Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/187
Title: THE USE OF G-BIOTIC MICROORGANISM FOR TILAPIA ADDITIVE FEED IN CAGE AND POND CULTURE TO PROMOTE GROWTH PERFORMANCE AND IMMUNITY
การใช้จุลินทรีย์จีไบโอติกเสริมอาหารปลานิล ในกระชังแม่น้ำน่านและบ่อดิน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกัน
Authors: Chanwit Suwan
ชาญวิทย์ สุวรรณ์
Chanagun Chitmanat
ชนกันต์ จิตมนัส
Maejo University. Fisheries Technology and Aquatic Resources
Keywords: โปรไบโอติก
ปลานิล
การเจริญเติบโต
ภูมิคุ้มกัน
Probiotics
Nile tilapia
Growth performance
Immunity
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: The study on the application of microorganisms, Bacillus subtilis as a probiotic in aquaculture showed the positive effects on the fish growth performance and immunogenicity. However, the field experiments in tilapia farms were quite low. In this study, there were two experiments. Experiment 1, the use of G Biotics (Greentech Aquaculture CO.,LTD.) containing B. subtilis as additive feeds for Nile tilapia (Oreochromis niloticus) was conducted to examine its effects on weight gain, growth rate and survival rate of Tilapia. Nile Tilapia were cage cultured in Nan River, Phitsanulok. Randomly releasing of 15,000 (initial average weight of 59.87±3.63 grams) fish in 36 m3 cages with the density of 32 fish/m3; total 13 cages. The 1×107 CFU/g of Bacillus subtilis with the concentration of 0, 2, 5 and 10 ml/kg-1 were used to feed tilapia for 157 days. They were laid out in completely randomized design with 3 replications for treatment trial while 4 replications were applied for the control group. The results showed survival rates were 72.8±7.3, 73.31±4.01, 71.38±6.8, and 72.96±7.78%, respectively. The average weights of fish were 871±95, 844±77, 781±66, and 933±58 grams, respectively. The total biomass was 9,341.5 kilograms; Average profit was 12,114.65 baht per month. Although survival and growth were not statistically different, but the trend was better in fish received probiotic supplementary diet group. The results of this study should be further research in terms of the effect of G-biotic on immune responses in tilapia to determine the most appropriate amount with the affordable cost of production. The disadvantage of fish cultured in cages in natural water sources is that they cannot control the water quality and quantity passing through cages which sometimes this leads to the death of fish. For this reason, farmers need to use antibiotics and chemicals to ensure that can reduce the mortality of fish. It is difficult to convince farmers to use microorganisms to replace antibiotics and chemicals in fish. Experiment 2, the use of G biotic for Nile tilapia was conducted to examine its effects on the growth performances and immunity. 480 (initial average weight of 18.41 grams) tilapia were randomly distributed into (9 m3) cages located in an earthen pond with the density of 4.4 fish/m3; total 12 cages. The 1×107 CFU/g of Bacillus subtilis with the concentration of 0, 2, 5 and 10 ml/kg-1. They were laid out in completely randomized design with 3 replications. Fish were fed experimental diets at a rate of 3% biomass per day for 60 days. The results showed probiotic supplementary diet group had significantly affected on weight gain final weight and the specific growth rate (P> 0.05). The concentration of 2 ml/kg-1 was the best treatment in increasing final weight, specific growth rate and feed conversion ratio (P<0.05). Survival rate was not significantly different (P> 0.05). Water quality parameters such as temperature, pH, dissolved oxygen, total alkalinity and total ammonia during feeding for 60 days were suitable for aquatic animal growth. The results of probiotics on immune system were evaluated after 20, 40 and 60 days of study period. Phagocytosis and Serum lysozyme activity enhanced significantly (P<0.05). NBT values after 60 day increased significantly in fish fed 2 ml/kg-1 when compared with other groups (P < 0.05). Lysozyme activity after Streptococcus agalactiae (1 x 108 CFU/ml) challenges were not statistically different (P> 0.05) at 2, 10 and 15 days post-challenge. Lysozyme activity in fish fed probiotic groups at 5 day post-challenge increased significantly in fish fed 5 ml/kg-1 when compared with control (P<0.05). It was recommended that this G-biotic with the concentration 2 ml/kg-1 can be used as an alternative method for growth performance and immunity improvement.
