Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2041
Title: ความสามารถในการปฏิบัติงานส่งเสริมของพนักงานโรงงานยาสูบ ในทรรศนะของผู้ปลูกยาสูบในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Extension competency of tobacco monopoly workers in opinions of tobacco growers in amphur Maerim, changwat Chiangmai
Authors: รณกร ลือราช
Keywords: การส่งเสริมการเกษตร
โรงงานยาสูบ
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบถึง 1) สถานะภาพเศรษฐกิจ สังคมของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ 2) ความเห็นของเกษตรกรเหล่านี้ ต่อการทำงานของพนักงานส่งเสริมการผลิตยาสูบของโรงงานยาสูบในการเผยแพร่วิชาการ ในการช่วยแก้ปัญหา ในการจัดหาปัจจัยการผลิตตลอดจนในการแนะนำช่วยหาข่าวสารข้อมูลจากสื่อต่างๆ และ 3) รวบรวมปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างสุมผู้ปลูกยาสูบจำนวน 70 คนจากผู้ปลูกยาสูบ 140รายในอำเภอแม่ริม ผลการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลเป็นชายร้อยละ 65.57 เป็นหญิงร้อยละ 31.43 มีอายุมากที่สุด 86 ปี อายุน้อยที่สุด 29 ปี และมีอายุเฉลี่ย 48 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 45.71 และจบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 2.86 โดยมากมีที่ดินเพื่อเพาะปลูกยาสูบเป็นของตนเองเฉลี่ยรายละ 11 ไร่ ผู้มีน้อยสุดมี 2 ไร่ ผู้มีมากที่สุดมี 24 ไร่เกษตรกรมีรายได้ เฉลี่ย 169,987 บาทต่อปี ผู้มีรายได้ต่ำสุด10,000 บาท มีการรายได้สูงสุด460,000 บาท จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 2 คน ที่มีน้อยที่สุดคือ 1 คน มากที่สุด 7 คนเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบมีทรรศนะว่าพนักงานส่งเสริมเผยแพร่มีความสามารถในการปฏิบัติงานส่งเลริมทั้ง 4 ด้าน 1) ถ่ายทอดความรู้ 2) การแก้ไขปัญหา 3) จัดหาปัจจัยการผลิต และ4) ช่วยแนะนำจัดหาข้อมูลข่าวสารวิชาการและธุรกิจ อยู่ในช่วงปานกลางสำหรับปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะจากเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบนั้น พอสรุปได้ว่า ยังมีช่วงขีดความสามารถในการเผยแพร่ช่วยเหลือให้เกษตรกรเพิ่มขีดความสามารถจากที่พวกเขาให้ทรรศนะว่าพอใช้ หรือปานกลางได้อีกโดยศึกษาวิธี "สอน สาธิต" ต่างๆ ว่าเกษตรกรชอบอะไรอย่างใดปัญหาเรื่องหนึ่งอาจหาวิธีแก้ได้หลายวิธี ทั้งสองฝ่ายคือผู้ถ่ายทอด-สอนกับผู้มีปัญหาความต้องการปรึกษาหารือเลือกเอาวิธีได้ ที่คาดว่าจะได้ผลดี อาจใช้มากกว่า 1 วิธี ก็ได้บรรยากาศมิตรภาพ เห็นอกเห็นใจทนต่อความยากลำบากของฝ่ายพนักงานเป็นสิ่งที่สำคัญคู่ไปกับวิชาการที่ถ่ายทอดผู้ให้ข้อมูลระบุความคาดหวังว่าอยากให้พนักงานเหล่านี้ช่วยเกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถดำเนินกิจการตามเทคนโลยีและธุรกิจ ได้ดำเนินอาชีพผลิตยาสูบอย่างมีความก้าวหน้ามั่นคง
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2041
Appears in Collections:Business Agriculture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ronakorn-lueraj.PDF1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.