Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1874
Title: EFFECTS AND RISKS OF CLIMATE CHANGE FOR RICE PRODUCTION IN NORTHEASTERN THAILAND: AN EMPIRICAL ANALYSIS OF REMOTE SENSING TECHNOLOGY DATA 
ผลกระทบและความเสี่ยงของการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย: การวิเคราะห์เชิงประจักษ์จากข้อมูล เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกล
Authors: Thanakorn Saensan
ธนากร แสนสาร
Nirote Sinnarong
นิโรจน์ สินณรงค์
Maejo University
Nirote Sinnarong
นิโรจน์ สินณรงค์
nirote@mju.ac.th
nirote@mju.ac.th
Keywords: การผลิตข้าวนาปี
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผลกระทบและความเสี่ยง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แบบจำลองข้อมูลแผงเศรษฐมิติ
Rain-fed rice production
Climate change
Impact and Risk
Northeastern Thailand
Panel Data Analysis
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: This study of “Effects and Risks of Climate Change for Rice Production in Northeastern Thailand: An Empirical Analysis of Remote Sensing Technology Data”. Using satellite data to replace data from weather monitoring stations allows access to more comprehensive and accurate weather information. There are two main research objectives: Objective 1: To analyze the impacts and risks of climate change on rice production in the northeastern region of Thailand and Objective 2: to simulate the impact of future climate change on rice production. This research applied the Production Function Cobb-Douglas and using estimators of the Feasible Generalized Least Squares (FGLS). using the panel data on rice production from 19 provinces in the northeast (2002–2020). The results of the study showed that Area harvested, Trend Time and Cumulative Precipitation had a positive effect on the yield of in-season rice, and it was a statistically significant Risk-decrease factor for rice production variance. Nevertheless, Average Temperature and Variance of the Average Temperature has a negative impact on the production of in-season rice and there was a statistically significant increase in the Risk-increase of variance in rice production. The result that classified by irrigation zone found that showed that Area harvested, Trend Time, Cumulative Precipitation, and Average Temperature had a positive effect on the yield of in-season rice. At the same time, it was a statistically significant risk factor for rice production variance. On the other hand, rice production in the irrigated area depends on accumulated rainfall and average temperature. It has a negative impact on the production of in-season rice. and there was a statistically significant increase in the risk of variance in rice production. When considering dummy variables representing Cumulative Rainfall Events Over Requirement, there was a negative effect on rice yield. At the same time, there was a statistically significant increase in the risk of variance in rice production in all three cases. This study suggests that the Characteristics of areas receiving water from irrigation have different influences. The results of the Numerical Simulation found that in the 2030s and 2050s, the effects of climate change will cause yields to decrease by 1.470 percent and 2.003 percent, respectively, causing production losses of 8,049.72 tons, equivalent to economic value. 74.41 million baht and 10,973.34, representing an economic value of 101.44 million baht. As an impact result, farmers and policymakers should have good practices for rice cultivation to handle with future problems in a sustainable way.
การศึกษา ผลกระทบและความเสี่ยงของการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย: การวิเคราะห์เชิงประจักษ์จากข้อมูลเทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกล” การใช้ข้อมูลดาวเทียมมาทดแทนข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศ ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลสภาพอากาศที่ครอบคลุมและแม่นยำมากขึ้น มีวัตถุประสงค์การวิจัยหลักสองประการ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบและความเสี่ยงของการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อจำลองผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตต่อการผลิตข้าว ด้วยการวิเคราะห์ฟังก์ชันการผลิตด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดทั่วไปแบบเป็นไปได้ โดยใช้ข้อมูลแบบพาเนล จำนวน 19 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ค.ศ. 2005 – 2020) และการจำลองเชิงตัวเลขเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของการผลิตข้าวภายใต้สถานการณ์สภาพอากาศที่แตกต่างกัน โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ตัวแปรสภาพอากาศจากการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ปลูกข้าว แนวโน้มของเวลา และปริมาณน้ำฝนสะสมเฉลี่ยในฤดูการผลิต มีผลกระทบเชิงบวกต่อผลผลิตข้าวนาปี และเป็นตัวแปรลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนต่อการผลิตข้าวนาปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางกลับกันตัวแปร อุณหภูมิเฉลี่ย และความแปรปรวนอุณหภูมิเฉลี่ย มีผลกระทบเชิงลบต่อผลผลิตข้าวนาปีและเป็นตัวแปรเพิ่มความเสี่ยงจากความแปรปรวนต่อการผลิตข้าวนาปี ผลการวิเคราะห์จำแนกตามพื้นที่เขตชลประทาน ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ปลูกข้าว แนวโน้มของเวลา ปริมาณน้ำฝนสะสม และอุณหภูมิเฉลี่ยมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลผลิตข้าวนาปี ขณะเดียวกันเป็นตัวแปรลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนต่อการผลิตข้าวนาปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางกลับกันผลผลิตข้าวนาปีในเขตชลประทาน ปริมาณน้ำฝนสะสม และอุณหภูมิเฉลี่ย มีผลกระทบเชิงลบต่อผลผลิตข้าวนาปี และเป็นตัวแปรเพิ่มความเสี่ยงจากความแปรปรวนต่อการผลิตข้าวนาปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาตัวแปรหุ่นเป็นตัวแทนของเหตุการณ์ปริมาณน้ำฝนสะสมที่เกินความต้องการมีผลกระทบเชิงลบต่อผลผลิตข้าว ขณะเดียวกันเป็นตัวแปรเพิ่มความเสี่ยงจากความแปรปรวนต่อการผลิตข้าวทั้งสามกรณีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ลักษณะพื้นที่ได้รับน้ำจากชลประทานที่มีอิทธิพลแตกต่างกัน ผลการจำลองเชิงตัวเลขพบว่า ในทศวรรษที่ 2030 และ 2050 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทำให้ผลผลิตลดลง ร้อยละ 1.470 และ 2.003 ตามลำดับ ก่อให้เกิดความเสียหายจากผลผลิตลดลง 8,049.72ตัน คิดเป็นมูลค่า 74.41 ล้านบาท และ 10,973.34 คิดเป็นมูลค่า 101.44 ล้านบาท ผลกระทบดังกล่าว เกษตรกรและผู้กำหนดนโยบายควรมีแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการเพาะปลูกข้าวเพื่อรับมือปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1874
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6312304001.pdf5.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.