Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/172
Title: CROSS CULTURE COMMUNICATION MODEL OF VOLUNTEER TOURISM TOURISTS  IN CHIANGMAI PROVINCE
รูปแบบการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ ในจังหวัดเชียงใหม่
Authors: Hatairat Viwatronakit
หทัยรัตน์ วิวรรธน์รณกิต
Monsicha Inthajak
มนสิชา อินทจักร
Maejo University. School of Tourism Development
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์
นักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์
การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
จังหวัดเชียงใหม่
valunteer tourism
valunteer tourists
cross culture communication
Chiangmai province
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to : 1) explore traits volunteer tourists who sacrificed themselves to the public in Chiangmai province ; 2) indicate opinions of the volunteer tourists about their tourists about their tourism activities contributing to the public ; 3) analyze cross culture communication on tourism activities contributing to the public ; and 4) set a model of cross culture communication having an effect on the management of tourism activities contributing to the public.  The sample group consisted of 10 executives of private development organizations and personnel of tour companies bringing volunteer tourists to Thailand.  Besides, there were 384 foreign tourists doing tourism activities contributing to the public in Chiangmai province.  A structured interview schedule and a set of questionnaires were used for data collection.  Obtained data were analyzed by using percentage, frequency, mean, standard deviation, and multiple correlation co-efficiency. Results of the study revealed that traits of the foreign volunteer tourists in Chiangmai comprised the following : 1) time span of volunteer services at least two weeks for continuity of activities ; 2) experience learning Thai culture and creating pride, self confidence, positive thinking, etc., and 3) form of volunteer services – planning in advance to achieve the goals.  Regarding their opinions about volunteer services, if was found that outcomes of the services were very valuable.  This was followed by tourism activities, participation in volunteer services, and time span of volunteer services.  It was found that, as a whole, cross culture communication in volunteer services was at a high level.  Based on its details, respectfulness in equity was found at a highest level, followed by resourcefulness, talent, cultural differences, communicative skills, and creativities. Findings showed a statistical significance level at 0.01 of the model of cross culture communication having an effect on the facilitation of volunteer service related to tourism activities.  Therefore, tourism agencies, entrepreneurs, development private organizations, tour companies and concerned tourism agencies can use results of the study as a guideline for developing appropriate and diverse activities on volunteer services.  This also includes effective communication to create knowledge and good understanding between foreign tourists and local people.  This well lead to the improvement of activities, project planning, marketing, and policies to cope with rapid changes and unexpected incidents.
งานวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ที่เข้ามาทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อระบุความความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ที่มีต่อการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมทางการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อกำหนดรูปแบบการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยประชากรก่อนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร องค์กรพัฒนาเอกชนและบริษัทนำเที่ยวผู้จัดนำอาสาสมัครจากต่างประเทศเดินทางมาทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 10 คน นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 384 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเจาะลึกเป็นรายบุคคล และแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ด้านคุณลักษณะของนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ที่เข้ามาทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ ประกอบด้วย ระยะเวลาในการบำเพ็ญประโยชน์ ควรมีระยะเวลาที่นานพออย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อประโยชน์ในเรื่องของความต่อเนื่องในการทำกิจกรรม และมีช่วงระยะเวลา ฤดูการณ์ที่เหมาะสม เพื่อความสะดวกในการเดินทาง และจัดกิจกรรม คุณลักษณะด้านประสบการณ์ที่ได้รับจากการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ คือการได้เรียนรู้วัฒนธรรมไทยที่มีความแตกต่าง และสร้างความภูมิใจและคุณค่าให้แก่ตนเอง ทำให้มีความคิดในเชิงบวก เป็นผู้ที่เปิดใจรับกับสิ่งใหม่ได้ดี ปรับตัวได้ดี มีความมั่นใจในตนเอง คุณลักษณะด้านรูปแบบที่เข้ามาร่วมกิจกรรมเชิงบำเพ็ญประโยชน์ ควรมีการวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า เป็นประโยชน์ และสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ คือ การท่องเที่ยวเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความยากลำบากกว่า และใช้เวลาท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่เกิดประโยชน์ได้ความรู้ และประสบการณ์ที่ดี ด้านความความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ที่มีต่อการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ พบว่า ด้านผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ มีค่ามาก รองลงมาได้แก่ ด้านกิจกรรมของการท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และด้านระยะเวลาของการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ส่วนด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมทางการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านการเคารพความเสมอภาค มีค่ามากสุด รองลงมาคือ ด้านการมีความสามารถในการเผชิญปัญหา ด้านความสามารถเฉพาะตน ด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม ด้านทักษะทางการสื่อสาร และด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ สำหรับรูปแบบการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ องค์กรพัฒนาเอกชนและบริษัทนำเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว สามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนา รูปแบบกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ ที่หลากหลาย เหมาะสม และพัฒนาด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ดีระหว่างนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ และเพื่อการปรับปรุงกิจกรรม แผนงาน การตลาด รวมไปถึงนโยบายต่างๆ สามารถรับมือกับกับการเปลี่ยนแปลง อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา
Description: Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Tourism Development))
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาการท่องเที่ยว))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/172
Appears in Collections:School of Tourism Development

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5809501006.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.