Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2037
Title: | เจตคติของครูที่ปรึกษา สมาชิก และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมชุมนุมเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย(ช.ก.ท)ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | The attitudes of advisors, members and their parents towards the activities of the future farmers of Thailand (F.F.T.) in secondary schools, Chiang-Mai, Thailand |
Authors: | มนตรี อุตมะ |
Keywords: | สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ วิทยานิพนธ์ ทัศนคติ |
Issue Date: | 1988 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การศึกษาเจตคดิของครูที่ปรึกษา สมาชิก และผู้ปกครองของสมาชิกที่มีต่อการจัดกิจกรรมชุมนุมเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย (ช.ก.ท.) ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้ ได้ศึกษาใน 12 โรงเรียนที่มีสภาพใกล้เคียงกัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทราบถึง ( 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคมและจิตวิทยาของครูเกษตรที่เป็นที่ปรึกษา นักเรียนที่เป็นสมาชิก และผู้ปกครองของสมาชิกชุมนุมเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย (2) เจตคติของครูที่ปรึกษา นักเรียนที่เป็นสมาธิก และผู้ปกครองของสมาชิกที่มีต่อการจัดกิจกรรมชุมนุมกษตรกรในอนาคตแห่งประ เทศไทย (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแตกต่างในเจตคติของนักเรียนที่เป็นสมาชิกชุมนุมเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย (4) ความสอดคล้องของเจตคติ ของครูที่ปริกษา นักเรียนที่เป็นสมาชิก และผู้ปกครองของสมาชิกชุมนุมเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในการรวบรวมข้อมูลนั้นได้ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่มจำนวน 330 คน โดยมาจากครูที่ปริกษา 64 คน นักเรียนที่เป็นสมาชิก 133 คน และผู้ปกครองของสมาชิก 133 คน ข้อมูลที่ศึกษาได้นำมาวิเคราะห์โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป SPSS จากการศึกษาได้ผลพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ครูที่ปริกษา สมาชิก และผู้ปกครองของสมาชิกมีสถานภาพส่วนบุคคลแดกต่างกันกล่าวคือ ครูที่ปรึกษามีอายุเฉลี่ย 33 ปี สมาชิกมีอายุเฉลี่ย 16 ปี และผู้ปกครองของสมาชิก มีอายุเฉลี่ย 42 ปี ผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่ม ส่วนมาก (72.50 เปอร์เซนต์) เป็นเพศชาย สำหรับระดับการศึกษาพบว่าครูที่ปรึกษามีการศึกษาเฉลี่ย 17 ปี ซึ่งอยู่ในระดับปริญญาตรี สมาชิกมีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมีธยมศึกษาและผู้ปกครองของสมาชิกมีการศึกษาเฉลี่ย 6 ปี ซึ่งอยู่ในระดับประถมศึกษา 2. ผู้ปกครองของสมาชิกมีสถานภาพด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับดี กล่าวคือ มีบ้านสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง มีกระเบื้องเป็นวัสดุมุงหลังคาลักษนะ เป็นบ้านชั้นเดียว มีห้องใช้สอยโดยเฉลี่ย2 ห้อง บ้านมีสภาพที่แข็งแรงปานกลาง ทุกครอบครัวมีไพฟ้าใช้ สำหรับเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกภายในบ้าน พบว่า ส่วนมากมีพัดลม วิทยุ โทรทัศน์ และจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทาง สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษดรนั้นส่วนมากรายงานว่ามีเครื่องพ่นยา ส่วนการถือครองที่ดินนั้น ส่วนมากรายงานว่ามีที่ดิน เป็นของตนเ อง แต่เป็นขนาดเล็กคือน้อยกว่า 10 ไร่ 3. สมาชิก ธ.ก.ท. มากกว่าครึ่งหนึ่ง (52.63 เปอร์เซนต์) รายงานว่า มีส่วนร่วมในกิจกรรมในระดับสูง กล่าวคือ มีการทำโครงการ เกษตรภายใต้การนิเทศ มีการปฏิบัติงานร่วมกันได้มีการให้บริการชุมชน สมาชิกสามารถหารายได้ด้วยตน เ อง และมีการออมทรัพย์ตลอดทั้งมีการส่ง เสริมการศึกษา เพื่อเพื่มพูนความรู้และประสบการณ์แก่สมาชิก นอกจากนั้นยังมีการประชาสัมพันธ์งานของชุมนุมให้บุคคลอื่น ได้ทราบ สมาชิกมีการจัดกิจกรรมนันทนาการร่วมกันอย่างไรก็ตาม ก็มีบางกิจกรรมที่สมาชิกได้มีส่วนร่ วมในระดับน้อย คือกิจกรรมการฝึกลักษณะการเป็นผู้นำและกิจกรรมการเข้าร่วมงาน ช. ก.