฉลี่ยปีละ 15 ครั้ง เกษตรกรได้เข้าร่วมประชุมฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำสวนกาแฟเฉลี่ยปีละ 1 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟเกษตรกรยอมรับปฏิบัติเทค โนโลยีการผลิตกาแฟอยู่ในระดับปานกลาง โดยเกษตรได้มีการปฏิบัติด้านการให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช และการเ ก็บเกี่ยวผลผลิดอยู่ในระดับมาก ส่วนการให้น้ำ การคลุมโคน การตัดแต่งกึ่ง การป้องกันและกำจัดโรคแมลง อยู่ในระดับปานกลางความสัมพันธ์ระหว่างระดับการยอมรับปฏิบัติเทคโนโลยีการผลิตกาแฟ และสถานภาพทางการผลิตกับการรับรู้เทคโน โลยีของ เกษตรกรนั้น พบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดอันได้แก่ ขนาดพื้นที่ปลูก สภาพการถือครองที่ดิน ผลผลิตที่ได้รับ รายได้ ประสบการณ์ในการทำสวน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกษตร การรับข่าวสารความรู้เรื่องการทำสวนกาแฟการฝึกอบรม และการรวมกลุ่มนั้น ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับการยอมรับปฏิบัติเทดโนโลยีการผลิตกาแฟของ เ กษตรกรแต่อย่างใดเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมีปัถูหาด้านการผลิตอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาเรื่องเงินทุน วัสดุอุปกรณ์ และการปฏิบัติดูแลรักษาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเรื่องการเก็บเกี่ยวผลผลิต กษตรกรมีปัญหาในระดับน้อยสำหรับความต้องการด้านการผลิตนั้นเกษตรกรมีความต้องการอยู่ในระดับมากโดยมีความต้องการด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้าน เงินทุน และด้านการปฏิบัติดูแลรักษาอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตแเกษตรกรมีความต้องการในระดับปานกลางen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectกาแฟen_US
dc.subjectเทคโนโลยีการเกษตรen_US
dc.subjectเทคโนโลยีที่เหมาะสมen_US
dc.subjectการรับรู้en_US
dc.titleการยอมรับปฏิบัติเทคโนโลยีการผลิตกาแฟของเกษตรกรผู้นำปลูกกาแฟในอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพรen_US
dc.title.alternativeAdoption of coffee production technology by coffee growers in Phato District, Chumphon province, Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:AED-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
bubpha-maiprom.PDF2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.