Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1881
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorถาวร ธรรมตา-
dc.date.accessioned2023-12-04T01:52:52Z-
dc.date.available2023-12-04T01:52:52Z-
dc.date.issued2000-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1881-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต.) ในจังหวัดลำพูน 2) บทบาทการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ อ.บ.ต. 3) สภาพทั่วไปของ อ.บ.ต. 4) บทบาทการพัฒนาการเกษตรของอ.บ.ต. และ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการเกษตรของ อ.บ.ต. รวบรวมข้อมูลจากสมาชิกอ.บ.ต. จำนวน 298 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ systematic random sampling และจัดเก็บ ช้อมูลของสภาพทั่วไปของ อ.บ.ต. จากประธาน อ.บ.ต. ทั้งหมด 38 อ.บ.ต. จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS/PC) พร้อมทั้งนำเสนอในรูปแบบร้อยละ คำเฉลี่ย คำเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีอายุโดยเฉลี่ย 46 ปี ร้อยละ 48.60 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาขั้นบังคับเกือบทั้งหมด (98.32%) เป็นคนในพื้นที่ ร้อยละ 61.41 มีอาชีพหลักคือค้าขายและประกอบธุรกิจส่วนตัว และร้อยละ 56.7 1 มีอาชีพรองคือรับจ้าง โดยมีรายได้รวมเฉลี่ย 208,531 บาทต่อปี ส่วนมาก (96.98% และ 91.31%) มีรถจักรยานยนต์และรถยนต์ไว้ใช้เป็นยานพาหนะในการเดินทาง ร้อยละ 91.28 มีโทรศัพท์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ร้อยละ 60.40 เป็นสมาชิก อ. บ.ต. โดยตำแหน่ง มีประสบการณ์การฝึกอบรมเฉลี่ย 3-6 ครั้งต่อปีโดยทั้งหมด และเกือบทั้งหมด (100% และ 97.32%) เคยได้รับข่าวสารทางการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและโทรทัศน์ และอยละ 52.11 มีบทบาทการมีส่วนร่วมมากในการดำเนินงานของ อ.บ.ต. ส่วนสภาพทั่วไปของ อ.บ.ต. พบว่า โดยเฉลี่ยเป็นตำบลที่มีจำนวนหมูบ้านประมาณ 11 หมู่บ้าน มากกว่าครึ่ง (55.26%) มีพื้นที่ทั้งหมตไม่เกิน 40,000 ไร่ มีพื้นที่ทำการ 2,756 ไร่ มีครัวเรือนทั้งหมดโดยเฉลี่ย 2,060 ควเรือน โดยมีครัวเรือนเกษตรประมาณ 1,446 ครัวเรือน ร้อยละ 89.47 และ ร้อยละ 86.84 ใช้น้ำจากการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าและน้ำบาดาล มีเพียงร้อยละ 2.63 ที่สภาพเส้นทางคมนาคมเป็นถนนลูกรัง มีรายได้ โดยเฉลี่ย 2,837,653 บาทต่อปี อยละ 63.15 มีรายได้ไม่เกิน 2,500,000 บาทต่อปี โดยมีได้จากเงินภาษีบำรุงท้องที่เฉลี่ย 1,669,902 บาทต่อปี อ.บ.ต. ในจังหวัดลำพูนทั้งหมดอยู่ในระดับ 3-5 และร้อยละ 81.58 อยู่ในระดับ 5 อ.บ.ต. มีวงเงินงบประมาณเพื่อการพัฒนา ทั้งหมดโดยเฉลี่ย 2,209,105 บาท และร้อยละ 63.11 มีวงเงินงบประมาณไม่เกิน 2,000,000 บาท ซึ่ง อ.บ.ต. เกือบทั้งหมด (97.37%) ไม่ได้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางการเกษตร ส่วนการพัฒนาการผลิตทางการเกษตรมีเพียงร้อยละ 18.42 เท่านั้นที่มีการจัดสรรเงินงบประมาณเกินกว่า 300,000 บาท และ อ.บ.ต. ร้อยละ 55.26 ไม่ได้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อพัฒนาสถาบันกลุ่มทางการเกษตรปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการเกษตรในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก อ.บ.ต. กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ อ.บ.ต.พบว่า ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา อาชีพ รายได้ เครื่องมือสื่อสารและยานพาหนะและการเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิก อ.บ.ต. มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับบทบาทการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ อ.บ.ต. ส่วนอายุ ระยะเวลาที่อาศัยในตำบล การรับข่าวสารด้านการเกษตร และการฝึกอบรม ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพทั่วไปของ อ.บ.ต. กับบทบาทการพัฒนาการเกษตรของ อ.บ.ต. พบว่า จำนวนหมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด จำนวนครัวเรือนเกษตร รายได้ของ อ.บ.ต. และภาษีบำรุงท้องที่ของ อ.บ.ต. มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับบทบาทการพัฒนาการเกษตรของ อ.บ.ต. ส่วนพื้นที่ทำการเกษตร จำนวนครัวเรือนทั้งหมด เหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร และเส้นทางคมนาคม ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใดen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectการพัฒนาการเกษตรen_US
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบลen_US
dc.subjectลำพูนen_US
dc.titleบทบาทการพัฒนาการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeagricultural development roles of sub-district administration organizations in lamphun provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tawran-thummata.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.