Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1856
Title: THE DEVELOPMENT OF DIGITAL CITIZENSHIP QUALIFICATION OF MEMBERS OF THE MAE TAENG YOUTH COUNCIL IN CHIANG MAI PROVINCE
การพัฒนาคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลของ สมาชิกสภาเยาวชนแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Rayakorn Suwan
รยากร สุวรรณ์
Suriyajaras Techatunminasakul
สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล
Maejo University
Suriyajaras Techatunminasakul
สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล
suriyajaras@mju.ac.th
suriyajaras@mju.ac.th
Keywords: คุณสมบัติ
พลเมืองดิจิทัล
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
qualifications
digital citizenship
multiple regression analysis
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: Research Title: Development of Digital Citizenship Competencies among Youth Parliament Members in Mae Taeng District, Chiang Mai Province.  Research Objectives: To investigate the digital citizenship competencies of Youth Parliament members in Mae Taeng District, Chiang Mai Province, focusing on their competencies as digital citizens.To examine the behavioral factors influencing the development of good digital citizenship competencies among Youth Parliament members in Mae Taeng District, Chiang Mai Province.To design a training program aimed at enhancing the digital citizenship competencies of Youth Parliament members in Mae Taeng District, Chiang Mai Province.  Research Methodology: This research adopts a mixed-methods approach, utilizing surveys and assessments as data collection tools from a sample of 150 Mae Taeng District youth.  Research Findings: The research findings indicate that the overall level of digital citizenship competencies and good digital citizenship behaviors among Youth Parliament members in Mae Taeng District, Chiang Mai Province, is at a moderate level, with an average score of 3.41±1.08. When examining specific aspects of digital citizenship competencies, certain skills scored higher, including data management skills used in the online world, self-security skills in the online environment, and skills related to maintaining a positive online identity, in that order. Skills related to personal data protection, analytical thinking with good judgment, time management in screen use, coping with online threats, and ethical technology use scored at a moderate level. Regarding the factors influencing good digital citizenship behaviors, the research finds that these behaviors are also at a moderate level overall, with an average score and standard deviation of 3.18±1.20. The significant statistical influence factor on digital citizenship competencies is the responsibility behaviors in the digital world, with a causal effect of 0.203 at a 95% confidence level. These behaviors include refraining from posting or forwarding images that may embarrass or harm others, being cautious about what to say or post online to avoid causing harm to others in the future, not supporting online conflicts even when provoked, and refraining from making offensive comments on friends' posts. As part of the research and development effort, a training program was designed to enhance the digital citizenship competencies of 150 Mae Taeng District youth. The results showed a significant increase in knowledge and understanding of digital citizenship behaviors among Youth Parliament members in Mae Taeng District, Chiang Mai Province, with a statistically significant difference at a confidence level of 0.00. Before training, the average score was 1.81 with a standard deviation of 0.56, and after training, the average score increased to 4.61 with a standard deviation of 0.49. Policy Recommendations: In terms of policy recommendations, it is suggested that the government should support and promote the development of digital citizenship competencies among youth through lifelong learning platforms in easily understandable and topic-focused media. The government should also consider offering training courses to develop digital citizenship based on the curriculum of the Ministry of Digital Economy and Society, focusing on economic and social aspects. Additionally, the government should create teaching materials or instructional media that can enhance skills and knowledge in using technology wisely and safely, such as providing case studies and cyber threat problem-solving guidelines.
งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลของสมาชิกสภาเยาวชนแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลของสมาชิกสภาเยาวชนแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ด้านคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเยาวชนสภาเยาวชน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยพฤติกรรมที่ส่งผลต่อคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีของเยาวชนสภาเยาวชน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่  และ 3)เพื่อจัดกระบวนการฝึกอบรมพัฒนาคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลของสมาชิกสภาเยาวชนแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยเป็นการวิจัยรูปแบบผสม โดยใช้แบบสอบถาม และ แบบประเมินเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเยาวชนแม่แตง จำนวน 150 คน  ผลการวิจัย พบว่า ระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัล และ พฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.41±1.08 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ทักษะที่มีคะแนนอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ ด้านทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ ด้านทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง ตามลำดับ และทักษะที่มีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว ด้านทักษะในการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี ด้านทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ ด้านทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ ด้านทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม  ตามลำดับ ระดับปัจจัยพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.18±1.20 ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการทำตามกฎบนโลกดิจิทัล  ด้านพฤติกรรมการเคารพผู้อื่นบนโลกดิจิทัล ด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วมบนโลกดิจิทัล ด้านพฤติกรรมการรับผิดชอบบนโลกดิจิทัล ตามลำดับ ปัจจัยความรับผิดชอบบนโลกดิจิทัลส่งผลต่อคุณสมบัติความเป็นพลเมืองดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 หรือ ร้อยละ 95  โดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ เท่ากับ 0.203 ทั้งนี้ พฤติกรรมความรับผิดชอบบนโลกดิจิทัล ได้แก่ การการโพสต์หรือส่งต่อรูปภาพให้ผู้อื่นโดยระวังจะทำให้พวกเขาอับอายหรือได้รับผลเสีย การทบทวนสิ่งที่จะพูดหรือโพสต์ผ่านโซเซียลว่าจะไม่ทำให้ผู้อื่นเสียใจในภายหลัง การระวังสิ่งที่จะโพสต์ลงในในโลกโซเซียลว่าจะเกิดผลเสียกับบุคคลอื่นตามมาทีหลังหรือไม่ การไม่สนับสนุนการต่อสู้กันบนโลกโซเซียลแม้มีเหตุผบ และการไม่แสดงความคิดเห็นเชิงลามกต่อโพสต์ของเพื่อน การวิจัยและพัฒนาได้ออกแบบบทเรียนเพื่อฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการเยาวชนแม่แตง ด้านพฤติกรรมการรับผิดชอบบนโลกดิจิทัล จำนวน 150 คน ผลการฝึกอบรมทำให้เยาวชนอำเภอแม่แตง มีความความรู้ และ ความเข้าใจเพิ่มขึ้น กล่าวคือ คะแนนวัดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมการรับผิดชอบบนโลกดิจิทัลของสมาชิกสภาเยาวชนแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.00  โดยก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 1.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.56  และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.49  ด้านข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กล่าวคือ ภาครัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลแก่เยาวชนผ่านแพล็ทฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบสื่อที่เยาวชนเข้าใจง่ายและสื่อสารตรงประเด็น ภาครัฐควรควรจัดการอบรมหลักสูตรพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล จากการประยุกต์หลักสูตรของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และภาครัฐควรควรจัดทำคู่มือหรือสื่อการสอนที่สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย เช่น การยกตัวอย่างกรณีศึกษา แนวการแก้ไขปัญหากรณีเจอภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นต้น
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1856
Appears in Collections:School of Administrative Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6205405009.pdf4.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.