Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1849
Title: ECOTOURISM MANAGEMENT MODEL DEVELOPMENT BY COMMUNITY'S PARTICIPATION IN NAM ET-PHOU LOUEY NATIONAL PARK LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC
การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Authors: Sounantha Chounlamany
Sounantha Chounlamany
Pawinee Areesrisom
ภาวิณี อารีศรีสม
Maejo University
Pawinee Areesrisom
ภาวิณี อารีศรีสม
pawinee@mju.ac.th
pawinee@mju.ac.th
Keywords: การพัฒนา
รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การมีส่วนร่วมของชุมชนในอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย
development
ecotourism management model
community participation in Nam Et-Phou Louey national park
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to: 1) explore socio-economic attributes of communities that were involved in ecotourism in Nam Et-Phou Louey national park, Lao P.D.R.; 2) analyze potential of ecotourism spots based on community participation; 3) investigate an ecotourism management model in the national park; 4) investigate factors effecting the ecotourism management model based on community communication; and 5) explore problems encountered and suggestions of key informants.  A set of questionnaires was used for data collection administered with 275 people living and earning a living in the area of Nam Et-Phou Louey national park.  Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression.  Besides, focus group discussion was conducted with 14 personnel of concerned agencies. Results of the study revealed that most of the respondents were male, 31-40 years, elementary school graduates and married.  They maily did farming with a monthly income range of 500,001-750,000 kips.  They had been living in Nam Et-Phou Louey national park for 20 years and above.  It was found that tourists visited the national parks with their family or relatives and there was a tendency of revisit. As a whole, potential of ecotourist spots there was found at a high level (mean=3.86).  Based on its detail, the respondents had a high level of an agreement based on the following: 1) value of tourist attractions (mean=4.19); 2) management (mean=4.04); 3) reputation (mean=3.99); 4) community participation (mean=3.88); 5) convenience in access (mean=3.88); 6) environmental condition (mean=3.69); 7) convenient facility (mean=3.65); and limitation in tourist accommodation (mean=3.54), respectively.  Most of the respondents had a high level of an agreement to the model of ecotourism management (mean=3.61).  Based on its detail, the following were found at a high level of an agreement: 1) nature of the national park (mean=4.16); 2) socio-economic aspect (mean=4.14); 3) arts and culture (mean=4.00); 4) physical traits (mean=3.84); and 5) knowledge and consciousness about tourism value (mean=3.71), respectively.  However, two aspects were found at a moderate level: life and assets security (mean=2.78) and maintenance of environmental quality (mean=2.68).  The following were found to have an effect on the model of ecotourism management based on community participation with a statistical significant level (Sig.F=0.000): age, educational attainment, income, and potential of tourist attractions (positive variables).  Eight independent variables could predict transformation of the dependent variable for 81.87% (R2=0.8187) while another 18.13% were from other factors. The following were problems encountered: transportation in the rainy season; convenience facility (e.g. telephone signal, wireless network signal and eatery) and accommodation.  For suggestions, it included the following: improvement of access to the national park; security guard shifting; public relations point; limitation of a number of tourists each day; and improvement of community participation e.g. income generation, forest and environmental protection, floral fauna protection, etc.  All of these could enrich ecotourism in Lao P.D.R.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และทางสังคม ของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) วิเคราะห์ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย 3) ศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุทยานแห่งชาติน้ำเเอดภูเลย 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย และ 5) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยและประกอบอาชีพในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำเเอดภูเลย จำนวน 275 คน ด้วยแบบสอบถาม และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง 14 คน ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 31–40 ปี ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 500,001–750,000 กีบ ส่วนใหญ่มีระยะเวลาอยู่อาศัยในชุมชน 20 ปีขึ้นไป นักท่องเที่ยวมีลักษณะของการท่องเที่ยวมากับครอบครัว/เครือญาติ ส่วนมากชอบอุทยานแห่งชาติน้ำแอด-ภูเลย และมีแนวโน้มที่จะกลับมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลยอีกครั้ง ผลการศึกษาระดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมทุกด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยรวม 3.86 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับศักยภาพเห็นด้วยมากทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ค่าเฉลี่ย 4.19 ด้านการบริหารจัดการ ค่าเฉลี่ย 4.04 ด้านความมีชื่อเสียง ค่าเฉลี่ย 3.99 ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.88 ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ค่าเฉลี่ย 3.88 ด้านสภาพแวดล้อม ค่าเฉลี่ย 3.69 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ค่าเฉลี่ย 3.65 และด้านข้อจำกัดในการรองรับนักท่องเที่ยว ค่าเฉลี่ย 3.54 ตามลำดับ ผลการศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ระดับรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศรวมทุกด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยรวม 3.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเห็นด้วยในระดับมาก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย ค่าเฉลี่ย 4.16 ด้านเศรษฐกิจและสังคม ค่าเฉลี่ย 4.14  ด้านศิลปวัฒนธรรม ค่าเฉลี่ย 4.00  ด้านลักษณะทางกายภาพ ค่าเฉลี่ย 3.84  ด้านการให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในคุณค่าของการท่องเที่ยว ค่าเฉลี่ย 3.71 และมีระดับรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ค่าเฉลี่ย 2.78 และด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ย 2.68 ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า ค่า Sig.F เท่ากับ 0.000 แสดงว่า มีตัวแปรอิสระอย่างน้อย 1 ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับตัวแปรตาม และเมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่มีผลต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่ามีทั้งหมด 4 ตัวแปร โดยเป็นตัวแปรที่มีผลทางบวก คือ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งตัวแปรอิสระทั้งหมด 8 ตัวแปร สามารถพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามได้ ร้อยละ 81.87 (R2=0.8187) ขณะที่อีกร้อยละ 18.13 มาจากปัจจัยอื่น ๆ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการคมนาคม เช่น การเดินทางเข้าอุทยานในช่วงฤดูฝน มีการจำกัดการเข้าอุทยาน ทำให้เสียโอกาสในการเข้าอุทยาน และปัญหาด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณเครือข่ายแบบไร้สาย รวมถึงจำนวนที่พัก ร้านอาหาร และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักท่องเที่ยว เป็นต้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่แนะนำให้มีการแก้ไขปรับปรุงคมนาคมให้มีความปลอดภัย รวมถึงเสนอให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแหล่งเงินทุนในการปรับปรุงเส้นทางการเข้าถึงอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย และเสนอให้มีการจัดเจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้านผลัดเปลี่ยนดูแลอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย นอกจากนี้ควรมีการเพิ่มขีดความสามารถในการบริการนักท่องเที่ยว มีจุดประชาสัมพันธ์ที่อำนวยความสะดวกต่อนักท่องเที่ยว รวมถึงการกำหนดระยะเวลาและจำนวนคนที่จะเข้าใช้บริการได้อย่างชัดเจน การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยเฉพาะในแง่ของการบริหารจัดการ การบริการ การสร้างรายรับให้ชุมชน การคุ้มครองป่าไม้ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองสัตว์ป่าในเขตอุทยาน เป็นรูปแบบที่ดีและมีความสำคัญ ซึ่งสามารถนำรูปแบบดังกล่าวนี้ไปปรับใช้กับการท่องเที่ยวอื่น ๆ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1849
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6401535006.pdf10.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.