Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2106
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธานินทร์ ริยาพันธ์, Tanin riyapun-
dc.date.accessioned2024-04-25T06:26:27Z-
dc.date.available2024-04-25T06:26:27Z-
dc.date.issued1997-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2106-
dc.description.abstractการศึกษาสังคมพืชเพื่อการจัดวงศ์ไม้ในสวนพฤกษศาสตร์ กรณีศึกษา:สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ศึกษาโคยการวางแปลงศึกษา ขนาด 40 X 40 เมตร จำนวนทั้งหมด 4 แปลง ที่ความสูง 750, 800, 850 และ 900 เมตรจาก ระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) เพื่อศึกษาความหลากหลายของชนิดสังคมพืช และศึกษาสภาพโครงสร้างสังคมพืช รวมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลของชนิดพันธุ์พืชที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการรวบรวมพันธุ์เป็นหมวดหมู่ ตามหลักอนุกรมวิธานผลการศึกษาพบว่า สังคมพืชในพื้นที่ศึกษาทั้ง 4 ระดับ มีจำนวนไม้ต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอกตั้งแต่ 3.18 เซนติเมตรขึ้นไป ทั้งหมค 381 ต้น มีจำนวน พรรณไม้ 32 วงศ์ 53 สกุล 69 ชนิด โดยพบว่าพืชที่มีค่าดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยาสูงสุด ที่ระดับ 750, 800, 850 และ 900 เมตร (รทก.) ได้แก่ ส้มผด ก่อแพะ ยางปาย และยางเหียง ซึ่งคิดเป็นค่าดัชนีร้อยละ 37.53, 31.19, 48.98 และ 55.38 ตามลำดับการคัดเลือกวงศ์ไม้ เพื่อจัดปลูกเป็นวงศ์ไม้ภายในพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ฯพิจารณาจากค่าคัชนีความสำคัญรวมสูงสุด 5 วงศ์แรกของแปลงศึกษาแต่ละระดับความสูง พบว่า1) ระดับความสูง 750 เมตร (รทก) วงศ์ไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญรวมสูงสุด 5 วงศ์แรก ได้แก่ Anacardiaceae (44.74%) Burseraceac (36.91%) Theaceae (35.58%)Leguminosae (33.79%) และ Dipterocarpaceae (32.96%) ตามลำดับ2) ระดับความสูง 800 เมตร (ราก,) วงศ์ไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญรวมสูงสุดวงศ์แรกได้แก่ Fagaceae (101.50%) Dipterocarpaceae (63.56%) Euphorbiaceae (25.87%) Rubiaceae (23.28%) และ Leguminosac (20.79%) ตามลำดับ3) ระดับความสูง 850 เมตร (รทก.) วงศ์ไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญรวมสูงสุด 5 วงศ์แรก ได้แก่ Dipterocarpaceae (51.26%) Lauraceae (45.36%) Leguminosae (22.25%) Annonaceae (16.60%) และ Euphorbiaceae (7.41%) ตามลำคับ 4) ระดับความสูง 900 เมตร (รทก.) วงศ์ไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงรวมสูงสุด 5 วงศ์แรกได้แก่ Fagaceae (129.09%) Dipterocarpaceae (87.18%) Proteaceae (17.64%) Euphorbiaceae (14.66%) และ Rubiaceae (10.72%) ตามลำดับ ในการวิเคราะห์ด้านความหลากหลายของชนิดพันธุ์ โดยใช้ค่าดัชนีทั้ง 4 ค่า คือ Shannon - Wiener index of species diversity (H) มีค่าเท่ากับ 3.16 ที่แปลงศึกษา 850 เมตร (รทก.) Fisher's index of species diversity (Alpha) มีค่าเท่ากับ 23.13 ที่แปลงศึกษา 850 เมตร (รทก.) Simpsom's index of species diversity (D) มีค่าเท่ากับ 0.93 ที่แปลงศึกษา 800 เมตร (รทก.) และ Evenness index (E) มีค่าเท่ากับ 0.91 ที่แปลงศึกษา 750 เมตร (รทก.) จากความสัมพันธ์ระหว่าง ความหลากหลายของชนิคพันธุ์กับการเปลี่ยนแปลงตามระดับความสูงตั้งแต่ 750 - 850 เมตร พบว่า ค่า H และ Apha มีแนวโน้มสูงขึ้นตามระดับความสูงนั้นคือ มีความหลายหลายของชนิดพันธุ์ เพิ่มขึ้น แต่แปลงศึกษาที่ระคับความสูง 900 เมตรมีค่า H และ AIpha ลคลง เนื่องจากพื้นที่ที่ระดับ 900 เมตร (รทก.) ถูกบุกรุกแผ้วถางมาก่อน ทำให้ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ลดลงen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectสวนพฤกษศาสตร์en_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectการปลูกต้นไม้en_US
dc.titleการศึกษาสังคมพืชเพื่อการจัดวงศ์ไม้ในสวนพฤกษศาสตร์ กรณีศึกษา สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tanin-riyapun.PDF5.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.