Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2033
Title: | ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ร่วมกับปุ๋ยเคมีในนาข้าวในโครงการเร่งรัดการปรับปรุงบำรุงดินของจังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Farmers' opinions on the results of the use of Bio-fertilizer (blue-green algae) and chemical fertilizer in paddy fields under the accelerated soil improvement project, Phayao province, Thailand |
Authors: | ถนอม สุริยะ |
Keywords: | วิทยานิพนธ์ ปุ๋ยชีวภาพ ดิน พะเยา |
Issue Date: | 1997 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวร่วมกับปัยเคมีในนาข้าว 2) ความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการที่มีต่อผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวร่วมกับปุ๋ยเคมีในนาข้าว 3) ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่ง เสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำ เงินแกมเขียวร่วมกับปุ๋ยเคมีในนาข้าว ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้คือ เกษตรกรเป้าหมายของโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวร่วมกับปุ๋ยเคมีในนาข้าว ภายใต้โครงการเร่งรัดการปรับปรุงบำรุงดินของจังหวัดพะเยา จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามเพื่อการสัมภาณ์ โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 2540 ข้อมูลที่ได้นำมาถอดรหัสและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลเกือทั้งหมดเป็นชาย มีอายุโดยเฉลี่ย 48 ปี และส่วนมากสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนสมาชิกที่อาศัยในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คนและมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยที่สามารถทำงานทางการเกษตรได้ 3 คน พื้นที่การทำนา เฉลี่ยครอบครัวละ 16 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่มีที่นาเป็นของตนเอง และผู้ให้ข้อมูลเ กือบทั้งหมดได้ใช้พื้นที่นาเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเชียวร่วมกับปุ๋ยเคมีในนาข้าว ครอบครัวละ 5 ไร่ พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ กข.6 และยังพบว่าผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตรผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดรับรู้ข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรสำหรับแหล่งน้ำที่ใช้ในการทำนาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนและน้ำชลประทานผลการวิจัย พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหกู่แสดงความเห็นต่อผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวร่วมกับปุ๋ยเคมีในนาข้าวว่าได้ผลดีมีประโยชน์ ทั้ง 4 ด้านซึ่งได้แก่ 1) ด้านความรู้และการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำ เงินแกมเชียวร่วมกับปุ๋ยเคมีในนาข้าวที่ได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการ เกษตร 2)ด้านการใช้และปฏิบัติของ เกษตรกรผู้ร่วมโครงการเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีในนาข้าว ซึ่งเชื้อสาหร่ายสามารถเจริญได้ดีโดยเกิดการ เปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนต่าง ๆ หลังจากได้หว่านลงในแปลงนาช้าว2-4 สัปดาห์ 3) ด้านการตอบสนองของข้าวหลังจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเชียวร่วมกับปุ๋ยเคมี เช่น การเจริญเติบโตของต้นข้าว การเพื่มผลผลิตของข้าวดลอดจนคุณภาพข องผลผลิต 4) ด้านคุณสมบัติของการปรับปรุงบำรุงดิน พบว่าทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เช่น สามารถเพิ่มธาดอาหารให้แก่ดิน และส่งผลให้ดินมีการอุ้มน้ำได้ดี ดินร่วนซุยง่ายต่อการไถพรวนทำให้ปุ๋ยเคมีที่ใช้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยรักษาสภานความเป็นกรดเป็นต่างของดิน เป็นต้นแต่อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ามีผู้ให้ข้อมูลบางส่วนได้ให้ความเห็นว่าผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเอียวร่วมกับปุ๋ยเคมีในนาข้าวระบุว่า ไม่ได้ผลดีมีประโยชน์ เช่น (1) การถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร (2) การเจริญของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเชียวในแปลงนาข้าว ซึ่งสังเกตได้ด้วยตาจากการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนต่าง ของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเชียวหลังจากหว่านลงในแปลงนาข้าว 2-4 สัปดาห์ (3) ในด้านการตอบสนองที่มีต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวและการเพิ่มผลผลิตของข้าว (4) เกี่ยวกับผลทางด้านการปรับปรุงบำรุงดินหรือการปรับโครงสร้างของดิน ทั้งนี้เนื่องจากว่าหลังจากได้หว่านปุ๋ยชีวภาพประสบภัยธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วมไหลบ่าล้นคันนา พัดพาเชื้อสาหร่ายสูถหายไป บางแท่งเกิดฝนทิ้งช่วง ขาดน้ำซึ่งทำให้เชื้อสาหร่ายไม่สามารถเจริญได้ในด้านปัญหาและอุปสรรคของผู้ให้ช้อมูล พบว่ามีปัญหาในเรื่องปุ๋ยเคมีราคาแพงตลอดจนในเรื่องของภัยธรรมชาติ กล่าวคือหลังจากที่เกษตรกรได้หว่านปุ๋ยชีวภาพแล้วประสบภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม และนอกจากนี้ยังพบว่าปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวค่อนช้างจะขึ้นเกาะติดกัน เป็นก้อน ไม่สะดวกต่อการหว่านลงในแปลงนาข้าว" |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2033 |
Appears in Collections: | Business Agriculture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tanom-suriyha.PDF | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.