Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1847
Title: | GUIDELINES FOR COMMUNITY SUSTAINABLE RESETTLEMENTMANAGEMENT UNDER NAMTHEUN 2 ELECTRICITYKHAMMOUAN IN LAO แนวทางการจัดการการตั้งถิ่นฐานใหม่อย่างยั่งยืนของชุมชนภายใต้โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเทิน 2 แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
Authors: | Salika Onsy Salika Onsy Koblap Areesrisom กอบลาภ อารีศรีสม Maejo University Koblap Areesrisom กอบลาภ อารีศรีสม koblap@mju.ac.th koblap@mju.ac.th |
Keywords: | แนวทางการบริหารจัดการ การตั้งถิ่นฐานใหม่ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเทิน 2 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว management guidelines resettlement Tern 2 Hydroelectric Power Project Laos P.D.R. |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | This study was conducted to investigate: 1) Socio – economic attributes of people in communities under the Tern 2 Hydroelectric Power Project; 2) current management of the people; 3) management guidelines of the people in the communities; and 4) problems encountered and suggestions of the people about the management. A set of questionnaires was used for data collection administered with 350 people and 21 local leaders in the communities. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics, One-Way ANOVA and content analysis.
Results of the study revealed that most of the respondents were female, 30 – 39 years old, and lower secondary school graduate and lower. Most of them were agriculturists and their household’s monthly income was less them 5,000 baht. The respondent’s original places of residence were in Khoonkham and Nakai towns and most of them were Buddhists. Their important cash crops included rice and vegetable and water sources / forest resources were important to their communities. As a whole, the respondents agreed to the management of the communities at a high level (x̄ = 3.52). Based on it’s details, the following were found at a high level: 1) basic structure management (x̄=4.15); 2) land allocation (x̄ = 4.06); 3) procurement of water sources for consumption (x̄ = 4.05); 4) coordination (x̄ = 3.98); 5) career promotion in the communities (x̄ = 3.86); 6) peace and safety (x̄ = 3.75); 7) tradition, culture and beliefs (x̄ = 3.71); and 8) health care promotion (x̄ = 3.69), moderate level (x̄ = 2.99).
As a whole, the respondent agreed to the guidelines for the management of the communities in all aspects at a high level (x̄ = 3.73). Based on it’s the following were found at a high level: 1) performance (x̄ = 3.83); 2) management (x̄ = 3.77); 3) management structure (x̄ = 3.75); 4) skills, knowledge and capability (x̄ = 3.74); 5) strategies (x̄ = 3.73); 6) values (x̄ = 3.70); and 7) personnel (x̄ = 3.69), respectively. For problems encountered, basic structure management was found most (community safety, hygiene, health care and school establishment) which the government sector must take care of it. Besides, the following problems were found: no garbage sorting, inappropriate garbage disposal, and careers of people in the communities. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของประชาชน 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการในปัจจุบันของประชาชน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการของประชาชนในชุมชน และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการของชุมชนภายใต้โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเทิน 2 แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนในชุมชนภายใต้โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเทิน 2 แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 350 ราย และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี มีการศึกษาในระดับชั้นมัธยมต้นหรือต่ำกว่า ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ส่วนใหญ่ประชาชนมีรายได้ในครัวเรือนต่ำกว่า 5,000 บาท โดยมีถิ่นที่อยู่เดิมก่อนเข้ามาอยู่ในชุมชน คือ เมืองคูณคำและเมืองนากาย นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว และพืชผัก โดยแหล่งน้ำและทรัพยากรป่าไม้ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญกับชุมชน ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการของชุมชนภายใต้โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเทิน 2 ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการของชุมชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ค่าเฉลี่ยรวม 3.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีระดับความคิดเห็นด้วยมาก 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน (ค่าเฉลี่ย 4.15) การจัดสรรที่ดิน (ค่าเฉลี่ย 4.06) ด้านการจัดหาแหล่งน้ำอุปโภคและบริโภค (ค่าเฉลี่ย 4.05) ด้านการประสานงาน (ค่าเฉลี่ย 3.98) ด้านการส่งเสริมอาชีพในชุมชน (ค่าเฉลี่ย 3.86) ด้านการป้องกันความสงบและความปลอดภัย (ค่าเฉลี่ย 3.75) ด้านประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อ (ค่าเฉลี่ย 3.71) และด้านการส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย (ค่าเฉลี่ย 3.69) ตามลำดับ ส่วนระดับความคิดเห็นระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล (ค่าเฉลี่ย 2.99) แนวทางการบริหารจัดการของชุมชนรวมทุกด้าน พบว่าประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย 3.73) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทั้ง 7 ด้าน ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ได้แก่ ระบบการปฏิบัติงาน (ค่าเฉลี่ย 3.83) รูปแบบการบริหารจัดการ (ค่าเฉลี่ย 3.77) ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการ (ค่าเฉลี่ย 3.75) ด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ (ค่าเฉลี่ย 3.74) ด้านกลยุทธ์ (ค่าเฉลี่ย 3.73) ด้านค่านิยม (ค่าเฉลี่ย 3.70) และด้านบุคลากร (ค่าเฉลี่ย 3.69) ตามลำดับ ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการของชุมชนภายใต้โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเทิน 2 พบว่า ปัญหาในด้านการบริหารจัดการชุมชนมากที่สุด ได้แก่ ด้านการบริหารโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ความปลอดภัยของชุมชน สุขอนามัย การรักษาอนามัย และการจัดตั้งสถานศึกษา เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ประชาชนต้องการให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการช่วยดูแล นอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลโดยพบว่า ไม่มีการคัดแยกขยะ และจัดการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลอย่างถูกสุขลักษณะ และปัญหาด้านอาชีพของประชาชนในชุมชน |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1847 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6401535004.pdf | 4.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.