Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2097
Title: | การยอมรับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนของประชาชนในเขตพื้นที่ดำเนินการ ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน |
Other Titles: | Acceptance of the credit union cooperative of people in the on-going cooperative operating areas in Chiangmai and Lamphun provinces |
Authors: | กวินทร์ วิชาลัย, gawin vicharai |
Keywords: | สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ลำพูน สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เชียงใหม่ |
Issue Date: | 2002 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบและกระบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับสหกรณ์เครคิดยูเนี่ยนของประชาชนในเขตพื้นที่ดำเนินการในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน และ (3) โอกาสที่จะเผยแพร่และขยายการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในการศึกษาเรื่องนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลโคยมีขอบเขตการศึกษาในเขตพื้นที่ตำบล ได้แก่ ตำบลดอนแก้ว ตำบลออนใต้ ตำบลป่าป้อง ตำบลเม่แฝก ของจังหวัดเชียงใหม่ และตำบลศรีบัวบาน จังหวัดลำพูน ซึ่งแยกเป็นกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนที่เป็นสมาชิกสหกรณ์เครดิดยูเนี่ยนจำนวน 360 ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนที่ไม่เป็นสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จำนวน 240 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 600 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามพร้อมการสัมภาษณ์ ซึ่งข้อมูลที่ได้มานั้นนำมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการหาด่าต่างๆ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับสหกรณ์เครคิตยูเนี่ยนของประชาชนในเขตพื้นที่คำเนินการ โดยใช้แบบจำลอง Logit Mode! ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มี 3 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบของกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนประเภทกลุ่มสะสม และกลุ่มเครดิดยูเนี่ยนประเกทกลุ่มสมทบ (2) รูปแบบของการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และ (3) รูปแบบของสหกรณ์เครดิดยูเนี่ยนที่ให้บริการในลักษณะธนาคาร ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนของประชาชนในเขตพื้นที่ดำเนินการในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (2) การเป็นสมาชิกกลุ่มอื่น (3) การเข้าร่วมประชุมเตรียมการก่อตั้งกลุ่มเครคิดผู้เนี่ยน (4) การทราบหลักการดำเนินงานของสหกรณ์ครดิดยูเนี่ยน (3) การทราบว่าชุมนุมสหกรณ์ครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด คือหน่วยงานที่รับผิดชอบและติดตามดูแลการคำเนินงานของสหกรณ์ครดิตเนี่ยน (6) การทราบว่าสหกรณ์เครคิดผู้เนี่ยนเป็นสถาบันการเงินของชุมชน และเป็นนิติบุคคลที่คำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (7 การเลือกใช้บริการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์เครดิดเนี่ยน และ (8 การเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์เครดิดยูเนี่ยนด้วยความสมัครใจ ส่วนโอกาสที่จะขยายการดำเนินงานของเครดิดยูเนี่ยนให้ครบทุกพื้นที่ จะเห็นได้ว่าจังหวัดเชียงใหม่มีกลุ่มและสหกรณ์เครคิดยูเนี่ยนทั้งหมด า1 แห่ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของหมู่บ้านทั้งหมดแล้วพบว่า ในจังหวัดเชียงใหม่มีกลุ่มและสหกรณ์เครคิดยูเนี่ยนเพียงร้อยละ 3.77 ของหมู่บ้านทั้งหมดในพื้นที่ ซึ่งถือได้ว่ามีการดำเนินงานอยู่น้อยมากดังนั้นโอกาสที่จะขบายการดำเนินงานของเครดิดยูเนี่ยนให้ครบทุกหมู่บ้านยังมีมากถึงร้อยละ 96.23 ของหมู่บ้านทั้งหมดในพื้นที่ โดยเฉพาะยังมีอีกหลายอำเภอที่ไม่มีการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิดยูเนี่ยนเลย ฉะนั้นจึงเป็นโอกาสที่จะขบายการดำเนินงานเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าว และในจังหวัดลำพูนมึสัดส่วนของหมู่บ้านที่มีกลุ่มและสหกรณ์เครดิตเนี่ยนเพียงร้อยละ 1.28 ของหมู่บ้านทั้งหมดในพื้นที่ และโอกาสที่จะขขายการดำเนินงานของเครคิดยูเนี่ยนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ยังมีอีกมากถึงร้อยละ 98.72 ของหมู่บ้านทั้งหมดในพื้นที่ ข้อเสนอแนะ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรจะต้องให้ความเอาใจใส่ต่อสมาชิกให้มากขึ้น โดยเฉพาะคณะกรรมการจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ของสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่ความไว้วางใจและทำให้เกิดการยอมรับของประชาชน หากสหกรณ์ใดประสบปัญหาการขาความเชื่อมั่นจากสมาชิก สหกรณ์นั้นควรที่จะได้มีการปรับปรุงบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการโดยให้คำนึงประโยชน์ของสมาชิกเป็นหลัก นอกจากนี้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรจะร่วมมือกันเพื่อช่วยส่งเสริมและเผขแพร่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เพื่อให้ชาวบ้านได้เข้าใจในหลักการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอย่างแท้จริง สามารถสร้างสถาบันการเงินที่เป็นของคนในชุมชน และเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป" |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2097 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gawin-vicharai.PDF | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.