Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1840
Title: | THE MANAGEMENT DEVELOPMENT GUIDLINES OF THE ASSAMDOI PU MUEN TEA COMMUNITY ENTERPRISE GROUP UNDERTHE ROYAL TEA FACTORY HIANG THAI THAMRONG BORDERPATROL POLICE SCHOOL, MAE SAO SUB-DISTRICT,MAE-AI DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาอัสสัมดอยปู่หมื่น ภายใต้โรงผลิตชาพระราชทาน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฮียงไทยธำรงค์ ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ |
Authors: | Padungkiat Pandaranandaka ผดุงเกียรติ ปัณฑรนนทกะ Phanit Nakayan ผานิตย์ นาขยัน Maejo University Phanit Nakayan ผานิตย์ นาขยัน phanit@mju.ac.th phanit@mju.ac.th |
Keywords: | วิสาหกิจชุมชน การบริหารจัดการกลุ่ม ชาอัสสัม community enterprise group management Assam tea |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | This study aimed to explore community enterprise context and management development of Doi Pu Muen Assam tea community enterprise, Chiang Mai province. The sample group consisted of 20 members of the community enterprise. In-depth interview, focus group discussion and questionnaire were used for data collection.
Results of the study revealed that the community enterprise was established in 2018 encouraged by Princess Sirindhorn due to the suffering of the people there. The princess donated her personal funds for the establishment of the tea production factory at the Hiang Thai Thamrong Border Patrol Police School to the community enterprise. According to the group management based on 4M’s, it was found as follows: 1) man (people); the group was motivated by faith in the royal institution, enough group member for operation but lacked of unity; 2) money (financial); group members lacked of knowledge and understanding, accounting and break-even point established in the sale of products, lack of accounting knowledge and disbursement was not transparent; 3) materials; the group was ready in terms of materials, equipment and machinery but had no plan to fully make use of it; 4) management; a work manual had been prepared but there was no work plan, not working systematically; no marketing plan; and no coordination with government agencies and the private sector. As a whole, the group management was found at a low level in all aspect. The following were guidelines for improving the group management: 1) encouragement of unity among group members; 2) change the new committee and train more knowledge; 3) concerned government agencies should extend knowledge about accounting; 4) the disbursement must be systematic or transparent; 5) increase standards of product certification; 6) encouragement of marketing and coordination with the government/private sectors; and 7) production of the tea which meets needs of consumers together with production standard. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และพัฒนาการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาอัสสัมดอยปู่หมื่น กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 20 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การใช้แบบสอบถามประเมินศักยภาพการบริหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาอัสสัมดอยปู่หมื่น เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2561 จากพระราชกระแสของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงทราบความเดือดร้อนของราษฎร และได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างโรงผลิตชาพระราชทานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฮียงไทยธำรงค์ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจ การบริหารจัดการของกลุ่มตามหลัก 4 M’s พบว่า 1) ด้านคน กลุ่มมีแรงจูงใจจากความศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ สมาชิกกลุ่มมีเพียงพอต่อการทำงาน แต่มีปัญหาความสามัคคี และความรู้ความเข้าใจของสมาชิกกลุ่ม 2) ด้านการเงิน มีการจัดทำบัญชี และจุดคุ้มทุนในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แต่ขาดความรู้ด้านบัญชี และการเบิกจ่ายไม่โปร่งใส 3) ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร กลุ่มมีความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร แต่ไม่มีแผนการใช้อุปกรณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ 4) ด้านการบริหาร กลุ่มมีการกำหนดตำแหน่งหน้าที่ สมาชิกรู้วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง มีการจัดทำคู่มือการทำงาน แต่กลุ่มไม่มีการวางแผนในการทำงาน ทำงานไม่เป็นระบบ ไม่มีการวางแผนการตลาด และไม่มีการประสานงานกับหน่วยราชการ หรือภาคเอกชน ซึ่งเมื่อประเมินศักยภาพการบริหารตามหลัก 4 M’s ของกลุ่มในภาพรวมคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับ น้อย แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่ม คือ 1) สร้างความสามัคคีของสมาชิก 2) เปลี่ยนคณะกรรมการชุดใหม่ และฝึกอบรมความรู้เพิ่มเติม 3) บริหารจัดการเงิน โดยการให้หน่วยงานราชการมาให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชี 4) กลุ่มต้องมีการจัดทำระบบการเบิกจ่ายเงินให้โปร่งใส 5) เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์โดยการปรับปรุงรูปแบบสร้างเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ และเพิ่มมาตรฐานในการรับรองผลิตภัณฑ์ 6) กลุ่มต้องมีการวางแผนดำเนินงาน ทำงานให้เป็นระบบ มีการทำการตลาด และประสานงานกับหน่วยงานราชการหรือภาคเอกชนในการเข้ามาช่วยเหลือส่งเสริมการใช้เครื่องมือภายในโรงผลิตชาอย่างคุ้มค่าคุ้มทุน และ 7) การจัดทำผลิตภัณฑ์ชาที่มีมาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1840 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6401417006.pdf | 5.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.