Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2076
Title: a comparison of perceived organizational effectiveness between chinese and thai rural enterprises
Other Titles: การเปรียบเทียบการรับรู้ถึงประสิทธิผลขององค์กรระหว่างธุรกิจชนบทจีนและไทย
Authors: zhang-man, จาง ม่าน
Keywords: การพัฒนาเศรษฐกิจ
ชนบท
Issue Date: 1999
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: ผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของผลิตผลจากชนบท และจากการที่เกิดแรงงานส่วนเกินในชนบท ทำให้ครัวเรือนทั้งในระดับหมู่บ้านและระดับเมืองได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าขาย หรือมีอาชีพเฉพาะด้านอย่างใดอย่างหนึ่งเพิ่มขั้นเรื่อยๆ ในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมจากระดับครัวเรือน ไปสู่อุตสาหกรรมขนาคกลางและขนาคใหญ่ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจจากการพึ่งพิงทรัพยากรตามธรรมชาติไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพิงผลิตผลจากชาวชนบท ทำให้กิจการธุรกิจในระดับหมู่บ้านและระดับเมือง มีบทบาทอันสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นการพัฒนากิจการธุรกิจในชนบทเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่ง ในการพัฒนาเศรษฐกิจและเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้แก่ชาวชนบท เป็นผลพวงโดยตรงจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในชนบทแนวความคิดดังกล่าวนี้ ได้ทรีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ในบริษัทของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายในฐานะที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบทในศตวรรษใหม่นี้ด้วยเช่นกัน ประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาในขณะนี้ก็คือ ประเด็นการปรับตัวของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ซึ่งมีบริษัทที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศจะสามารถพัฒนาองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมได้อย่างไร การศึกษานี้จึงมุ่งที่การค้นหาความแตกต่าง ระหว่างธุรกิจชนบทในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ในแง่ของประสิทธิผลขององค์กรการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปรจักษ์ โดยใช้ตัวแบบที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีองค์กรต่างๆ เป็นหลักในการประเมินคุณลักษณะหรือข้อพิจารณาที่แตกต่างกันในการจัดการองค์กรธุรกิจชนบทให้เกิดประสิทธิผลระหว่างประเทศทั้งสองการเปรียบเทียบได้จัดทำขึ้นใน 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินการขององค์กร การวิเคราะห์องค์ประกอบของงานและการวิเคราะห์โครงสร้างองค์กรผลจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่าธุรกิจชนบทในประเทศไทยและจีนมีความแตกต่างกันในด้านรูปแบบการเป็นเจ้าของกิจการ โครงสร้างองค์กร รูปแบบภาวะผู้นำระบบการกระจายสินค้าระบบการจูงใจ และทัตนคติต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นต้นผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่า กลไกการดำเนินงานและพฤติกรรมในองค์กรที่ดีคือเงื่อนไขสู่ความมีประสิทธิผลในธุรกิจชนบทไทย ในขณะที่ธุรกิจชนบทจีนมีปัญหาในปัจจัยดังกล่าวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการให้เกิดประสิทธิผล ผลสรุปที่ได้จากการศึกษานี้อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้วางนโยบายในระดับองค์กรและจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้บริหารธุรกิจชนบทในประเทศจีนในการที่จะใช้เป็นแนวทางในการวางนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2076
Appears in Collections:Business Agriculture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
zhang-man.PDF2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.