มีการทดลองใช้จุลินทรีย์โปรไบโอติกกลุ่ม Bacillus subtillis ผสมอาหารเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกันในปลานิล อย่างไรก็ตามการทดลองในภาคสนามมีไม่มากนัก งานวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่หนึ่ง ทดสอบผลของการใช้จีไบโอติก (บริษัท กรีนเทค อควาคัลเจอร์ จำกัด) ที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์โปรไบโอติกกลุ่ม B. subtillis ในการเลี้ยงปลานิลแดงในกระชัง ในแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก โดยสุ่มปล่อยปลานิลจำนวน 15,000 ตัว (น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 59.87±3.63 กรัม) ลงในกระชังขนาด 3×6×2 ม. ความหนาแน่น 32 ตัว/ลบ.ม. จำนวน 13 กระชัง โดยให้อาหารผสมจีไบโอติก 0 (ชุดควบคุม) จำนวน 4 กระชังและ 2, 5 และ 10 มล./อาหาร 1  กก. (จำนวน 3 กระชังแต่ละความเข้มข้น) วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) ที่มีจำนวนซ้ำไม่เท่ากัน ให้อาหารจนอิ่ม เลี้ยงนาน 157 วัน ผลการทดลองพบว่า อัตรารอดตายเท่ากับ 72.8±7.3, 73.31±4.01, 71.38±6.8, และ 72.96±7.78% ส่วนน้ำหนักปลาเฉลี่ยต่อตัวเท่ากับ 871±95, 844±77, 781±66 และ 933±58 กรัม ตามลำดับ ได้ผลผลิตรวมเท่ากับ 9,341.5 กิโลกรัม กำไรเฉลี่ยเดือนละ 12,114.65 บาท อย่างไรก็ตามอัตรารอดและการเจริญเติบโตไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) แต่น้ำหนักปลามีแนวโน้มสูงขึ้นกลุ่มที่ใช้จีไบโอติก จากผลการทดลองครั้งนี้ควรศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของผลของการใช้จีไบโอติกต่อการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันในปลานิล เพื่อให้มีความเหมาะสมที่สุด และให้ผลตอบแทนสูงสุด ข้อเสียของการเลี้ยงปลาในกระชังในแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ไม่สามารถควบคุมคุณภาพและปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านกระชังได้ ในบางครั้ง เมื่อเกิดปัญหาปลาตาย เกษตรกรจำเป็นต้องใช้ยาและสารเคมีเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สามารถลดความสูญเสียจากการตาย ทำให้ยากที่จะชักจูงใจให้เกษตรกรหันมาใช้จุลินทรีย์ทดแทนยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการเลี้ยงปลา การทดลองที่ 2 ทดลองใช้จีไบโอติกเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกันในปลานิลในบ่อดิน จังหวัดเชียงใหม่ โดยสุ่มปล่อยปลานิล (น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 18.41 กรัม) จำนวน 40 ตัว/กระชัง ลงในกระชังขนาด 3×3×1 ม. ความหนาแน่น 2.2 ตัว/ลบ.ม. จำนวน 12 กระชัง โดยให้อาหารผสมจีไบโอติก 0 (ชุดควบคุม) จำนวน 3 กระชังและ 2, 5 และ 10 มล./อาหาร 1 กก. (จำนวน 3 กระชังแต่ละความเข้มข้น) วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) ให้อาหาร 3 % ของน้ำหนักตัว เลี้ยงนาน 60 วัน ผลการทดลองพบว่าปริมาณโปรไบโอติกในอาหารเม็ดสำเร็จรูปมีผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักสุดท้าย และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ ซึ่งมีแนวโน้มสูงกว่าปลาที่ไม่ได้รับอาหารผสมโปรไบโอติก (P>0.05) ปลาที่ได้รับโปรไบโอติกผสมในอาหารเม็ดสำเร็จรูป ความเข้มข้น 2 มล./อาหาร 1 กก.  มีค่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักสุดท้าย อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และอัตราแลกเนื้อดีที่สุด ส่วนอัตราการรอดตายพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ส่วนค่าพารามิเตอร์ด้านคุณภาพน้ำต่าง ๆ ระหว่างการเลี้ยงพบว่า อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความเป็นด่าง และค่าแอมโมเนียรวมระหว่างการเลี้ยง เป็นเวลา 60 วัน คุณภาพนํ้าโดยเฉลี่ย อยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์นํ้า ผลของโปรไบโอติกต่อระบบภูมิคุ้มกัน ที่อายุปลา 20, 40 และ 60 วัน มีค่าการจับกินสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว และกิจกรรมไลโซไซม์ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ค่า nitro blue tetrazolium ที่อายุปลา 60 วัน ในกลุ่มที่ผสมโปรไบโอติก 2 มล./อาหาร 1 กก. มีค่า NBT สูงกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การยับยั้งเชื้อก่อโรคค่ากิจกรรมไลโซไซม์หลังได้รับการฉีดเชื้อ Streptococcus agalactiae (1 x 108 CFU/มล.) พบว่า ค่ากิจกรรมไลโซไซม์ หลังได้รับการฉีดเชื้อ ในวันที่ 2, 10 และ 15 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ส่วนในวันที่ 5 ชุดการทดลองที่ผสมโปรไบโอติก  5 มล./อาหาร 1 มีค่าสูงกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สรุปได้ว่า ควรใช้จีไบโอติกผสมอาหารที่ความเข้มข้น 2 มล./อาหาร 1 กก. เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกันในปลานิล
Description: Master of Science (Master of Science (Fisheries Technology and Aquatic Resources))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/187
Appears in Collections:Fisheries Technology and Aquatic Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910301003.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.