Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2023
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิรัตน์ ปุ่นอุดม-
dc.date.accessioned2024-02-07T03:33:42Z-
dc.date.available2024-02-07T03:33:42Z-
dc.date.issued1997-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2023-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พรรณาถึงลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจสังคมของข้าราชการครูวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง (2) ระบุความพึงพอใจและความคาดหวังของข้าราชการครู ที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เขตภาคกลาง (3) วิเคราะห์ความสอดคล้อง ระหว่างความพึงพอใจ และความคาดหวังของข้าราชการครูที่มีต่อการบริหารงาน ของผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง (4) ทราบถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการบริหารงานของผู้บริหาร ตามทรรศนะของข้าราชการครูวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เขตภาคกลาง ผู้ให้ข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้คือ ข้าราชการครูวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง จำนวน 168 คนซึ่งได้จากสุ่มตัวอย่างแบบคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เครื่องมือที่ ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้ไปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ผถการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีอายุเฉลี่ย 38 ปี ส่วนมากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และสมรสแล้ว มีรายได้เฉลี่ย 12,339 บาท ต่อเดือน มีอายุราชการเฉลี่ย 14 ปี และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตภาคกลาง ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้าราชการระดับ 6 เคยมีประสบการณ์การฝึกอบรม โดยมีจำนวนครั้งที่ฝึกอบรมเฉลี่ย 1 ครั้ง ต่อปี และมีการติดต่อกับผู้บริหาร โดยมีการติดต่อในรอบ 6 เดือน เฉลี่ย 4 ครั้งความพึงพอใจของผู้ให้ข้อมูลที่มีต่อการบริหารงาน ของผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทคโน โลยีในเขตภาคกลาง ผลการวิจัยพบว่าผู้ให้ข้อมูลไม่มีความพึงพอใจในการบริหารงาน ของผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโถยี แต่ไม่มีความพึงพอใจในระดับน้อยเท่านั้นจำนวน 6 ด้าน ซึ่งได้แก่ การการวางแผน การจัดคนเข้าทำงาน การควบคุมงาน การมอบหมายงาน การนิเทศงาน และการประเมินผล ส่วนการบริหารงานค้านการประสานงาน การจัดงบประมาณนั้น ผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจ แต่พบว่าเป็นความพึงพอใจในระดับน้อยเท่านั้นความคาดหวังของผู้ให้ข้อมูล ที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาดกลาง ผลการวิจัยพบว่าผู้ให้ข้อมูลมีความคาดหวังในการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทกโนโลยี ในระดับน้อย ทั้ง 8 ด้าน ของการบริหารงานการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างความพึงพอใจ และความคาดหวังของผู้ให้ข้อมูลที่มีต่อการบริหารงาน ของผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทดโนโลยี ในเขตภาคกลางผลการวิจัยพบว่าผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจ ที่แตกต่างไปจากความคาดหวัง ทั้ง 8 ด้าน ของการบริหารงานอย่างมีนัยสำคัญสำหรับข้อเสนอแนะในการปรับปรุง การบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในเขตภาคกลาง ผลการวิจัยพบว่าผู้ให้ข้อมูลได้ระบุข้อเสนอแนะในการบริหารงานทั้ง 8 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านการวางแผน ผู้บริหารควรเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ในการวางแผนมีการปรับแผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน (2) ด้านการจัดคนเข้าทำงาน ผู้บริหารควรจัดคน ให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ พร้อมที่จะปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้น ๆ (3) ด้านการควบคุมงาน ผู้บริหารควรมีการควบคุมงานอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง (4) ด้านการมอบหมายงาน ผู้บริหารควรมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และประสบการณ์(5) ด้านการประสานงาน ผู้บริหารควรเป็นตัวเชื่อมที่ดีในการทำงาน (6) ด้านการนิเทศงานผู้บริหารควรมีการนิเทศงานมากกว่านี้ (1) ด้านการจัดงบประมาณผู้บริหารควรจัดงบประมาณให้เพียงพอและเหมาะสมกับภาระงาน (8) ด้านการประเมินผล ผู้บริหารควรมีเกณฑ์ในการประเมินผลเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.subjectการศึกษาทางอาชีพen_US
dc.subjectการบริหารen_US
dc.subjectเกษตรกรรมen_US
dc.subjectการศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectการศึกษาทางอาชีพen_US
dc.subjectไทย (ภาคกลาง)en_US
dc.titleความพึงพอใจและความคาดหวังของข้าราชครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหาร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลางen_US
dc.title.alternativeTeachers' satisfaction and expectation of managent by durectors of agricultural and technological colleges in central regionen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:BA-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wirat-poon-udom.PDF3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.