Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2141
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปวีณ โภชนา, Paween Phochana-
dc.date.accessioned2024-05-29T09:07:01Z-
dc.date.available2024-05-29T09:07:01Z-
dc.date.issued2011-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2141-
dc.description.abstractผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์แสงและการสร้างมวลชีวภาพใน ถั่วเหลืองฝักสด 5 สายพันธฐุ์ คือ AGS 292, No.75, 16 sweet, MJ 0101-4-6 และ MJ 0108-11-5 ระหว่างเดือนตุลาคม 2552 ถึง เมษายน 2553 พบว่าในฤดูฝน ถั่วเหลืองฝักสดทั้ง 5 สายพันธุ์ มีการ สังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ระยะการเจริญเติบโตด้านใบและลำต้นจาก V1 ถึง v6 และเพิ่มขึ้นอีกในระยะการเจริญเติบโตด้านแพร่ขยายพันธุ์ จาก R1 ถึง R5 สายพันธุ์ AGS 292 มีการสังเคราะห์แสงสูงสุดทั้งในระยะ Vegetative และ Reproductive growth stages โดยเฉพาะระยะ R5 มีการ สังเคราะห์แสงเท่ากับ 39.46 umolco2m-2s-2 และมีการสร้างมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นจากระยะการเจริญเติบโตด้านใบและลําต้นจนถึงระยะการเจริญเติบโตด้านแพร่ขยายพันธุ์โดยที่ระยะ R6 มีการสร้างมวลชีวภาพสูงถึง 106.38 กรัมต่อตารางเมตร หลังจากนั้นจะลดลงในระยะสุกแก่ทางสรีระ วิทยาเมล็ดพันธุ์ ถั่วเหลืองฝักสดต่างสายพันธุ์กัน มีการสร้างมวลชีวภาพที่แตกต่างกัน สายพันธุ์ AGS 292 มีการสร้างมวลชีวภาพสูงสุด และผลการศึกษาในฤดูแล้งพบว่า ถั่วเหลืองฝักสด 5 สายพันธุ์ มีการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นในระยะการเจริญเติบโตด้านใบและลําต้นจาก V1 ถึงV6 และ เพิ่มขึ้นอีกในระยะการเจริญเติบโตด้านแพร่ขยายพันธุ์ จาก R1 ถึง R5 และสายพันธุ์ AGS 292 มีการสังเคราะห์แสงสูงสุดทั้งในระยะ Vegetative และ Reproductive growth stages โดยเฉพาะระยะ R5 มีการสังเคราะท์แสงเท่ากับ 32.59 umolCo2m-12s-1 และมีการสร้างมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นจากระยะการ เจริญเติบโตด้านใบและลําต้น จนถึงระยะการเจริญเติบโตด้านแพร่ขยายพันธุ์ถึงระยะ R6 หลังจากนั้นก็ลดลงในระยะการสุกแก่ทางสรีระวิทยาเมล็ดพันธุ์ การสังเคราะห์แสงและการสร้างมวลชีวภาพของถั่วเหลืองฝักสด 5 สายพันธุ์ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวก โดยสายพันธ์ AGS 292 มีการสร้างมวลชีวภาพ และผลผลิตสูงที่สุด ถั่วเหลืองฝักสดต่างสายพันธุ์กันมีการสร้างมวลชีวภาพที่แตกต่างกันจากการศึกษาสายพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดที่ปลูกในฤดูฝนและฤดูแล้งพบว่า ถั่วเหลืองฝักสดที่ปลูกในฤดูฝน มีจำนวนฝักที่ได้มาตรฐานต่อไร่ น้ำหนักแห้งต้นทั้งหมดต่อไร่ และน้ำหนักแห้งลําต้นและใบทั้งหมดต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดที่ปลูกในฤดูแล้ง จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมพบว่า ถั่วเหลืองฝักสดสายพันธุ์ AGS 292 มีค่าเฉลี่ยของลักษณะทางการเกษตร องค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์ No.75, MJ 0108-11-5 , MJ 0101-4-6 และสายพันธ์, 16 sweet ตามลําดับen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectถั่วเหลืองen_US
dc.subjectการสังเคราะห์แสงen_US
dc.subjectการสร้างมวลชีวภาพen_US
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์แสง และการสร้างมวลชีวภาพในถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์ต่างกันen_US
dc.title.alternativeDetermination of correlation between photosynthesis and biomass accumulation in different vegetable soybean cultivarsen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:SCI-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
paween-pochana.pdf.crdownload1.64 MBUnknownView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.