Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/186
Title: Comparison of Growth and Proximate Analysis of Sarai Kai(Rhizoclonium sp.) Cultivation in Environmentally 
การเปรียบเทียบการเจริญ และองค์ประกอบทางเคมีของสาหร่ายไก(Rhizoclonium sp.) ในการเพาะเลี้ยงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Authors: Tanyaluk Mala
ธัญญาลักษณ์ มาลา
Jongkon Promya
จงกล พรมยะ
Maejo University. Fisheries Technology and Aquatic Resources
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: Comparison of growth and proximate analysis of sarai kai (Rhizoclonium sp.) cultivation in environmentally friendly condition was investigated. The aim of this research was to determine growth, biomass, proximate analysis, water quality and study the processing of new products of Rhizoclonium sp. cultured in different formula. The RCBD experiments were divided into three treatments, with six replication each: T1 Water Supply (Control), T2 with N:P:K (16:16:16) 0.002 g/L and T3 with NaHCO3 2.13 g/L, NaNO3 0.38 g/L and K2HPO4 0.13 g/L. The experiment was set up in raceway ponds. The data was collected every 15 days over a 180-day-culture period. The results showed that by measuring lengths of algae growth in T2 equal to 7.68 inches/month and biomass of raw weight equal to 1140 g/m2  was significantly higher than T1 and T3, respectively (P<0.05). Water quality analysis, air temperature 27.5-37.5๐C, water temperature 22.0-28.5๐C, pH 8.40-9.55, Dissolved Oxygen 5.8-9.9 m/l, NH3 0.00-0.15 m/l, NO2 6.37-10.32 m/l, NO3 8.90-191.55 m/l and PO4 1.72-81.07 m/l and proximate analysis, it was revealed that T3 had protein 32.03%, fat 18.82%, fiber 28.42%, and moisture 7.61%, significantly higher than other treatments (P<0.05). As algae in T3 had proximate analysis higher than the other treatments, product such as dry egg noodle with Kai were developed. According to the consumer sensory test of 100 people it was found that the acceptance of features such as appearance, color, odor, taste was significant difference, but softness, toughness and overall acceptability of dry egg noodle with Kai compared with noodles brand A was no significant difference (P>0.05); the overall acceptability ranged between not bothered to like slightly (5.58-6.99).
การเปรียบเทียบการเจริญ และองค์ประกอบทางเคมีของสาหร่ายไก ในการเพาะเลี้ยงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญ มวลชีวภาพ องค์ประกอบทางเคมี คุณภาพน้ำ และการแปรรูปของสาหร่ายไกในสูตรอาหารที่ต่างกัน วางแผนการทดลองแบบ RCBD แบ่งเป็น 3  ชุดการทดลองๆ ละ 6 ซ้ำ คือ ชุดการทดลองที่ 1 (T1) น้ำประปา (ชุดควบคุม) ชุดการทดลองที่ 2 (T2) ใช้สารอาหาร N:P:K (16:16:16) 0.002 กรัมต่อลิตร และชุดการทดลองที่ 3 (T3) ใช้สารอาหาร NaHCO3 2.13 กรัมต่อลิตร NaNO3 0.38 กรัมต่อลิตร และ K2HPO4  0.13 กรัมต่อลิตร โดยทำการเพาะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ระบบ raceway ponds เก็บข้อมูลทุกๆ 15 วัน เป็นระยะเวลา 180 วัน พบว่า T2 มีการเจริญเติบโตโดยการวัดความยาวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.68 นิ้วต่อเดือน และมวลชีวภาพโดยน้ำหนักสดมีค่าเท่ากับ 1,140 กรัมต่อตารางเมตร  มากกว่า T1 และ T3 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)  การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ พบว่าอุณหภูมิอากาศอยู่ในช่วง 27.5-37.5 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วง 22.0-28.5 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 8.40-9.55 ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำอยู่ในช่วง 5.8-9.9 มิลลิกรัมต่อลิตร แอมโมเนียอยู่ในช่วง 0.00-0.15 มิลลิกรัมต่อลิตร ไนไตรท์อยู่ในช่วง  6.37-10.32 มิลลิกรัมต่อลิตร ไนเตรทอยู่ในช่วง 8.90-191.55 มิลลิกรัมต่อลิตร และออร์โธฟอสเฟตอยู่ในช่วง 1.72-81.07 มิลลิกรัมต่อลิตร และองค์ประกอบทางเคมี พบว่า T3 มีค่าโปรตีน 32.03 เปอร์เช็นต์   ไขมัน 18.82 เปอร์เช็นต์ เยื่อใย 28.42 เปอร์เช็นต์ และความชื้น 7.61 เปอร์เช็นต์ มากกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่าชุดการทดลองที่ 3 มีองค์ประกอบทางเคมีมากกว่าชุดการทดลองอื่น จึงมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บะหมี่สาหร่ายไกอบแห้ง เมื่อทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคจำนวน 100 คน พบว่าการยอมรับของคุณลักษณะต่างๆ ได้แก่ ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ ความนุ่ม ความเหนียว และความชอบรวมของบะหมี่สาหร่ายไกอบแห้ง กับบะหมี่ที่ขายทั่วไปตามท้องตลาด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)
Description: Master of Science (Master of Science (Fisheries Technology and Aquatic Resources))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/186
Appears in Collections:Fisheries Technology and Aquatic Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5810301004.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.