Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1837
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorThanakrit Taveevongen
dc.contributorธนกฤต ทวีวงษ์th
dc.contributor.advisorJukkaphong Poung-ngamchuenen
dc.contributor.advisorจักรพงษ์ พวงงามชื่นth
dc.contributor.otherMaejo Universityen
dc.date.accessioned2023-11-17T03:59:22Z-
dc.date.available2023-11-17T03:59:22Z-
dc.date.created2023-
dc.date.issued2023-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1837-
dc.description.abstractNowadays, people pay more attention to the consumption of non-toxic food, including cow's milk products. However, most dairy farmers could be produced raw milk for dairy cooperatives only in GAP standards. Therefore, it is interesting to know the reasons and the need to change dairy farming to meet organic standards. The purpose of this research was to study personal, economic, social and psychological characteristics of farmers, needs and factors relating farmers’ needs on organic dairy farming as well as opinions on standards for raising organic dairy farming, problems, obstacles and farmers’ suggestions for organic dairy farming. Data were collected by interview schedule and a set of questions with members of Chiang Mai Fresh Milk Group, Lamphun Province from Mae Tha District 91 people, Ban Thi District 28 people, and Ban Hong District 27 people, totaling 146 people. Quantitative data were analyzed by descriptive and inferential statistics, and rationale content analysis for qualitative data. The results reveal that most of the dairy farmers (87.00%) were male, with an average age of 47.26 years old, educated at the high school level (34.20%) and were married (68.50%). Majority of dairy farmers (96.60) were engaged in agriculture as a main occupation with no supplement occupations (78.10%). Farmers earn an average of 663,356.16 baht per year from dairy farming, 33,179.45 baht per year from non-dairy farming, and they own an average of 3.60 rai of land area for dairy farming. While dairy farmers were most received of dairy farming information from online media (54.80%). Most of them (82.20%) had attended training on organic farming and had been 8.02 years of members of the Chiang Mai Fresh Milk Group. Additionally, found that the dairy farmers had a moderate attitude towards organic farming (mean 3.25), with moderate level of readiness for organic dairy farming (mean 3.36), and their need for organic dairy farming was at a high level (mean 3.81). Moreover, found that 7 factors were related to the farmers’ needs for organic dairy farming namely: gender, age, education level. average annual of non-dairy farming income, perceiving of dairy farming information (online media), attended the training of organic farming, and attitude towards organic farming. The dairy farmers were recognized the 8 organic livestock standards of the Department of Livestock were quite difficult to implement. Furthermore, high cost, long adjustment period, and insufficient supply of organic feed are the main concern for farmers. However, funding loans providing, training, and procurement of organic animal feed of Chiang Mai Fresh Milk Co., Ltd. would help resolve the said problems.en
dc.description.abstractปัจจุบันประชาชนให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารปลอดสารพิษกันมากขึ้น รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากนมวัวด้วย แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมส่วนใหญ่สามารถผลิตน้ำนมดิบเพื่อส่งสหกรณ์โคนมได้เพียงมาตรฐาน GAP เท่านั้น ดังนั้นการทราบถึงเหตุผลและความต้องการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงโคนมเพื่อเข้าสู่มาตรฐานโคนมอินทรีย์จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และลักษณะทางจิตวิทยาของเกษตรกร ความต้องการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการเลี้ยงโคนมอินทรีย์ ตลอดจนความคิดเห็นต่อมาตรฐานการเลี้ยงโคนมอินทรีย์ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการเลี้ยงโคนมอินทรีย์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และชุดคำถามกับสมาชิกกลุ่มเชียงใหม่เฟรชมิลค์จังหวัดลำพูนจากอำเภอแม่ทา 91 คน อำเภอบ้านธิ 28 คน อำเภอบ้านโฮ่ง 27 คนรวม 146 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเหตุผลสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87.00) เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.26 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 34.20) และสมรสแล้ว (ร้อยละ 68.50) ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักด้านเกษตรกรรม (ร้อยละ 96.60) และไม่มีอาชีพรอง (ร้อยละ 78.10) โดยเกษตรกรมีรายได้จากการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 663,356.16 บาทต่อปี มีรายได้นอกเหนือจากการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 33,179.45 บาทต่อปี และมีการถือครองที่ดินเพื่อเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 3.60 ไร่ ในขณะที่เกษตรกรมีการรับรู้ข่าวสารด้านการเลี้ยงโคนมจากสื่อออนไลน์มากที่สุด (ร้อยละ 54.80) โดยส่วนใหญ่เคยเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 82.20) และเป็นสมาชิกลุ่มเชียงใหม่เฟรชมิลค์เฉลี่ย 8.02 ปี และยังพบว่าเกษตรกรมีทัศนคติต่อการทำเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.25) มีความพร้อมในการเลี้ยงโคนมอินทรีย์อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.36) มีความต้องการเลี้ยงโคนมอินทรีย์ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.81) และพบ 7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการเลี้ยงโคนมอินทรีย์ของเกษตรกร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อปีนอกเหนือจากการเลี้ยงโคนม การรับรู้ข่าวสารด้านการเลี้ยงโคนม (ออนไลน์) การเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ และทัศนคติต่อการทำเกษตรอินทรีย์ โดยเกษตรกรมีความคิดเห็นว่ามาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ 8 ด้านของกรมปศุสัตว์ค่อนข้างดำเนินการยาก อย่างไรก็ตามต้นทุนที่สูง การใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนนาน และแหล่งอาหารสัตว์อินทรีย์ไม่เพียงพอเป็นปัญหาหลักที่เกษตรกรกังวล โดยการให้บริการกู้ยืมเงินทุน การอบรมให้ความรู้ และการจัดหาอาหารสัตว์อินทรีย์ของบริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์จำกัด จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้th
dc.language.isoth-
dc.publisherMaejo University-
dc.rightsMaejo University-
dc.subjectปัจจัยเชิงจิตวิทยาth
dc.subjectความต้องการเลี้ยงโคนมอินทรีย์th
dc.subjectกลุ่มเชียงใหม่เฟรชมิลค์th
dc.subjectบริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัดth
dc.subjectpsychological factorsen
dc.subjectneed for organic dairy farmingen
dc.subjectChiang Mai fresh milk group membersen
dc.subjectChiang Mai Fresh Milk Co. Ltd.en
dc.subject.classificationAgricultural and Biological Sciencesen
dc.subject.classificationAgriculture,forestry and fishingen
dc.titlePSYCHOLOGICAL FACTORS TOWARDS NEED ON ORGANIC DAIRY FARMING OF CHIANG MAI FRESH MILK MEMBERS GROUP IN LUMPHUN PROVINCEen
dc.titleปัจจัยเชิงจิตวิทยาต่อความต้องการเลี้ยงโคนมอินทรีย์ของสมาชิก กลุ่มเชียงใหม่เฟรชมิลค์จังหวัดลำพูนth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorJukkaphong Poung-ngamchuenen
dc.contributor.coadvisorจักรพงษ์ พวงงามชื่นth
dc.contributor.emailadvisorJukkaphong@mju.ac.th-
dc.contributor.emailcoadvisorJukkaphong@mju.ac.th-
dc.description.degreenameMaster of Science (Master of Science (Agricultural Extension and Rural Development))en
dc.description.degreenameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาชนบท))th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreediscipline-en
dc.description.degreediscipline-th
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6301433002.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.