Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/169
Title: | PARTICIPATORY BUDDHIST ARTS CONSERVATION - BASED VOLUNTOURISM MODEL OF LAMPANG PROVINCE รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอนุรักษ์งานพุทธศิลป์อย่างมีส่วนร่วม ของจังหวัดลำปาง |
Authors: | Pannathat Kalaya ปัณณทัต กัลยา Yuttakarn Waiapa ยุทธการ ไวยอาภา Maejo University. School of Tourism Development |
Keywords: | การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร, พุทธศิลป์, อนุรักษ์ Voluntourism Buddhist arts Conservation |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The main purposes of this dissertation aimed to (1) scrutinize the potentialities and values of participatory Buddhist arts-based voluntourism in Lampang province in relations to its historical, social, and cultural contexts; (2) create vontuntourism activities served for transferring knowledge and awareness of participatory Buddhist arts-based voluntourism; (3) develop effective management of participatory Buddhist-based voluntourism, and (4) assess impacts of participatory Buddhist arts-based voluntourism. For research methodology, there were 436 populations who were been key informants. Research instruments which have been applied to them comprised a fieldwork data collection form, semi-structured interview, panel discussion, focus group discussion, and an interview schedule.
The findings of the study revealed that historical, social, and cultural contexts in Lampang province were sorted into four major eras: pre-historical era, establishment of state era, Myanmar’s colonized era, and Siam’s intendancy-based government. In addition to the numbers of 1,275 Buddhist arts conservational fieldworks process, it showed that Lampang’s Buddhist arts reflected its potentialities and values. For historical and archeological values, it was found that the evidence which might traced back in Hariphunchai era. In terms of social and cultural aspects, all the Buddhist arts reflected the Lanna lifestyles found in different eras. In terms of aesthetic aspects, Lampang artistic school had clear and elegant aspects in terms of patterned, technical, and. For academic aspects, it also showed that knowledge about Buddhist arts was all resulted in local identities and an academic understandings. Furthermore, the Buddhist-arts conservation-based voluntourism activities obtained from the Buddhist arts conservative process were launched into seven major activities: 1) project orientation, 2) Buddhist arts apologizing rites, 3) counting and coding its serial numbers, 4) photo-taking, size-scaling, and cleaning, 5) inscription-reading, 6) Buddhist arts registering, and 7) panel discussions on lesson learned from different projects, and Buddhist arts returning rites. On the other hand, idea-sharing for greater management of voluntourism to meet its sustainability by a development of human resources, structure, and system. The result of participation assessment was in co-operation level in overview. Also, the assessment of impacts on voluntourism management, conducted one year after the program, showed that this voluntourism management leading to its height positive economic impacts, meanwhile, socio-cultural, and environmental impacts, was in moderate positive impacts. This program were diffused, and increased a conservational awareness to the community’s members and they tried to establish of many tourism-related community enterprises such as foodservice group, dancer group, and youngster local guide group. This model was the one to other communities as a voluntourism modelling. In conclusion, this research results would contribute a community’s Buddhist art registration handbook which benefits a related organization in order to conservation planning. Temples and communities got an establishment of Buddhist art conservational group, Buddhist art conservation learning center, and supportive networks in form of community enterprises.
