Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1932
Title: INFLUENCE OF FOREST EDGE AFFECTED ON SPECIES DIVERSITY OF BIRDS IN SONG KWAE NON-HUNTING AREA, PHISANULOK PROVINCE
อิทธิพลของพื้นที่ชายป่าต่อความหลากชนิดของนกในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าสองแคว จังหวัดพิษณุโลก
Authors: Suppalert Panpoompo
ศุภเลิศ ปั้นพุ่มโพธิ์
Lamthai Asanog
แหลมไทย อาษานอก
Maejo University
Lamthai Asanog
แหลมไทย อาษานอก
lamthai@mju.ac.th
lamthai@mju.ac.th
Keywords: สังคมนก
ลักษณะถิ่นอาศัย
การจัดการสัตว์ป่า
การจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์
Bird communities
Wildlife management
Protected area management
Habitat
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: The variety of bird species in protected forest areas can serve as a crucial measure for managing biodiversity impacted by human activities. This study aims to assess bird diversity in the forest edge of the Song Kwae Non-Hunting area, which is connected to agricultural regions. By comparing bird communities in the forest edge, inner forest, and agricultural areas and considering plant communities' characteristics, researchers aim to gain valuable insights. These findings will enhance the management of bird communities and their habitats along the Song Kwae Non-Hunting area's forest edge which making the conservation efforts more effective. The surveys was carried out along 4 continuous lines, 1,500 meters for each line, passing through agricultural areas, forest edge, and forest area. Each section of the line covered 500 meters of each area types. Point count method was performed with interval of 150 meter between each survey point (total of 11 survey points for each survey line). Data were collected monthly from December 2021 to November 2022 (total of 12 months). Plant community data were collected at each bird survey point using 10-meter plots. The purpose was to analyze the diversity of bird species and their relationship with the characteristics of the plant community. One hundred and twenty species of birds in 52 genera, and 15 families were recorded. Shannon-Weiner index, Simpson's index, and evenness index are shown 3.083±0.04, 0.087±0.13 and 0.867±0.007, respectively. Number of species on conservation status of Thai Protected species, CITES Appendices, IUCN Red Data List and Thai Red List (ONEP) were 117, 15, 120, and 119 species, respectively. For relative abundance, we found that the medium abundant species were 9 species such as Megalaima lineata, Streptopelia chinensis while uncommon and rare species were 19 and 92 species, respectively. The cluster analysis divided birds into 3 sub-communities; the agricultural area, found to be independent of the plant community (such as Prinia hodgsonii and Acridotheres grandis), the forest edge area which related to the cross-sectional area and the density of the trees (such as Coracina polioptera and Sitta frontalis), and the forest area-which related with the size of the crown cover (such as Cyornis banyumas and Zoothera citrina).
ความหลากหลายของสังคมนกสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และถิ่นอาศัยที่เกิดจากการรบกวนของมนุษย์ ดังนั้น จึงได้ศึกษาความหลากชนิดนกในพื้นที่ชายป่าบริเวณแนวเขตของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าสองแคว ที่ติดต่อกับพื้นที่เกษตรกรรม โดยมุ่งเน้นไปที่การเปรียบเทียบสังคมนกในพื้นที่ชายป่า พื้นที่ป่าธรรมชาติ และพื้นที่เกษตรกรรม พร้อมทั้งใช้ลักษณะของสังคมพืชเป็นปัจจัยกำหนด ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา สามารถนำไปใช้วางแผนและกำหนดแนวทางการจัดการพื้นที่ชายป่าของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าสองแควให้เหมาะสม เพื่อให้การอนุรักษ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ โดยกำหนดแนวเส้นสำรวจระยะทาง 1,500 เมตร ทั้งหมด 4 เส้นทาง แต่ละเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ศึกษา 3 ประเภท ได้แก่ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชายป่า และพื้นที่ป่าธรรมชาติ ประเภทละ 500 เมตร สำรวจความหลากชนิดของนกด้วยวิธี point count บนแนวสำรวจดังกล่าว กำหนดให้แต่ละจุดสำรวจมีระยะห่างกัน 150 เมตร (11 จุดต่อแนวสำรวจ) ทำการสำรวจทุกเดือนตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 รวม 12 เดือน พร้อมกับเก็บข้อมูลสังคมพืช (10 x 10 เมตร) ในทุกจุดสำรวจ ทำการวิเคราะห์ความหลากชนิดนกและความสัมพันธ์กับลักษณะสังคมพืช พบว่า จำนวนชนิดของนกทั้งหมด 120 ชนิด ใน 52 วงศ์ 15 อันดับ มีค่า Shannon-Weiner’s index (H’), Simpson’s index (S) และค่าดัชนีความสม่ำเสมอ (J) ของพื้นที่ทั้งหมด เท่ากับ 3.083±0.04, 0.087±0.13 และ 0.867±0.007 ตามลำดับ นกที่มีระดับความชุกชุมปานกลาง 9 ชนิด เช่น นกโพระดกธรรมดา (Megalaima lineata) นกเขาใหญ่ (Streptopelia chinensis) และที่ระดับความชุกชุมน้อย ระดับความชุกชุมที่พบได้ยาก เท่ากับ 19 และ 92 ชนิด ตามลำดับ เป็นชนิดที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ชนิดในบัญชี CITES ชนิดในบัญชี IUCN และชนิดในบัญชีอ้างอิงของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เท่ากับ 117, 15, 120 และ 119 ชนิด ตามลำดับ หลังจากการจัดกลุ่ม สามารถแบ่งสังคมนกตามลักษณะพื้นที่ได้ 3 สังคมย่อย ได้แก่ 1) สังคมนกในพื้นที่เกษตรกรรม พบว่า มีความเป็นอิสระต่อสังคมพืช พบชนิดที่สำคัญ เช่น นกกระจิบหญ้าอกเทา (Prinia hodgsonii) และนกเอี้ยงหงอน (Acridotheres grandis) สังคมนกในพื้นที่ชายป่ามีความสัมพันธ์กับขนาดพื้นที่หน้าตัดและความหนาแน่นของหมู่ไม้ พบชนิดที่สำคัญ เช่น นกเฉี่ยวบุ้งกลาง (Coracina polioptera) และนกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ (Sitta frontalis) และสังคมนกในพื้นที่ป่าธรรมชาติมีความสัมพันธ์กับขนาดการปกคลุมของเรือนยอด พบชนิดที่สำคัญ เช่น นกจับแมลงคอน้ำตาลแดง (Cyornis banyumas) และนกเดินดงหัวสีส้ม (Zoothera citrina)
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1932
Appears in Collections:Maejo University - Phrae Campus

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6408301013.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.