Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1879
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอาทิตย์ เรือนหน้อย-
dc.date.accessioned2023-12-04T01:50:42Z-
dc.date.available2023-12-04T01:50:42Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1879-
dc.description.abstractจากการศึกษาเกี่ยวกับวัฏจักรการหมุนเวียนธาตุอาหารของป่าบ้านโปง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำเชิงเขาห้วยโจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนเมษายน ปี 2544 ถึงเดือนมิถุนายน ปี 2545 ระยะเวลา 15 เดือน โดยทำการวางแปลงทคลองขนาค 50x50 ม. ในพื้นที่ป่าแต่ละประเภท คือ แปลงป่าเบญจพรรณ แปลงป่าเบญจพรรณชื้น แปลงป่าเต็งรังแคระแปลงป่าเต็งรังที่พัฒนาแล้วและแปลงป่าเต็งรังรุ่นสอง ทำการศึกษาถึงลักษณะโครงสร้างของ สังคมพืชในระบบ การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสิ่งแวคล้อมทางกายภาพ และลักษณะการหมุนเวียนของธาตุอาหารในระบบจากการศึกษาพบว่า แปลงป่าเบญจพรรณ เปลงป่าเบญจพรรณชื้น แปลงป่าเต็งรังแคระ แปลงป่าเต็งรังที่พัฒนาแล้ว และแปลงป่าเต็งรังรุ่นสอง มีค่าเฉลี่ยความสูงของไม้ยืนต้นเท่ากับ 9.33, 8.46, 4.01 , 5.50 และ 4.37 ม. ตามลำดับ มีค่าการปกคลุมของเรือนยอดเท่ากับ 67, 89, 80, 85, และ 89% ตามลำคับ แต่ละแปลงมีอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด และความชื้นสัมพัทธ์ที่ใกล้เดียงกัน ยกเว้นแปลงป่าเต็งรังแคระ และแปลงป่าเต็งรังรุ่นสองที่มีอุณหภูมิสูงสุดค่อนข้างสูงกว่าแปลงอื่นๆ นอกจากนี้พบว่าความชื้นในดินของแต่ละแปลงมีความแตกต่างกันในแต่ละเดือน โดยแต่ละแปลงมีค่าผันแปรอยู่ในช่วง 5.11-32.65, 12.35-36.58, 1.40-16.21,10.47-31.04 และ 3.18-26.81% ตามลำดับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นล้วนส่งผลกระทบต่อกระบวนการหมุนเวียนธาตุอาหารในระบบซึ่งปริมาณการหมุนเวียนกลับของธาตุอาหารต่าง ๆ ในรูปของซากอินทรีย์จากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นไม้ พบว่าปริมาณของธาตุ N, P, K, Ca และ Mg ในแปลงป่าเบญจพรรณเท่ากับ 8.38, 0.38, 0.90, 12.22 และ 1.27 กก/ไร่/ปี ตามลำดับ แปลงป่าเบญงพรรณชื้นเท่ากับ10.3 1 , 0.85 , 1.18, 19.21 และ 2.37 กก./ไร่ ปี ตามลำดับ แปลงป่าเต็งรังแคระ เท่ากับ 3.91,0.27 0.34, 3.65 และ 0.93 กก./ไร่ ปี ตามลำดับ แปลงป่าเต็งรังที่พัฒนาแล้ว เท่ากับ 7.89,0.34, 0.70, 6.63 และ 1.19 กก/ไร่ ปี ตามลำดับ แปลงป่าเต็งรังรุ่นสอง เท่ากับ 5.73, 0.22.0.43, 4.46 และ 0.95 กก/ไร่ปี ตามลำดับ ส่วนปริมาณธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในดินที่ระดับความลึก 0-30 ซม. นั้นพบว่าธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในดินแต่ละแปลงส่วนใหญ่ใด้รับอิทธิพลจากการหมุนเวียนกลับของซากอินทรีย์จากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นไม้ แต่บางแปลงได้รับอิทธิพลจากวัตถุตันกำเนิดดินมากกว่าจึงทำให้ไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสังคมป่าได้ เช่น กรณีของแปลงป่าเต็งรังแคระ และแปลงป่าเต็งรังรุ่นสอง ที่มีปริมาณฟอสฟอรัสสะสมอยู่ในดินมากกว่าแปลงอื่น ๆ ทั้งที่มีปริมาณฟอสฟอรัสในซากอินทรีย์ที่หมุนเวียนกลับน้อยกว่าแปลงอื่น ๆ เป็นต้นen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectธาตุอาหารพืชen_US
dc.subjectลุ่มน้ำเชิงเขาห้วยโจ้en_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.titleวัฎจักรการหมุนเวียนธาตุอาหารของป่าบ้านโปง ลุ่มน้ำเชิงเขาห้วยโจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativenutrient cycling of ban pong forest, huai jo low hill watershed, sansai district, chiang mai provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:AST-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arthit-ruannoi.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.