ท. ในระดับต่าง ๆ จากการศึกษาได้ผลพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ครูที่ปริกษาสมาชิก และผู้ปกครองของสมาชิกมีสถานภาพส่วนบุคคลแดกต่างกันกล่าวคือ ครูที่ปรึกษามีอายุเฉลี่ย 33 ปี สมาชิกมีอายุเฉลี่ย 16 ปี และผู้ปกครองของสมาชิก มีอายุเฉลี่ย 42 ปี ผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่ม ส่วนมาก (72.50 เปอร์เซนต์) เป็นเนศชาย สำหรับ ระดับการศึกษาพบว่าครูที่ปรึกษามีการศึกษาเฉลี่ย 17 ปี ซึ่งอยู่ในระดับปริญญาตรี สมาชิกมีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมีธยมศึกษาและผู้ปกครองของสมาชิกมีการศึกษาเฉลี่ย 6 ปี ซึ่งอยู่ในระดับประถมศึกษา 2. ผู้ปกครองของสมาชิกมีสถานภาพด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับดี กล่าวคือ มีบ้านสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง มีกระเบื้องเป็นวัสดุมุงหลังคา ลักษนะเป็นบ้านชั้นเดียว มีห้องใช้สอยโดยเฉลี่ย2 ห้อง บ้านมีสภาพที่แข็งแรงปานกลาง ทุกครอบครัวมีไพฟ้าใช้ สำหรับเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกภายในบ้าน พบว่า ส่วนมากมีพัดลม วิทยุ โทรทัศน์ และจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทาง สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษดรนั้นส่วนมากรายงานว่ามีเครื่องพ่นยา ส่วนการถือครองที่ดินนั้น ส่วนมากรายงานว่ามีที่ดิน เป็นของตนเ อง แต่เป็นขนาดเล็กคือน้อยกว่า 10 ไร่ 3. สมาชิก ธ.ก.ท. มากกว่าครึ่งหนึ่ง (52.63 เปอร์เซนต์) รายงานว่า มีส่วนร่วมในกิจกรรมในระดับสูง กล่าวคือ มีการทำโครงการ เกษตรภายใต้การนิเทศ มีการปฏิบัติงานร่วมกัน ได้มีการให้บริการชุมชน สมาชิกสามารถหารายได้ด้วยตน เ อง และมีการออมทรัพย์ตลอดทั้งมีการส่ง เสริมการศึกษา เพื่อเพื่มพูนความรู้และประสบการณ์แก่สมาชิก นอกจากนั้นยังมีการประชาสัมพันธ์งานของชุมนุมให้บุคคลอื่น ได้ทราบ สมาชิกมีการจัดกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ก็มีบางกิจกรรมที่สมาชิกได้มีส่วนร่ วมในระดับน้อย คือกิจกรรมการฝึกลักษณะการเป็นผู้นำและกิจกรรมการเข้าร่วมงาน ช. ก.ท. ในระดับต่าง ๆ (13) 4. ในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ในกิจกรรม ช.ก.ท. นั้น จากผลการศึกษาพบว่า ครูที่ปริกษา สมาชิก และผู้ปกครองธองสมาชิกมีการรับรู้ในกิจกรรม ช. ก.ท. ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครูที่ปรึกษามีคะแนนค่าเฉลี่ยการรับรู้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของ ช.ก.ท. เท่ากับ 2.29 สมาชิกมีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.48 และผู้ปกครองของสมาชิกมีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.50 แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่ม มีการรับรู้ในกิจกรรมอยู่ในระดับดี 5. สมาชิก ช. ก.ท. มีความมุ่งหวังในชีวิตในระดับสูงมาก โดยมีคะแนนค่าเฉลี่ยรวมของความมุ่งหวังในชีวิต เท่ากับ 3. 36 ซึ่งหมายความว่าสมาชิก ช. ก.ท. ยังมีความต้องการสิ่งต่าง ๆ ที่จะทำให้ชีวิตในครอบครัวมีความสุขอัน เป็นสิ่งที่สมาชิกทุกคนปรารถาสูงสุด 6. สมาชิก ช. ก.ท. มีการคล้อยตามบรรทัดฐานของกลุ่มในระดับสูง โดยมีคะแนนคำเฉลี่ยของการคล้อยตามบรรทัดฐานของกลุ่มเท่ากับ .74 7. ครูที่ปรึกษา สมาชิก และผู้ปกครองของสมาชิกมีเจตคติต่อการจัดกิจกรรม ช.ก.ท ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ครูที่ปริกษามีคะแนนค่าเฉลี่ยของเจตคติ เท่ากับ 2.79 สมาชิก ช. ก. ท. มีคะแนนค่าเฉลี่ยของเจตคติ เท่ากับ 2.80 และผู้ปกครองของสมาชิกมีคะแนนค่าเฉลี่ยของเจตคติ เท่ากับ 2.84 ซึ่งหมายความว่าผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่มเจตคติที่สอดคล้องกัน 8. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดความแตกต่างในเจตคติของสมาชิก ช.ก.ท. พบว่าค่าแปรอิสระ 3 ตัวแปรในจำนวนตัวแปรอิสระ 7 ตัวแปร มีอิทธิพลต่อการเกิดในเจตคติของสมาชิกคือ การรับรู้ในกิจกรรม (T-value = -4.05 : R.01) การมีส่วนร่วมในกิจกรรม (F-value = 3.8873 : P).05) และความมุ่งหวังในชีวิต (F-value 8. 9525 : P(.01) ซึ่งหมายความว่าระดับการรับรู้ในกิจกรรม, ระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและระดับความมุ่งหวังในชีวิตที่ต่างกันทำให้สมาชิกมีเจตคติต่อการจัดกิจกรรม ช.ก.ท.แตกต่างกันไปด้วย |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2037 |
Appears in Collections: | Business Agriculture Business Agriculture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
montree-utama.PDF | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.