Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1869
Title: | FACTOR AFFECTING OF PROMOTION AND FOREST RESTORATIONAT NAMPON UPSTREAM, THUNGCHANG DISTRICT, NAN PROVINCE ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ต้นน้ำปอนอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน |
Authors: | Nattaporn Petchomsub นัฐพร เพชรชมทรัพย์ Teeka Yothapakdee ฑีฆา โยธาภักดี Maejo University Teeka Yothapakdee ฑีฆา โยธาภักดี teeka@mju.ac.th teeka@mju.ac.th |
Keywords: | การฟื้นฟูป่า การมีส่วนร่วม ต้นน้ำปอน forest restoration participation Pon watershed area |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The purpose of this research was to study about the selection of tree species, the investigation factors affecting forest restoration, as the planning and management effectively of watershed forest rehabilitation at Pon watershed area, Thung Chang district, Nan province. Collected data with questionnaire by purposive sampling was 187 samples. Data were analyzed using multiple linear regression model. Eleven independent variables included sex, job, tribe, income, information, member, officers, distance, position, water source, and usable wood. Dependent variables consisted of people’s participation in forest conservation and restoration activities.
The results showed most of the samples were female who native and got married, as graduated from secondary school. Member were 4 person/household whose main occupation is agriculture, and an average income of 30,000 baht/year/household that enough for living. Agriculture area had an average of 1.78 plot/person and 8.73 rai/person. Rainwater was main sources of agriculture. On the other hand, the selection of plant species, it was divided into 3 categories: usable forest, edible forest, and economic/fruit plant. It was found the usable forest plants were teak (Tectona grandis L.f.), rosewood (Dalbergia cochinchinensis Pierre.), and burmese rosewood (Pterocarpus indicus Willd.). Edible forest plants were rattan (Calamus sp.), sugar palm (Arenga pinnata Merr.), and emblic myrabolan (Phyllanthus emblica L.). Economic/fruit trees pants were rambutan, durian, and rubber. However, participation between staff and the community has to support about forest conservation and restoration from staff because of villagers want to use the non-timber forest products.
Factors affecting forest restoration as the positive factors were usable wood, distance, sex, and water source. The wanted usable wood from Pon community able to use the direct benefits, conserve forest, and restore the abundance of watershed area. The distance from house to plot that the nearest distance showed the major plot did an agriculture as paddy rice for living and rubber for selling which income of household. The other agriculture plot was the minor plot for orchard and mixed farming because it was careless of their plots. On the other hand, sex showed male was a head of household who can decide the trees for planting. Water source of agriculture was more than 1 source showed the sufficient watering of agriculture as the confidence of growth and survival of trees. การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการชนิดพันธุ์ไม้ของชุมชนลุ่มน้ำปอน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ต้นน้ำปอน ศึกษาการวางแผนและจัดการการฟื้นฟูป่าต้นน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในพื้นที่ต้นน้ำปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้จำนวน 187 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณมีตัวแปรอิสระ 11 ตัว ได้แก่ เพศ อาชีพ ชนเผ่า รายได้ ข่าวสาร สมาชิก เจ้าหน้าที่ ระยะทาง บทบาท แหล่งน้ำ และไม้ป่าใช้สอย ตัวแปรตาม คือกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส จบระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา เป็นชนเผ่าพื้นเมือง มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน/ครัวเรือน ซึ่งมีอาชีพหลักด้านการทำการเกษตร มีรายได้จากอาชีพหลักเฉลี่ย 30,000 บาท/ปี/ครัวเรือน รายได้เพียงพอกับรายจ่าย ส่วนใหญ่มีที่ดินทำการเกษตร จำนวนเฉลี่ย 1.78 แปลงต่อคน มีพื้นที่ทำการเกษตรรวมจำนวนเฉลี่ย 8.73 ไร่ต่อคน แหล่งน้ำหลักในการทำการเกษตรเป็นน้ำฝน ด้านการคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้แบ่งออกเป็น สำหรับเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ไม้ป่าใช้สอย ไม้ป่ากินได้ และไม้เศรษฐกิจ/ไม้ผล พบว่า ไม้ป่าใช้สอยที่ต้องการนำไปปลูก ได้แก่ สัก (Tectona grandis L.f.) พะยูง (Dalbergia cochinchinensis Pierre.) ประดู่ (Pterocarpus indicus Willd.) ไม้ป่ากินได้ที่ต้องการนำไปปลูก ได้แก่ หวาย (Calamus sp.) ต๋าว (Arenga pinnata Merr.) มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) และไม้เศรษฐกิจ/ไม้ผล ที่ต้องการนำไปปลูก ได้แก่ เงาะ ทุเรียน ยางพารา อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่กับชุมชนได้รับการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าจากเจ้าหน้าที่ เนื่องจากชาวบ้านมีความต้องการพึ่งพาผลผลิตจากป่า ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ต้นน้ำปอน พบว่า ตัวแปรที่มีทิศทางบวก ได้แก่ ไม้ป่าใช้สอย ระยะทาง เพศ และแหล่งน้ำ อธิบายว่าไม้ป่าใช้สอยเป็นประเภทพันธุ์ไม้ที่ชุมชนลุ่มน้ำปอนมีความต้องการ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์โดยตรง ยังเกิดการอนุรักษ์และเป็นการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าต้นน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้ดังเดิม ส่วนระยะทางที่ใช้ในการเดินทางไปแปลงเกษตร แปลงการเกษตรที่มีระยะทางอยู่ใกล้บ้านมากที่สุด จะเป็นแปลงหลักในการทำการเกษตร มีการปลูกข้าวเพื่อยังชีพ และปลูกยางพาราสำหรับจำหน่ายผลผลิต เพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในครัวเรือน ส่วนแปลงการเกษตรที่มีระยะทางถัดไป จะเป็นแปลงรองในการทำการเกษตร ซึ่งมีการปลูกไม้ผล และไม้ผสมผสาน เนื่องจากไม่ต้องดูแลมาก ด้านเพศพบว่าเพศชายที่ส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าครัวเรือน เป็นผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจในการเลือกพันธุ์ไม้มาปลูกในพื้นที่ การมีแหล่งน้ำที่มากกว่า 1 แหล่งในการทำการเกษตร ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการปลูกต้นไม้แล้วจะมีอัตราการรอดตายสูง และมีน้ำที่เพียงพอต่อการทำการเกษตรในพื้นที่ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1869 |
Appears in Collections: | Maejo University - Phrae Campus |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6408301017.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.