Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1852
Title: | THE STRATEGY FOR MANAGEMENT OF ENVIRONMENT FRIENDLY EXPRESSWAY MAINTENANCE IN BANGKOK กลยุทธ์การบริหารงานบำรุงรักษาทางพิเศษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | Natthaporn Thuampradit ณัฐฐาพร ท้วมประดิษฐ์ Pawinee Areesrisom ภาวิณี อารีศรีสม Maejo University Pawinee Areesrisom ภาวิณี อารีศรีสม pawinee@mju.ac.th pawinee@mju.ac.th |
Keywords: | การบริหารงาน บำรุงรักษา สิ่งแวดล้อม การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ task management maintenance environment Expressway Authority of Thailand environmentally friendly Automatic toll collection system |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | This study was conducted to investigate: 1) socioeconomic attributes of personnel responsible for the maintenance of the chalong Rat Expressways, the Bang Na - At Narong Expressway (Ramintra - At Narong and Ramintra - Outer Ring road) and Burapha withi Expressway; 2) an expressway maintenance strategy along with environmental management standards; 3) guidelines for prioritization of road maintenance in line with needs of the Expressway Authority of Thailand from a limited budget; and 4) problems encountered and suggestions about the strategy development for maintenance management of the two expressways. A sample group consisted of 28 personnel responsible for the maintenance of the two expressways and 115 personnel responsible for traffic and rescue of the two expressways. A set of questionnaires was used for data collection and analyzed by using descriptive statistics.
Results of the study revealed that two – thirds of the respondents were male (74.13%) and their age range was 40 – 56 years (44.76%). One – half of the respondents were bachelor’s degree holders (49.65%) and they had more than 15 years of service most (51.75%). More than one – half of the respondents had an average monthly income for 20,001 and above most (66.43%) and 55.24 percent were responsible for other tasks (55.24%). As a whole, the respondents had a highest level of opinions about the maintenance management strategy (x̄ =3.47). Based on it’s details, the following opinions were found at a high level: operational system (x̄ =3.66); shred value (x̄ =3.55); organizational structure (x̄ =3.53); management form (x̄ =3.51); performance skill (x̄ =3.47); strategy (x̄ =3.43); and personnel (x̄ =3.16), respectively.
As a whole, however, the respondents had a low level of the prioritization of the road maintenance (x̄ =2.52). Based on it’s details, the following were found in the prioritization in terms of damage on the two expressways: drainage system (x̄ =2.78); unclear of traffic lines and reflective targets (x̄ =2.63); traffic surface (x̄ =2.57); unclean traffic guidance sign (x̄ =2.51); steel rail (x̄ =2.48); sound barrier (x̄ =2.34); and cracked concrete structure (x̄ =2.27), respectively.
The following were problems encountered about the strategy development: unclear strategy and planning; late operational decisions; too many aspects of the management style; inadequate numbers of personnel and their competence was inconsistent with performance; the operation lacked professional conscience; non – standard operation; and decentralization was not hierarchical of the organizational structure. Thus, it should put the importance on decision making of practitioners, Also, concerned personnel should learn more and develop about task management regularly. