Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2059
Title: ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของอาจารย์ ข้าราชการและลูกจ้าง สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
Other Titles: Socio-economic study of maejo instute of agricultural technology staffs
Authors: ประสาร วงศ์มณีรุ่ง และกาญจนา โชคถาวร
Keywords: รายได้ครัวเรือน
การจัดสวัสดิการ
เชียงใหม่
ภาวะสังคม
Issue Date: 25-Jan-1997
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การศึกษาภาวะเศรษฐกิจและสังคมของอาจารย์ ข้าราชการและลูกจ้าง สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับรายได้ของครัวเรือน รายจ่ายของครัวเรือน ลักษณะที่อยู่อาศัยและสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนความต้องการสวัสดิการ ด้านต่าง ๆ และทัศนคติที่มีต่อสวัสดิการที่ได้รับในปี พ.ศ. 2532 โดยได้ส่งแบบสอบถามให้บุคลากรในสถาบันฯ กรอกรายละเอียดและได้รับแบบสอบถามคืนกลับมาจำนวน 288 ชุด ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สมรสแล้ว โดยมีบุตรจำนวน 2 คน และรับภาระด้านการศึกษาของบุตรอย่างน้อย 1 คน สมาชิกในแต่ละครัวเรือนโดยเฉลี่ยจะมีประมาณ 3.3 คน และมีจำนวนผู้ที่มีรายได้จากการทำงานโดยเฉลี่ยประมาณ 2.1 คนต่อครัวเรือน ในด้านค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นโดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 6,654 บาท โดยส่วนใหญ่ใช้จ่ายเป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่รวมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาสูบ) ประมาณเดือนละ 2,581 บาท หรือร้อยละ 38.8 ของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น รองลงมาได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าพาหนะเดินทางประมาณเดือนละ 661 บาท หรือร้อยละ 10.0 ค่าใช้จ่ายที่สำคัญอันดับต่อมาก็คือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา การอ่าน และการบันเทิง ประมาณเดือนละ 640 หรือร้อยละ 9.6 มีเพียง ประมาณร้อยละ 2.8 เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาสูบ ครัวเรือนมีรายได้โดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 7,976 บาทต่อครัวเรือน รายได้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 86.2 มาจากค่าแรงและเงินเดือน รองลงมาได้แก่รายได้จากการประกอบธุรกิจส่วนตัวประมาณ 7.1 และรายได้จากการประกอบการเกษตรประมาณร้อยละ 2.9 ที่เหลือร้อยละ 3.8 เป็นรายได้จากแหล่งอื่น ๆ เมื่อพิจารณารายได้ของครัวเรือนตามสถานภาพการทำงาน พบว่า ร้อยละ 76.9 ของครัวเรือนลูกจ้างประจำและชั่วคราวมีรายได้ต่ำกว่า 6,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 73.4 ของครัวเรือนข้าราชการมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน และร้อยละ 40 ของครัวเรือนอาจารย์มีรายได้ต่ำกว่า 14,000 บาทต่อครัวเรือน หากเปรียบเทียบรายได้กับรายจ่ายของครัวเรือนแล้ว พบว่า มีครัวเรือนที่มีรายได้น้อยกว่าหรือพอ ๆ กับรายจ่ายถึงร้อยละ 61.1 ครัวเรือนเหล่านี้แก้ไขปัญหาในกรณีของเงินขาดมือโดยวิธีกู้ยืมจากบุคคลหรือแหล่งอื่นภายนอกครัวเรือนมากที่สุด รองลงมาคือสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงใหม่ ส่วนผู้ที่มีรายได้มากกว่ารายจ่ายซึ่งมีไม่มาก จะมีการนำเงินที่เหลือไปเก็บออมไว้ที่ธนาคารพาณิชย์และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงใหม่ตามลำดับ ลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในบ้านโดด โดยจะเป็นทั้งเจ้าของบ้านและที่ดินที่ตนอาศัยอยู่ รองลงมาอาศัยอยู่บ้านพักข้าราชการและพบว่าครัวเรือนของอาจารย์มีเครื่องอำนวยความสะดวกในครัวเรือนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ครัวเรือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำ โดยที่ครัวเรือนของลูกจ้างชั่วคราวจะมีน้อย ที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่าบุคลากรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 66.0 ยังคงไม่ได้รับสวัสดิการที่สถาบันฯ ได้จัดขึ้นสำหรับผู้ที่ได้รับสวัสดิการที่สถาบันฯ จัดขึ้นมีความเห็นว่าสวัสดิการที่ได้รับอยู่ยังไม่เพียงพอมีถึงร้อยละ 63.5 ข้อเสนอที่บุคลากรส่วนใหญ่ต้องการให้สถาบันฯ จัดเพิ่มเติมได้แก่ ด้านการเงินโดยการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้และให้บริการเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ รองลงมาได้แก่ การจัดบริการด้านสุขาภิบาลต่าง ๆอาทิเช่น ไฟฟ้า ประปา และการกำจัดขยะมูลฝอย และในเรื่องของการจัดสวัสดิการบ้านพักอาศัย ตลอดจนการจัดตั้งสถานพยาบาลที่มีแพทย์และพยาบาลประจำทุกวัน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2059
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RM-2566-0004-348525.PDF2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.