Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2090
Title: GENETIC IMPROVEMENT OF ORGANIC NILE TILAPIA (Oreochromis niloticus) UNDER BIOFLOC SYSTEM BY EBV SELECTION
การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลอินทรีย์ที่เลี้ยงในระบบไบโอฟลอค โดยการคัดเลือกจากค่าคุณค่าการผสมพันธุ์
Authors: Kanokwan Nakkham
กนกวรรณ นาคขำ
Nissara Kitcharoen
นิสรา กิจเจริญ
Maejo University
Nissara Kitcharoen
นิสรา กิจเจริญ
nissara@mju.ac.th
nissara@mju.ac.th
Keywords: ปลานิล
การปรับปรุงพันธุ์
การตอบสนองต่อการคัดเลือก
อินทรีย์
ไบโอฟลอค
Nile tilapia
Response to selection
Genetic improvement
Organic
Biofloc
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to estimate genetic parameters and the response to selection. There were 70, 64, and 63 families of second-generation tilapia at ages 2 - 3 months, 3 - 4 months, and 9 - 10 months, respectively. The analysis of variance was perform by a univariate mixed linear animal model BLUP. Variance component were analyze following the animal model using Restricted Maximum Likelihood (REML) employing Average Information (AI) algorithm. The heritability estimates of weight at 2–3 months of age was 0.03 ± 0.06, indicating a low value. At 3-4 months of age revealed a moderate heritability value for body weight (0.16 ± 0.04), greater than aged 2-3 months. Bivariate trait analysis was used to estimate the Genotype by environment interaction; GxE at 9-10 month of age. The Heritability estimates for weight and length at 9-10 months of age cultured in the biofloc system were 0.56 ± 0.10 and 0.55 ± 0.10, respectively. In earthen ponds, they were 0.32 ± 0.09 and 0.41 ± 0.10, respectively. The results showed that tilapia cultured in the biofloc system had heritability higher for weight and length than those cultured in earthen ponds. Furthermore, the genotypic correlation values for the weight and length of tilapia cultured in biofloc systems and earthen ponds were 0.92 and 0.94, showing that there was no interaction between genetics and environmental factors. The response to selection of tilapia was evaluated by considering the difference between the least square mean of the selection group and the control group at 2 - 3 months of age, which was a value of 0.98 grams/group, or 11.78 %. While the weight and length of tilapia at the age of 9 - 10 months were 15.68 grams/group, or 15.34 %, the length was 10.21 centimeters/group, or 5.43 %, indicating a relatively strong rate of advancement. This result imply that selection to improve growth traits perform on organic tilapia by EBV section.
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม และประเมินผลตอบสนองต่อการคัดเลือกของลักษณะการเจริญเติบโตของปลานิลเมื่อได้ทำการคัดเลือกได้ 1 รุ่น โดยมีประชากรปลานิลรุ่นที่ 2 จำนวน 70, 64 และ 63 ครอบครัว เมื่ออายุ 2 – 3 เดือน 3 – 4 เดือน และ 9 – 10 เดือน ตามลำดับ องค์ประกอบความแปรปรวนถูกประมาณค่าด้วยวิธี Restricted Maximum Likelihood (REML) โดยใช้ Average Information (AI) algorithm ร่วมกับแบบจำลองสัตว์ (animal model) ในช่วงอายุ 2-3 และ 3-4 เดือน โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลทีละลักษณะ (Single trait analysis) ในแต่ละช่วงอายุ จากนั้นจึงนำค่าดังกล่าวไปคำนวณค่าอัตราพันธุกรรม ค่าคุณค่าการผสมพันธุ์ (Estimated Breeding Value, EBV) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ASREML พบว่าค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักปลาที่อายุ 2 – 3 เดือน มีค่าเท่ากับ 0.03 ± 0.06 ซึ่งมีค่าต่ำ ที่อายุ 3 - 4 เดือน มีค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักตัว เท่ากับ 0.16 ± 0.04 ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับปานกลางแต่สูงกว่าช่วงอายุ 2-3 เดือน ในช่วงอายุ 9-10 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลแบบ Bivariate trait analysis เพื่อพิจารณาค่าอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม ค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักและความยาวปลาที่อายุ 9 – 10 เดือน ในระบบโอฟลอคมีค่าเท่ากับ 0.56 ± 0.10 และ 0.55 ± 0.10 ตามลำดับ ในบ่อดินมีค่าเท่ากับ 0.32 ± 0.09 และ 0.41 ± 0.10 ตามลำดับ พบว่าในระบบไบโอฟลอค มีค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักและความยาวสูงกว่าบ่อดิน ในขณะที่ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม (Genotypic Correlation) ของน้ำหนัก และความยาวของปลานิลที่เลี้ยงในระบบไบโอฟลอคและบ่อดิน มีค่าเท่ากับ 0.92 และ 0.94 ตามลำดับ ซึ่งแสดงว่าไม่มีปฏิกิริยาร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม การประเมินผลตอบสนองต่อการคัดเลือกปลานิลเมื่อได้ทำการคัดเลือกได้ 1 รุ่น จากผลต่างของค่าเฉลี่ย least square mean ของน้ำหนักตัวปลานิลกลุ่มคัดเลือกกับค่าเฉลี่ย least square mean ของน้ำหนักตัวปลานิลกลุ่มควบคุม ที่อายุ 2 – 3 เดือน มีค่าเท่ากับ 0.98 กรัม/รุ่น หรือคิดเป็น 11.78 % ผลตอบสนองต่อการคัดเลือกของน้ำหนักและความยาว ที่อายุ 9 – 10 เดือน มีค่าเท่ากับ 15.68 กรัม/รุ่น หรือคิดเป็น 15.34 % ความยาว มีค่าเท่ากับ 10.21 เซนติเมตร/รุ่น หรือคิดเป็น 5.43 % ซึ่งมีความก้าวหน้าในระดับค่อนข้างดี แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้วิธีการคัดเลือกจากค่าคุณค่าการผสมพันธุ์ในการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลอินทรีย์ได้
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2090
Appears in Collections:Fisheries Technology and Aquatic Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210301001.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.