Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1886
Title: | ความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | working competency of agricultural extension officers in amphur sansai, changwat chiangmai |
Authors: | บังอร เมฆะ |
Keywords: | การส่งเสริมการเกษตร อำเภอลันทราย เศรษฐกิจและสังคม |
Issue Date: | 1998 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การวิจัยเรื่องความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในอำเภอลันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทราบถึงลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม ของผู้นำท้องถิ่น ในอำเภอสันทราย จังหวัดเขียงใหม่ ซึ่งได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต.) สมาชิกสภาตำบล (2) เพื่อทราบถึงความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในทรรศนะของผู้นำท้อง ถิ่น ในอำเภอสันทราย จังหวัดเขียงใหม่ และ (3) เพื่อรวบรวมปัญหา อุปสรรค ในอาชีพเกษตรกรรมของผู้นำท้องถิ่นและข้อเสนอแนะที่มีผลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร โดยผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านแพทย์ประจำตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต.) สมาซิกสภาตำบล ในอำเภอสันทราย จังหวัดเซียงใหม่ จำนวน 78 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ที่นำไปเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่าผู้นำท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นเทศขาย มีอายุเฉดีย 45 ปี มีการศึกระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักและค้าขายเป็นอาชีพรอง โดยมีรายได้จากภาคการเกษตร เฉดีย 71,096 บาทต่อปี และนอกภาคเกษตรกรรมเฉลี่ย 52,857 บาทต่อปี ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีสภาพการถือครองที่ดินเป็นของตนเอง และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน ซึ่งสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ผู้ให้ช้อมูลส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร ซึ่งได้แก่ กลุ่มธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี และส่วนใหญ่มีประสบการณ์การฝึกอบรมด้านการเกษตรจากเจ้าหน้าที่สงเสริมการเกษตร ผู้ให้ช้อมูลส่วนมากประสบกับปัญหาในการจำหน่ายผลิตผลเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านราคาผลผลิตตกต่ำสำหรับประเด็นทรรศนะของผู้นำท้องถิ่นโดยภาพรวมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามภารกิจของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในบทบาทการบริการส่งเสริมการเกษตรนั้นผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้แสดงบทบาทการคัดเลือก และใช้ประโยชน์จากเกษตรกรผู้นำมากที่สุดกล่าวคือ ผู้ให้ข้อมูลมีทรรศนะว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีความสามารถในการประชุมร่วมทำงานกับเกษตรกรผู้นำ และมีมนุษย์สัมพันธ์อันดีกับเกษตรกรทั่วไปมาคือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคทางการเกษตรแผนรองลงใหม่ โดยเฉพาะมีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้พันธุ์พืชใหม่ๆ ให้เกษตรกรเข้าใจ สำหรับบทบาทการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรนั้น ผู้ให้ข้อมูลมีทรรศนะต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรว่าเมื่อมีการประชุมกลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้ประชุมและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ให้แก่กลุ่มเกษตรกรได้ ส่วนบทบาทการขี้แนะให้เกษตรกรจัดหาและใช้ปัจจัยการผลิตอย่างถูกต้องเหมาะสมนั้น ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีความสามารถร่วมมือกับเกษตรกรป้องกันและกำจัดแมลงเพื่อลดการระบาดของโรคและแมลงในไร่นา และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรโดยผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีความรู้ความสามารถในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการ ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติได้ และบทบาทให้ข้อมูลข่าวสารการเกษตรและการตลาดแก่เกษตรกรนั้นผู้ให้ข้อมูลระบุว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีความรู้ความสามารถในการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรารให้สามารถเลือกระบบการผลิตที่มีรายได้สูง |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1886 |
Appears in Collections: |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
bung-on-maeka.pdf | 2.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.