Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/173
Title: | FACTORS TO CREATE COMPETITIVE ADAVANTAGE IN
CREATIVE TOURISM MARKETING FOR LAO KRANG TRIBE,
NAKORN PRATOM PROVINCE ปัจจัยการสร้างข้อได้เปรียบของการแข่งขันทางการตลาด ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม |
Authors: | Apinya Supich อภิญญา สุพิชญ์ Winitra Leelapattana วินิตรา ลีละพัฒนา Maejo University. School of Tourism Development |
Keywords: | การสร้างข้อได้เปรียบ สื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง advantage creation social media Lao Krang ethnic group |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The objectives of this study were to : 1) components of area potential in the management of creative tourism of Lao Krang ethnic group in Nakhon Pathom province; 2) components of management of creative tourism of Lao Krang ethnic group in Nakhon Pathom province; 3) components of perception related to creative tourism of Lao Krang ethnic group in Nakhon Pathom province of tourists through online social media; and 4) determine advantage creation of marketing competition based on creative tourism of the Lao Krang ethnic group. A set of questionnaires was used for data collection administered with 300 Lao Krang people and 400 tourists. Besides, an interview schedule was conducted with 13 personnel of concerned public agencies and 12 community leaders of the Lao Krang ethnic group (snowball sampling).
Results of the study revealed that the area potential in creative tourism management of the Lao Krang ethnic group based on tourist attraction had a highest average mean score and followed by creative tourism activities. Regarding the exploratory factor analysis : EFA, 6 new components were found : 1) the charm of the destination; 2) accommodation services; 3) tourism activities; 4) physical resource management; 5) accessibility features; and 6) accessibility services. For creative tourism management of the Lao Krang ethnic group, having strong leaders and teamwork was found to have a highest average mean score, and followed by having a farm of tourism. Based on the exploratory factor analysis, 9 new components were found: 1) leadership characteristics; 2) budget management; 3) targeting; 4) relationship of network partners; 5) tourism process; 6) scope of operations; 7) form of communication; 8) community cooperation; and 9) marketing strategy. For creative tourism perception of the Lao Krang ethnic group, properties of stimulus through youtube media using was found to have a highest average mean score, and followed by phychological traits through youtube media using. According to the exploratory factor analysis, 4 new components of advantage creation were found: 1) using formats through line media; 2) using formats through instagram media; 3) using formats through youtube media; and 4) using formats through facebook media.
Regarding the analysis of factors on advantage creation of creative tourism marketing competition of the Lao Krang ethnic group, it was found that there area potential was ready in unique tourism resources. Tourists could do tourism activities with them. Also, it was ready in accommodation, convenience facilities and access to their tourist spots. In addition, their creative tourism management had planning to prepare readiness to accommodate tourists. This included the management of organization, the preparation of the right personnel to the right jog, effective coordination, community participation, creating relationships among concerned networks, developing tourism form to be unique, and budget allocation for tourism management/developing appropriate marketing strategies. However, the Lao Krang ethnic group should decentralize authority for appropriate coordination and operation to create advantage in marketing completion with a highest efficiency. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของศักยภาพพื้นที่ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม วิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม วิเคราะห์องค์ประกอบการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม ของนักท่องเที่ยวผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และเพื่อกำหนดปัจจัยการสร้างข้อได้เปรียบของการแข่งขันทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ลักษณะ คือ 1) แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จำนวน 300 คน และกลุ่มที่ 2 นักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน และ 2) แบบสัมภาษณ์ โดยเลือกการเก็บกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling) ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้นำชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จำนวน 12 คน ผลการศึกษาด้านศักยภาพพื้นที่ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ศักยภาพด้านสิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว และรองลงมา คือ ศักยภาพด้านกิจกรรม ตามลำดับ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) พบองค์ประกอบใหม่ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เสน่ห์ของจุดหมายปลายทาง 2) การให้บริการบ้านพักแรม 3) รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว 4) การบริหารทรัพยากรกายภาพ 5) คุณสมบัติในการเข้าถึง และ 6) การบริการการเข้าถึง ผลการศึกษาด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการด้านการมีผู้นำและทีมงานที่เข้มแข็ง และรองลงมา คือ การจัดการด้านการมีรูปแบบการท่องเที่ยว ตามลำดับ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) พบองค์ประกอบใหม่ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณลักษณะของผู้นำ 2) การบริหารงบประมาณ 3) การกำหนดเป้าหมาย 4) ความสัมพันธ์ของภาคีเครือข่าย 5) กระบวนการท่องเที่ยว 6) ขอบข่ายการดำเนินงาน 7) รูปแบบการติดต่อสื่อสาร 8) ความร่วมมือของชุมชน และ 9) กลยุทธ์ทางการตลาด ผลการศึกษาด้านการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐมของนักท่องเที่ยวผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การรับรู้ด้านคุณสมบัติของสิ่งเร้าผ่านการใช้รูปแบบสื่อยูทูบ และรองลงมา คือ การรับรู้ด้านลักษณะทางด้านจิตวิทยาผ่านการใช้รูปแบบสื่อยูทูบ ตามลำดับ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) พบองค์ประกอบใหม่ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การใช้รูปแบบผ่านสื่อไลน์ 2) การใช้รูปแบบผ่านสื่ออินสตาแกรม 3) การใช้รูปแบบผ่านสื่อยูทูบ และ 4) การใช้รูปแบบผ่านสื่อเฟซบุ๊ก ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการสร้างข้อได้เปรียบของการแข่งขันทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม พบว่า ศักยภาพพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง โดยนักท่องเที่ยวได้ร่วมทำกิจกรรมการท่องเที่ยวกับคนในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง รวมทั้งความพร้อมทางด้านที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวกและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ประกอบกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม ที่มีการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งด้านการจัดการองค์กร การจัดหาบุคลากรที่มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวให้มีเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของชุมชนกลุ่ม ชาติพันธุ์ลาวครั่ง พร้อมทั้งการจัดสรรเงินทุนในการบริหารจัดการท่องเที่ยวและการพัฒนากลยุทธ์ทางด้านการตลาดที่เหมาะสม ซึ่งมีการนำสื่อสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์และยูทูบ มาใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม แต่ทั้งนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งควรมีการกระจายอำนาจในการติดต่อประสานงานและการดำเนินงานให้มีความเหมาะสม เพื่อให้การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งสามารถสร้างข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด |
Description: | Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Tourism Development)) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาการท่องเที่ยว)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/173 |
Appears in Collections: | School of Tourism Development |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5809501007.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.