Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1916
Title: | OPINION OF CORN SEED PRODUCTION PROJECT UNDER CONTRACT FARMING,PHRAO DISTRICT, CHIANGMAI PROVINCE, THAILAND ความคิดเห็นต่อต่อการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ในระบบเกษตรพันธสัญญา อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ |
Authors: | Chaianan Limpattanamongkol ชัยอนันต์ ลิ้มพัฒนมงคล Phahol Sakkatat พหล ศักดิ์คะทัศน์ Maejo University Phahol Sakkatat พหล ศักดิ์คะทัศน์ phahol@mju.ac.th phahol@mju.ac.th |
Keywords: | การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด เกษตรพันธสัญญา เกษตรกรอำเภอพร้าว maize seed contact farming Phrao Agriculture District Office |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | This study was conducted to investigate: 1) socio – economic attributes of farmers participating in maize seed production project; 2) opinion of the participation in maize seed production project under contract farming; 3) opinion of factors effecting the participation in maize seed production project under contract farming of the farmers; and 4) opinion of problems encountered in the participation in maize seed production project of the farmers. The sample group consisted of 169 maize farmers registered with Phrao Agriculture District office. A set questionnaires was used for data collection and analyzed by using descriptive statistics and linear multiple regression.
Results of the study revealed that most of the respondents were male, 61 years old on average, married, and uneducated (61.5%). They had 4 family members – 2 household workforce but most of them did not have hired workers. The respondents had 6.54 rai of agricultural land which 5.44 rai were their own land. They had an annual household income for 89,650.89 baht on average 67,757.40 baht was from the non – agricultural sector. The respondents attended training or joined educational trip once a year on average. More than one – half of them (54.4%) did not contact the agricultural extension worker. The respondents were members of the community network group and they had 3 channels of agricultural information perception on average. Most of the respondents perceived agricultural information though neighbors. As a whole, the respondents participated in the maize seed production project at a moderate level (X̅ =3.14). Based on its detail, the following participation were found at a moderate level: benefit sharing (X̅ =3.26), reliability (X̅ =3.17), environment (X̅ =3.15) and social recognition (X̅ =2.98) respectively. The 6 following independent variables had a positive effect on the project participation with a statistical significance level at 0.01: sex, age, marital status, a number of agricultural workforce and channel of information perception. However, educational attainment and agricultural capital were found to have a negative effect (Sig=0.01)
The following were problems encountered: returns or benefit sharing; lack of know ledge / understanding about maize seed production according to the criteria set by the company; emphasis on an amount of yields rather than quality; social recognition; inadequal company staff to thoroughly take maize farmers; misunderstanding of seed quality criteria which resulted in prejudice against the company; and use of chemicals as advised by the company was costly and unnecessary. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกร และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรต่อการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกร อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 169 คน ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอพร้าว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 61 ปี มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 68.0) ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา (ร้อยละ 61.5) มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน มีแรงงานในการทำเกษตรเฉลี่ย 2 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน ส่วนใหญ่ไม่มีแรงงานจ้าง มีพื้นที่ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 6.54 ไร่ มีพื้นที่ในการทำการเกษตรเป็นของตนเองเฉลี่ย 5.44 ไร่ ส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ในการทำการเกษตรเป็นพื้นที่เช่าและพื้นที่อื่น เกษตรกรมีรายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 89,650.89 บาท/ปี มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 67,757.40 บาท/ปี มีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 21,893.49 บาท/ปี มีเงินทุนที่ใช้ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 17,316.57 บาท/ปี มีหนี้สินเฉลี่ย 17,316.57 บาท/ปี เกษตรกรมีประสบการณ์อบรมและดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้ง/ปี ส่วนใหญ่ไม่มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้ความรู้ทางการเกษตร (ร้อยละ 54.4) เป็นสมาชิกกลุ่มหรือเครือข่ายในชุมชนเฉลี่ย 1 กลุ่ม มีช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 ช่องทาง ส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสารผ่านการพูดคุยหรือคำบอกเล่ากับเพื่อนบ้าน การเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกร อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญาในด้านผลตอบแทนอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.26) รองลงมา ด้านความน่าเชื่อถือในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.17) ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.15) และด้านการยอมรับของสังคมในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.98) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกร อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อผลต่อการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่ามีทั้งหมด 6 ตัวแปร โดยแบ่งออกเป็นตัวแปรที่มีผลทางบวก ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ จำนวนแรงงานในการทำเกษตร และช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ตัวแปรระดับการศึกษา และเงินทุนที่ใช้ในการทำการเกษตร มีความสัมพันธ์ทางสถิติในเชิงลบ โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรต่อการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญา พบว่า ด้านผลตอบแทน เกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดให้ได้ตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างเกษตรกรและตัวบริษัท รวมถึงตัวเกษตรกรมองเรื่องราคารับซื้อผลผลิตเป็นปัจจัยหลัก จึงเน้นการผลิตให้ได้ปริมาณของผลผลิต มากกว่าคุณภาพของผลผลิต ด้านการยอมรับของสังคม เจ้าหน้าที่ของบริษัท มีจำนวนน้อย ไม่พอเพียงที่จะเข้าไปดูแลแนะนำแก่เกษตรกรได้อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดความไม่เข้าใจในการควบคุมผลผลิตให้ได้ตามเกณฑ์ ทำให้เกษตรกรเกิดความรู้สึกต่อต้าน และไม่อยากเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญากับบริษัท ด้านความน่าเชื่อถือ จากเกษตรกรยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเกณฑ์คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ทำให้เกิดอคติกับบริษัท และทำให้เกษตรกรถอนตัวออกจากการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญา และด้านสิ่งแวดล้อม เกษตรกรมองว่าการใช้สารเคมีตามคำแนะนำของบริษัทมีค่าใช้จ่ายที่สูงและไม่มีความจำเป็น |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1916 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6101432001.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.