Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/184
Title: | Sustainable Cultural Tourism Management of the That Ing Hang Village,Kaysonphomvihane District, Savannakheth Province,Lao People's Democratic Republic การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของบ้านธาตุอิงฮังเมืองไกสอนพรมวิหาร แขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
Authors: | Souvannaly Xayaseun Souvannaly Xayaseun Jirachai Yomkerd จิระชัย ยมเกิด Maejo University. School of Tourism Development |
Keywords: | Environmental Factors Participation Sustainable Cultural Tourism Management |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | Titie Sustainable Cultural Tourism Management of That Ing Hang Village,
Kaysonphomvihane District, Savannakhet Province,
Lao People's Democratic Republic
Author Mr. Souvannaly Xayaseun
Degree Master of Arts in Tourism Development
Advisory Committee Chairperson Dr. Jirachai Yomkerd
The objectives of this study qualitative and quantitative were to: 1) make a survey on cultural tourism resources in That Ing Hang village, Kaysonphomvihane district, Savannakhet province, Lao PDR, 2) analyze people opinions about environmental factors on sustainable cultural tourism management in That Ing Hang village, 3) indicate a level of people participation in sustainable cultural tourism management and 4) compare a level of people participation in sustainable cultural tourism management of That Ing Hang village. Interview (Qualitative data) was conducted with concerned personal taking care of tourism management in the That Ing Hang village. e.g. cultural tourism executives and press conference section personnel. For quantitative data, a set of questionnaires (with a reliability value at 0.931 and 0.958 for people opinions about environmental factors and people participations, respectively) was used for data collection administered with 190 persons living in That Ing Hang village. Obtained data were analyzed by using The Statistical Package for the Social Sciences Program. Results of the study were as follows:
Cultural tourism resources in That Ing Hang village, included Ing Hang pagoda, historical background of the village, diverse traditions which were unique, and way of life of local people. Findings showed that most of the key informants were male, 41-50 years old, married, elementary school graduates, rice farmers and their net income per month was 3,000 - 6,000 baht. As a whole, the respondents had a moderate level of their opinions about environmental factors on sustainable cultural tourism management in terms of 5 aspects: 1) economy, 2) society, 3) culture, 4) environment, and 5) technology. As a whole, people participation in the management of sustainable cultural tourism was also found at a moderate level in terms of the 5 aspects. Besides, it was found that sex, age, educational attainment, occupation, and monthly income had no statistically significant difference at 0.05 of an effect on the people participation.
Regarding people participation in decision-making, based on sex, age, marital status, occupation, and income, there was statistically significant difference at 0.05. For project implementation based on occupation, and benefit sharing, it was found the respondents participated in the activities at a difference level with a statistical significance level at 0.50
Keywords: environmental factors, participation, sustainable cultural tourism management ชื่อเรื่อง การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของบ้านธาตุอิงฮัง เมืองไกสอนพรมวิหาร แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ชื่อผู้เขียน Mr. Souvannaly XAYASEUN ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก อาจารย์ ดร.จิระชัย ยมเกิด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในบ้านธาตุอิงฮัง เมืองไกสอนพรมวิหาร แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) วิเคราะห์ความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยสภาพแวดล้อมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของบ้านธาตุอิงฮัง 3) ระบุระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของบ้านธาตุอิงฮัง และ4) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของบ้านธาตุอิงฮัง การทำวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลที่มีหน้าที่ในการดูแลเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวในบ้านธาตุอิงฮัง เช่น คณะบริหารการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และพนักงานแผนกแถลงข่าว วัฒนธรรมและท่องเที่ยวแขวงสะหวันนะเขต และการทำวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ที่ครอบคลุมเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและผ่านการทดสอบความตรงในเนื้อหาและทดสอบความเชื่อมั่น ผลการทดสอบความเชื่อมั่นด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยสภาพแวดล้อมมีค่าเท่ากับ 0.931 และการมีส่วนร่วมมีค่าเท่ากับ 0.958 และเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในบ้านธาตุอิงฮัง จำนวน 190 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ประมวลทางสถิติด้วยโปรแกรมการวิเคราะห์ทางสถิติในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในบ้านธาตุอิงฮัง อาทิ พระธาตุอิงฮัง ประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ประเพณีอันหลากหลาย ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ รวมถึงวิถีชีวิตของประชาชนเช่น บุญเฉลิมฉลองพระธาตุอิงฮัง พิธีกรรมเลี้ยงบ้าน หรือผีมะเหสักหลักคุณ และงานบุญประเพณีทั้งสิบสองเดือน ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41-50 ปี สถานภาพสมรสแล้ว วุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกร (ทำนา) และรายได้สุทธิต่อเดือนระหว่าง 3,001- 6,000 บาทต่อเดือน ผลการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยสภาพแวดล้อมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของบ้านธาตุอิงฮัง โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยี ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของบ้านธาตุอิงฮัง โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้ พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมในระดับที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการดำเนินการ จำแนกตามอาชีพ พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และด้านการรับผลประโยชน์จำแนกตามรายได้ พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ: ปัจจัยสภาพแวดล้อม, การมีส่วนร่วม, การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน |
Description: | Master of Arts (Master of Arts (Tourism Development)) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการท่องเที่ยว)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/184 |
Appears in Collections: | School of Tourism Development |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5809302012.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.