Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2146
Title: | ความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมของครูเกษตร ในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 8 |
Other Titles: | Vocational training needs in agriculture of agricultural teachers in secondary schools, Education Region 8, Thailand |
Authors: | ทวีป วงศ์ชาลีกุล, taweep wongchaleegula |
Keywords: | การฝึกอบรม เกษตรกรรม โรงเรียนมัธยมศึกษา ครู |
Issue Date: | 1995 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานภาพส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม ของครูเกษตร(2) ความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมของครูเกษตร (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมของครูเกษตร (4) ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการจัดการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมของครูเกษดรซึ่งผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูเกษตรในโรงเวียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสนัญศึกษาเขตการศึกษา 8 รวมทั้งสิ้น 129 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมของครูเกษตร แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยมีอายุเฉลี่ย 36 ปีส่วนใหญ่สมรสแล้ว และจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการสอนเฉลี่ย 13 ปี มีรายได้เฉลี่ย 9, 443 บาทต่อเดือน และส่วนใหญ่ไม่ เคยมีประสบการณ์ในการฝึกอบรมสำหรับการได้รับความรู้จากสื่อสารมวลชนนบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่รับฟังวิทยุทางการเกษตรเฉลี่ย 7 ครั้งต่อเดือน รับชมโทรทัศน์ทางการเกษตรเฉลี่ย 11 ครั้งต่อเดือน และอ่านบทความทางการเกษตรจากหนังสือพิมพ์เฉลี่ย 13 ครั้งต่อเดือน สาเหตุที่ครูเกษตรส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการฝึกอบรมวิชาชีพเลย อาจมีสา เหตุจากระบบข้อมูลข่าวสารการฝึกอบรมไม่ทั่วถึง ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องงงประมาณสนับสนุน จึงควรมีการปรับปรุงระบบข่าวสารการฝึกอบรม ตลอดจนกระตุ้นให้ครูเกษตรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญต่อการจัดการฝึกอบรมวิชาชีพเ กษตรกรรมและจัดงบประมาณสนับสนุนให้มากกว่าเดิมส่วนผลการวิจัยเกี่ยวกับความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมของครูเกษตรทั้ง 4 ด้าน พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษครกรรมในด้านเนื้อหาวิชาฝึกอบรมในระดับปานกลาง มีความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมในด้านวิทยากรฝึกอบรมในระดับมาก นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหมีความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมในด้านวิธีการและชั้นตอนการฝึกอบรม และด้านสื่อและอุปกรณ์ในการฝึกอบรมในระดับมากที่สุด และมากตามลำดับผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าครู เกษตรมีความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมทั้ง 4 ด้าน ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงระดับมากที่สุด ซึ่งแสดงว่าครูเกษตรให้ความสนใจในการที่จะเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความหวังและทักษะอันจะนำไปปรับปรุงงานอาชีพของตนโดยให้ความสำคัญในส่วนของวิธีการและขั้นตอนภารฝึกอบรมมากที่สุด ฉนั้นการกำหนดวิธีการในการฝึกอบรมให้มีหลากหลาย เช่นการบรรยาย การสาธิตตลอดจนการฝึกปฏิบัติจริงจะส่งผลให้การฝึกอบรมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมของครูเกษตร พบว่าอายุ ประสบการณ์ในการสอน รายได้ และการได้รับความรู้จากสื่อสารมวลชน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมของครูเกษตร ส่วนเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการฝึกอบรมนั้นพบว่าไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมของครูเกษตรแต่อย่างใด ซึ่งแสดงว่าอายุและประสบการณ์ในการสอนของครูเกษตรผลต่อการแสดงอกซี่งความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษดวกรรม ครูเกษตรที่มีอายุมากและประสบการณ์ในการสอนมาก จะมีความต้องการความรู้และการฝึกอบรมมาก เพื่อใช้ในการปรับปรุงตน องให้กันต่อวิทยาการสมัยใหม่ รวมทั้งรายได้จะต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการเพิ่มพูนความรู้ให้มากขึ้น นอกจากนี้การได้รับความรู้จากสื่อสารมวลชนจะช่วยระตุ้นให้เกิดความต้องการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นเช่นกัน"" |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2146 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
taweep-wongchaleegula.PDF | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.