Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1866
Title: CARBON STORAGE IN BIOMASS OF TREE IN HUI SATAENG WATERSHED MANAGEMENT UNIT, NAN PROVINCE
การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของต้นไม้ในพื้นที่หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสะแตง จังหวัดน่าน
Authors: kanttanut kawinpolasa
กานต์ธณัฐ กวินพลอาสา
Thanakorn Lattirasuvan
ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
Maejo University
Thanakorn Lattirasuvan
ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
thanakorn-l@mju.ac.th
thanakorn-l@mju.ac.th
Keywords: ความหลากหลายของพืช
มวลชีวภาพ
การกักเก็บคาร์บอน
ป่าต้นน้ำ
Plan diversity
Biomass
Carbon stocks
Forested Watersheds
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to investigate the aboveground biomass, value of tree and carbon storage of trees in Huai Sataeng Watershed Management Unit,Thung Chang District, Nan Province. The forest area in Huai Sataeng Watershed Management Unit ranges of elevation from 500 - 900 meters. Sample plots of 40 meters x 40 meters were placed along to the specific height above the mean sea level at 500, 600, 700, 800 and 900 meters, respectively. In each plot, tree, sapling and seedling data were collected to assess relative density, relative frequency, relative dominance and importance value index (IVI). The biomass also was calculated by using allometric equations. Then, the carbon stocks were estimated.The result found a total of 89 species in 69 genera and 42 families of plants.The density of tree, saplings and seedlings were 803, 40,500 and 764,000 (tree /ha) ,respectively. Top 5 indicator species of tree in the Huai Sataeng Watershed Management Unit were Lithocarpus fenestratus, Aporosa villosa, Croton persimilis, Pterocarpus macrocarpus and Schima wallichii. The total aboveground biomass of all species was 423.49 t/ha. It could be divided into tree, saplings and bamboo biomass for 367.74, 1.83 and 53.92 t/ha, respectively. The total value of tree was 882,610.81 baht/ha. The total carbon stock was estimated at 199.04 t/ha.
งานศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน มูลค่าของผลผลิตต้นไม้ และปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของพรรณไม้บริเวณป่าในพื้นที่หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสะแตง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ซึ่งพื้นที่ป่าบริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสะแตงอยู่ในช่วงระดับความสูงตั้งแต่ 500 – 900 เมตร จึงเลือกเก็บตัวอย่างโดยการวางแปลงตัวอย่างตามช่วงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 500 เมตร, 600 เมตร, 700 เมตร, 800 เมตร และ 900 เมตร ตามลำดับ วางแปลงตัวอย่างขนาด 40 เมตร x 40 เมตร แบบเจาะจง (purposive sampling) ในแต่ละแปลงตัวอย่างดำเนินการเก็บข้อมูลของไม้ใหญ่ ไม้หนุ่ม และลูกไม้ แล้วนำมาวิเคราะห์ความถี่ ความหนาแน่น ความเด่น และค่าดัชนีความสำคัญของชนิดไม้ (IVI) และประเมินหามวลชีวภาพ โดยใช้สมการแอลโลเมตรีและปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของเนื้อไม้ ผลการศึกษา พบพรรณไม้ทั้งหมด 89 ชนิด 69 สกุล 42 วงศ์ ความหนาแน่นของไม้ใหญ่ ไม้หนุ่ม และกล้าไม้ เท่ากับ 803, 40,500 และ 764,000 ต้นต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากค่าดัชนีความหลายของชนิดพันธุ์ พบว่า ก่อพวง (Lithocarpus fenestratus) เหมือดโลด (Aporosa villosa) เปล้าใหญ่ (Croton persimilis) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) และทะโล้ (Schima wallichii) เป็นไม้ดัชนีสำคัญของป่าแห่งนี้ สำหรับมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของพรรณไม้ทุกชนิดเท่ากับ 423.49 ตันต่อเฮกตาร์ แบ่งเป็นมวลชีวภาพของไม้ใหญ่ ไม้หนุ่ม และไม้ไผ่ เท่ากับ 367.74, 1.83 และ 53.92 ตันต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ มูลค่าผลผลิตของไม้ต้น เท่ากับ 882,610.81 บาทต่อเฮกตาร์ และปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของพรรณไม้ทุกชนิดเท่ากับ 199.04 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ 
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1866
Appears in Collections:Maejo University - Phrae Campus

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6408301001.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.