Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2129
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorWattana Sangkhamen
dc.contributorวัฒนา แสงคำth
dc.contributor.advisorWitchaphart Sungpaleeen
dc.contributor.advisorวิชญ์ภาส สังพาลีth
dc.contributor.otherMaejo Universityen
dc.date.accessioned2024-05-20T04:26:03Z-
dc.date.available2024-05-20T04:26:03Z-
dc.date.created2024-
dc.date.issued2024-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2129-
dc.description.abstractThe study of the status and utilization of forest restoration aimed to compare forest status in the royal initiative Ban Thung Ton Ngio Community Aid Project. The quantitative study was conducted on plant plot random sampling tree 50 x 50 m, 1 plot per area in 2 areas of Teak Plantation (TP) and Natural Successions (NS) to study the status and utilization of the forest. The result of the study was that there were 85 species of trees of more than 1 cm DBH, 72 genera in 39 families. Classified, The NS had a total of 61 species, 51 genera, in 35 families with a diversity value of 2.50 with a total cross-sectional area of 14.476 m2/ha and the survey found a total of 2,102 trees/ha. This distribution pattern of trees along DBH classes was inverted bell shape. This indicates irregular succession with the number of small trees being less than the number of large trees may be caused by excessive use of forests. In TP, A total of 54 species, 48 genera, in 27 families were found with a diversity value of 2.06 with a total cross-sectional area of 7.822 m2/ha and the survey found a total of 1,243 trees/ha. This indicates an anomaly for smaller DBH strata having more trees and decreasing as the DBH of the stratum increases. This makes the forests have a relatively stable condition and can be replaced well. This may be due to the area planted with teak trees that have always been maintained free of encroachments and forest fires by the project. The result of the group discussion forum of 30 people found that the majority of forest utilization was in the firewood group, totaling 49 species, 5 species of food/herbal groups, 16 species of construction groups, and 6 species of ritual groups. Dividing the utilization observed 75 species in NS were found, divided into 32 species of firewood, followed by 18 species of construction, 18 species of food/herbal groups, 4 species of ritual groups, and 3 species clothing and dyes group. In TP 56 species, divided into 21 species of firewood, followed by 17 species of food/ herbal groups, 14 species of construction groups, 2 species of ritual groups, 2 species of clothing and dye groups and 36 species to utilize 2 areas. The results obtained forest restoration, forest succession by planting teak forest planning, and forest succession itself under forest preservation and resource management with the participation of the Ban Thung Ton Ngio Community Aid Project. As a result, the use of forest resources is sustainable.en
dc.description.abstractการศึกษาสถานภาพและการใช้ประโยชน์จากป่าที่ฟื้นฟู มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพป่าที่ได้รับการฟื้นฟูโดยโครงการช่วยเหลือราษฎร บ้านทุ่งต้นงิ้วอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการวางแปลงตัวอย่างขนาด 50 x 50 ตารางเมตร ในพื้นที่แปลงปลูกป่าฟื้นฟูไม้สัก (Teak Plantation, TP) และพื้นที่ป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ (Natural Succession, NS) พื้นที่ละ 1 แปลงตัวอย่าง เพื่อศึกษาสถานภาพและการใช้ประโยชน์จากป่า ผลการศึกษาพบ ชนิดไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก 1 เซนติเมตรขึ้นไป ทั้งหมด 85 ชนิด 72 สกุล ใน 39 วงศ์ จำแนกเป็นแปลงป่าที่ฟื้นฟูเองตามธรรมชาติ พบชนิดไม้ทั้งหมด 61 ชนิด 51 สกุล ใน 35 วงศ์ มีค่าความหลากหลายเท่ากับ 2.50 มีพื้นที่หน้าตัดรวม ทั้งหมด 14.476 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ พบจำนวนต้นที่สำรวจพบทั้งหมด 2,102 ต้นต่อเฮกแตร์ รูปแบบการกระจายของต้นไม้ตามช่วงชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของชนิดไม้ตั้งแต่ขนาด 1 เซนติเมตรขึ้นไป เป็นแบบรูประฆังคว่ำ บ่งบอกถึงการสืบต่อพันธุ์ที่ไม่ปกติโดยมีจำนวนต้นไม้ขนาดเล็กน้อยกว่าจำนวนต้นไม้ขนาดใหญ่ อาจเกิดจาการใช้ประโยชน์จากป่าที่มากเกินไป และแปลงป่าปลูกด้วยไม้สัก พบชนิดไม้ทั้งหมด 54 ชนิด 48 สกุล ใน 27 วงศ์ มีค่าความหลากหลายเท่ากับ 2.06 มีพื้นที่หน้าตัดรวม ทั้งหมด 7.822 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ พบจำนวนต้นที่สำรวจพบทั้งหมด 1,243 ต้นต่อเฮกแตร์ รูปแบบการกระจายของชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของชนิดไม้ตั้งแต่ขนาด 1 เซนติเมตรขึ้นไป เป็นรูปแบบ L-shape นั่นคือ ในชั้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอก ที่มีขนาดเล็กจะมีจำนวนต้นมาก และลดลงเมื่อขนาดชั้นของเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอกเพิ่มขึ้น แสดงว่าป่าอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้างคงที่ มีการทดแทนดี อาจเกิดจากพื้นที่แปลงปลูกป่าด้วยไม้สักได้รับการบำรุงดูแลรักษาพื้นที่จากการบุกรุกและไฟป่าโดยโครงการฯอยู่เสมอ และผลของการจัดกลุ่มเสวนาในชุมชนจำนวน 30 รายพบการใช้ประโยชน์จากป่าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มไม้ฟืน จำนวน 49 ชนิด รองลงมาได้แก่ กลุ่มอาหาร/สมุนไพร จำนวน 45 ชนิด กลุ่มก่อสร้าง จำนวน 16 ชนิด และกลุ่มพิธีกรรม จำนวน 6 ชนิด ตามลำดับ เมื่อแบ่งการใช้ประโยชน์ที่สำรวจพบในแปลงป่าที่ฟื้นฟูเองตามธรรมชาติ (NS) พบจำนวน 75 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มไม้ฟืน 32 ชนิด รองลงมาได้แก่กลุ่มก่อสร้าง จำนวน 18 ชนิด กลุ่มอาหาร/สมุนไพร จำนวน 18 ชนิด กลุ่มพิธีกรรม จำนวน 4 ชนิด และกลุ่มเครื่องนุ่งห่มและสีย้อม จำนวน 3 ชนิด ส่วนแปลงพื้นที่ป่าปลูกด้วยไม้สัก ปี 2550 (TP) พบ 56 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มไม้ฟืน จำนวน 21 ชนิด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มอาหาร/สมุนไพร จำนวน 17 ชนิด กลุ่มก่อสร้าง จำนวน 14 ชนิด กลุ่มพิธีกรรม จำนวน 2 ชนิด และกลุ่มเครื่องนุ่งห่มและสีย้อม จำนวน 2 ชนิด และพบ 36 ชนิดที่มีการใช้ทั้งสองพื้นที่ ผลที่ได้รับจากการฟื้นฟู บำรุง ดูแลรักษาป่าบ้านทุ่งต้นงิ้วทั้งการปลูกด้วยไม้สักและการปล่อยให้ฟื้นฟูเองตามธรรมชาติ ภายใต้การดูแลรักษาป่าและการจัดการทรัพยากรร่วมกันระหว่างชุมชนบ้านทุ่งต้นงิ้วกับโครงการช่วยเหลือราษฎรบ้านทุ่งต้นงิ้วอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นั่นคือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ อย่างยั่งยืนสืบต่อไปth
dc.language.isoth-
dc.publisherMaejo University-
dc.rightsMaejo University-
dc.subjectการทดแทนของพืชth
dc.subjectการพึ่งพาทรัพยากรป่าไม้th
dc.subjectการใช้ประโยชน์พืชth
dc.subjectไร่หมุนเวียนth
dc.subjectPlant Successionen
dc.subjectForest Resources Dependencyen
dc.subjectPlan Utilizationen
dc.subjectShifting Cultivationen
dc.subject.classificationMultidisciplinaryen
dc.subject.classificationAgriculture,forestry and fishingen
dc.titleSTATUS AND UTILIZATION OF THE RESTORED FOREST IN THE ROYAL INTIALTIVE BAN THUNG TON NGIO COMMUNITY AID  PROJECT, OM KOI DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCEen
dc.titleสถานภาพและการใช้ประโยชน์จากป่าที่ฟื้นฟูในพื้นที่ โครงการช่วยเหลือราษฎรบ้านทุ่งต้นงิ้วอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่th
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการค้นคว้าอิสระth
dc.contributor.coadvisorWitchaphart Sungpaleeen
dc.contributor.coadvisorวิชญ์ภาส สังพาลีth
dc.contributor.emailadvisorwitchaphart@mju.ac.th-
dc.contributor.emailcoadvisorwitchaphart@mju.ac.th-
dc.description.degreenameMaster of Science (Geosocial Based Sustainable Development)en
dc.description.degreenameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน))th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreediscipline-en
dc.description.degreediscipline-th
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6201417010.pdf7.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.