For hypotheses testing, it revealed that each of participatory Buddhist arts conservational activities of Lampang Province made samples to gain cognitive knowledge differently at 0.05 level of significance. On the other hand, an activity which transfer knowledge in full formatted, designed for experimental group, made different testing result (pretest and posttest) at 0.05 level of significance. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). ศึกษาศักยภาพและคุณค่าของทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทงานพุทธศิลป์ของจังหวัดลำปาง จากบริบททางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม 2). สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร เพื่อถ่ายทอดความรู้ และความตระหนักรู้ด้านการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์ อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน 3). พัฒนาการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอนุรักษ์งานพุทธศิลป์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 4). ประเมินผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอนุรักษ์งานพุทธศิลป์อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มประชากรของงานวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 436 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก เครื่องมือที่ใช้กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือเครื่องมือเชิงคุณภาพประกอบด้วย แบบเก็บข้อมูลภาคสนาม แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง การจัดเวทีชาวบ้าน และการประชุมกลุ่มย่อย และเครื่องมือเชิงปริมาณได้แก่แบบสอบถามเพื่อการนำไปสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า บริบททางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ของจังหวัดลำปาง สามารถแบ่งแยกออกตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคที่ก่อตั้งเป็นนครรัฐ ยุคที่ตกภายใต้อำนาจของพม่า และยุคการเป็นมณฑลเทศาภิบาลภายใต้การปกครองของสยาม โดยจากงานพุทธศิลป์ที่ได้ผ่านกระบวนการอนุรักษ์ จำนวน 1,275 ชิ้น ของงานวิจัย พบว่างานพุทธศิลป์ของจังหวัดลำปางมีศักยภาพและคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยพบหลักฐานที่อาจมีอายุย้อนกลับไปถึงยุคอาณาจักรหริภุญไชย ด้านสังคมและวัฒนธรรมมีงานพุทธศิลป์ที่เป็นแบบที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของล้านนาในช่วงสมัยต่างๆ ด้านสุนทรียศาสตร์ งานพุทธศิลป์ลำปางจะมีจริตความงามชัดเจน เช่น กลุ่มลวดลาย กลุ่มเทคนิค กลุ่มรูปทรง ส่วนในด้านวิชาการ องค์ความรู้จากงานพุทธศิลป์ ทำให้เกิดการสืบค้นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นก่อให้เกิดองค์ความรู้ด้านวิชาการ โดยจากกระบวนการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์สามารถสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอนุรักษ์งานพุทธศิลป์ได้ จำนวน 7 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมปฐมนิเทศ 2) กิจกรรมขอขมาโบราณวัตถุ 3) กิจกรรมตรวจนับและลงรหัสหมายเลขเบื้องต้น 4) กิจกรรมถ่ายรูป วัดขนาดและทำความสะอาดตามกระบวนการวิชาการ 5) กิจกรรมอ่านจารึก 6) กิจกรรมลงทะเบียนโบราณวัตถุ 7) กิจกรรมเวทีสรุปบทเรียนของโครงการ ตรวจรับของคืน นอกเหนือจากนี้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อบริหารจัดการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน โดยพัฒนาคน โครงสร้าง และระบบ โดยมีผลการวัดระดับการมีส่วนร่วมในภาพรวมในระดับการให้ความร่วมมือ และภายหลังได้มีการประเมินผลกระทบหลังจากการบริหารจัดการท่องเที่ยวในห้วงเวลา 1 ปี พบว่าการท่องเที่ยวนั้นสร้างผลกระทบในระดับมากในทางเศรษฐกิจ ส่วนด้านสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลางในเชิงบวก รวมถึงสามารถได้แพร่กระจาย และเพิ่มความตระหนักรู้และจิตสำนึกในการอนุรักษ์ของประชากรในพื้นที่มากขึ้น โดยได้ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจต่างๆ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว เช่นกลุ่มอาหารเพื่อบริการนักท่องเที่ยว กลุ่มการแสดง และยุวมัคคุเทศก์ และเป็นตัวอย่างให้หลายชุมชนรอบข้างได้นำไปใช้ โดยสรุปผลของงานวิจัยทำให้ได้ทะเบียนงานพุทธศิลป์ที่องค์กรที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการอนุรักษ์ วัดและชุมชนได้ศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์พุทธศิลป์ ชมรมการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์ รูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอนุรักษ์งานพุทธศิลป์ และเครือข่ายสนับสนุนการท่องเที่ยวในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กิจกรรมการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์อย่างมีส่วนร่วมของจังหวัดลำปางแต่ละกิจกรรมมีผลทำให้กลุ่มตัวอย่างความรู้ด้านพุทธิพิสัยแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และกิจกรรมและวิธีการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบกิจกรรมการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์เต็มรูปแบบที่ออกแบบสำหรับกลุ่มทดลอง (experimental group) ทำให้ผลการทดสอบทั้งสองครั้ง (ก่อนและหลัง) แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 |
Description: | Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Tourism Development)) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาการท่องเที่ยว)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/169 |
Appears in Collections: | School of Tourism Development |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5809501003.pdf | 7.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.