Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/177
Title: | GUIDELINES FOR TRAINING MANAGEMENT BASED ON ASEAN CORE COMPETENCIES AND NEEDS FOR TRAINING OF TOURISM COMPANY PERSONNEL IN MUANG LUANGPRABANG, LUANGPRABANG PROVINCE, LAO PDR แนวทางการจัดการการฝึกอบรมตามสมรรถนะหลักอาเซียนและตามความต้องการในการฝึกอบรมของบุคลากรบริษัทท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
Authors: | Bounthavee Bounthachit Bounthavee Bounthachit Prayong Kusirisin ประยงค์ คูศิริสิน Maejo University. School of Tourism Development |
Keywords: | training, ASEAN core competency, training needs, tourism company |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: |
The objectives of this study were to: 1) investigate the core competency of the personnel of Muang Luangprabang tourism companies, Lao PDR; 2) explore the needs for training; and 3) determine the guidelines for the management of training. Questionnaire and interview were used for data collection administered with a sample group of 188 personnel of 93 Muang Luangprabang tourism companies which had been licensed to do tourism business in Luangprabang. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics i.e. frequency, percentage, mean, standard deviation, One-way Analysis of Variance and content analysis were employed in this study.
Results of the study revealed that most of the respondents were male, 30-34 years, bachelor’s degree holders, and had 1-5 years of work experience. Most of the respondents were tour leaders and receptionists. Based on 5 aspects of the core competencies under ASEAN common competency standards for tourism professionals (ACCSTP), it was found that the respondents had a high level in overall of all aspects ( x̄ = 3.92): work effectively with colleagues and customers had a high level ( x̄ = 4.13); work in a socially diverse environment had a high level ( x̄ = 3.92); implement occupational health and safety procedures had a high level ( x̄ = 3.88); comply with workplace hygiene procedures had a high level ( x̄ = 3.82); and development and improvement of knowledge about tourism industry had a high level ( x̄ = 3.86). Regarding the training needs, it was found that the executive respondents had needs for training on effective coordination technique and strategic planning on business at a highest level ( x = 4.27 and x = 4.26, respectively). Executive assistant respondents had a high level of needs for training whereas personnel respondents had a highest level of needs for training on personal computer and internet ( x = 4.21). Regarding the comparision of the difference in core comppetencncies of ASEAN based on 5 aspects and needs for training of tourism personnel in Luangprabang, there was statistically singnificant difference (0.05) in work pertormance competency in accordance with the criterion of ASEAN based on job position. However, the difference in job position had no effect on the difference in needs for training with a statistical signiticance level at 0.05
Results of the content analysis showed that the respondents needs for training in 5 aspects as follows: 1) skills in coordination and communication; 2) competency in reding, writing, and speaking English; 3) capability in the indication and assessment of emergency situations; 4) task operation in accordance with safety standards; and 5) relationships between tourism industry and community roles and improvement of knowledge about tourism industry in order to be up-to-date. การวิจัยในเรื่องแนวทางการจัดการการฝึกอบรมตามสมรรถนะหลักอาเซียนและตามความต้องการในการฝึกอบรมของบุคลากรบริษัทท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของบุคลากร และความต้องการฝึกอบรมของบุคลากรบริษัทท่องเที่ยว อีกทั้งเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการการฝึกอบรมตามสมรรถนะหลักอาเซียนและตามความต้องการในการฝึกอบรมของบุคลากรของบริษัทท่องเที่ยวในเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 คน ของบริษัทท่องเที่ยว 93 บริษัท ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจบริษัทท่องเที่ยวในเมืองหลวงพระบาง โดยเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 30-34 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีสถานภาพสมรสแล้ว ด้านการทำงานของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีประสบการณ์อยู่ในช่วง 1-5 ปี มีตำแหน่งงานเป็นผู้นำเที่ยวและพนักงานแผนกต้อนรับ และดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปัจจุบันในอยู่ช่วง 1-5 ปี สมรรถนะหลักของบุคลากรในบริษัทท่องเที่ยวตามมาตรฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน 5 ด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.92) โดยด้านการทำงานอย่างมีประสิทธิผลกับเพื่อนร่วมงานและลูกค้ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.13), ด้านการทำงานกับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายในสังคมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.92), ด้านการปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในการทำงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.88), ด้านการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติด้านสุขลักษณะสถานที่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.82) และด้านความสามารถในการพัฒนาและปรับปรุงความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ทันกับสภาพการณ์ปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.86) ความต้องการฝึกอบรมของบุคลากรพบว่า ระดับผู้บริหารมีความต้องการฝึกอบรมด้านเทคนิคการประสานงาน และการพัฒนาและจัดการด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ของธุรกิจ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.27 และ x̄ = 4.26 ตามลำดับ) ในระดับผู้ช่วยผู้บริหารมีความต้องการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก และในระดับเจ้าหน้าที่พบความต้องการฝึกอบรมในด้านทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.21) ผลเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะหลักอาเซียนทั้ง 5 ด้านและความต้องการฝึกอบรมของตำแหน่งงานที่ต่างกันของบุคลากรท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบาง พบว่า สมรรถนะการทำงานตามเกณฑ์อาเซียนจำแนกตามตำแหน่งงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งงานที่ต่างกัน มีความต้องการฝึกอบรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า ความต้องการฝึกอบรมในสมรรถนะด้านที่ 1 คือ ทักษะการประสานงานและการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และการบริหารและการจัดการองค์กร สมรรถนะด้านที่ 2 คือ ความสามารถในการอ่าน เขียน และพูดภาษาอังกฤษ การจัดการกับลูกค้าต่างวัฒนธรรม และการบริหารความขัดแย้ง สมรรถนะด้านที่ 3 คือ สามารถระบุและประเมินสถานการณ์ฉุกเฉิน สมรรถนะด้านที่ 4 คือ การปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัย และการประเมินและการจัดการความเสี่ยงด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม และในสมรรถนะด้านที่ 5 คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกับบทบาทของชุมชน และการพัฒนาและปรับปรุงความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ทันกับสภาพการณ์ คำสำคัญ : การฝึกอบรม, สมรรถนะหลักอาเซียน, ความต้องการฝึกอบรม, บริษัทท่องเที่ยว |
Description: | Master of Arts (Master of Arts (Tourism Development)) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการท่องเที่ยว)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/177 |
Appears in Collections: | School of Tourism Development |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5909302006.pdf | 5.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.