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบำรุงรักษาทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (รามอินทรา-อาจณรงค์ และรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก) และทางพิเศษบูรพาวิถี 2) กลยุทธ์ในการบริหารงานบำรุงรักษาทางพิเศษ ควบคู่ไปกับมาตรฐานระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 3) แนวทางในการจัดลำดับความสำคัญในการซ่อมบำรุงรักษาสายทางให้สอดคล้องกับความต้องการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จากงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด และ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารงานบำรุงรักษาทางพิเศษฉลองรัชทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (รามอินทรา-อาจณรงค์ และรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก) และทางพิเศษบูรพาวิถี โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 1) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการบำรุงรักษาทางพิเศษฉลองรัชและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ และทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา-ชลบุรี) จำนวน 28 คน และ 2) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการจราจรและกู้ภัยทางพิเศษฉลองรัชและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ และทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา-ชลบุรี) จำนวน 115 คน รวมทั้งสิ้น 143 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามสองในสาม (74.13 %) เป็นชาย มีอายุระหว่าง 40-56 ปี (44.76 %) ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรี (49.65 %) มีประเภทการรับผิดชอบงานด้านอื่น ๆ (55.24 %) ซึ่งระยะเวลาในการทำงานโดยเฉลี่ยมากที่สุดมากกว่า 15 ปี (51.75 %) มีรายได้เฉลี่ย 20,001 บาท ขึ้นไป มากที่สุด (66.43 %) ผลการศึกษากลยุทธ์การบริหารงานบำรุงรักษาทางพิเศษสำหรับงานบำรุงรักษาทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (รามอินทรา-อาจณรงค์ และรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก) และทางพิเศษบูรพาวิถี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยกลยุทธ์การบริหารงานบำรุงรักษาทางพิเศษมากที่สุดอยู่ในด้านระบบการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3.66 รองลงมาคือ ด้านค่านิยมร่วม (ค่าเฉลี่ย 3.55) ด้านโครงสร้างองค์กร (ค่าเฉลี่ย 3.53) ด้านรูปแบบการบริหาร (ค่าเฉลี่ย 3.51) ด้านทักษะ ความสามารถ (ค่าเฉลี่ย 3.47) ด้านกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ (ค่าเฉลี่ย 3.43) และด้านบุคลากร (ค่าเฉลี่ย 3.16) ตามลำดับ ผู้ตอบแบบสอบถามมีแนวทางในการจัดลำดับความสำคัญในการซ่อมบำรุงรักษาสายทางให้สอดคล้องกับความต้องการของ กทพ. จากงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะความเสียหายบนทางพิเศษในการซ่อมบำรุงรักษาทุกด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับความสำคัญน้อย มีค่าเฉลี่ยรวม 2.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความเสียหายบนทางพิเศษของระบบระบายน้ำ เช่น อุดตัน รั่ว ฝาตะแกรงชำรุดหรือสูญหาย (ค่าเฉลี่ย 2.78) ส่วนความเสียหายบนทางพิเศษของเส้นจราจร และเป้าสะท้อนแสงไม่ชัดเจน (ค่าเฉลี่ย 2.63) ความเสียหายบนทางพิเศษของผิวจราจร เช่น หลุมบ่อ ร่องล้อ ยุบตัวเป็นแอ่ง รอยต่อไม่เรียบ ความเสียหายบนทางพิเศษของกำแพงกันตก เช่น การกะเทาะ คราบสกปรก และความเสียหายบนทางพิเศษของเสาล้มลุก เช่น สูญหาย แถบสะท้อนแสงเสื่อม มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 2.57 ความเสียหายบนทางพิเศษของป้ายแนะนำจราจรไม่ชัดเจน (ค่าเฉลี่ย 2.51) ความเสียหายบนทางพิเศษของราวเหล็ก เช่น เกิดสนิม เสียรูป (ค่าเฉลี่ย 2.48) ความเสียหายบนทางพิเศษของกำแพงกั้นเสียง เช่น แตกกะเทาะ (ค่าเฉลี่ย 2.34) และความเสียหายบนทางพิเศษของโครงสร้างคอนกรีตกะเทาะ เช่น ท้องพื้นคอนกรีตกะเทาะ (ค่าเฉลี่ย 2.27) ตามลำดับ ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารงานบำรุงรักษาทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (รามอินทรา-อาจณรงค์ และรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก) และทางพิเศษบูรพาวิถี พบว่า มีความชัดเจนของกลยุทธ์และแผนงานค่อนข้างน้อย ทำให้เกิดการวางเป้าหมายที่ไม่ชัดเจนโครงสร้างองค์กรมีลำดับที่มากเกินไปส่งผลให้การดำเนินการ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานเกิดความล่าช้า มีรูปแบบการบริหารสั่งการหลายด้าน บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และมีความสามารถไม่ตรงต่อการปฏิบัติงาน การดำเนินงานในตำแหน่งต่าง ๆ ขาดจิตสำนึกในวิชาชีพ ดำเนินงานไม่มีมาตรฐาน ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง รูปแบบการบริหารควรมีการกระจายอำนาจตามระดับขั้นของโครงสร้างองค์กร ควรให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานในการตัดสินใจ รวมถึงควรมีการเรียนรู้เพิ่มเติมและพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารงานในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1852 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6401735002.pdf | 4.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.