Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1619
Title: GUIDELINES FOR VOCATIONAL SKILLS TRAINING FORGRADE 3 STUDENTS THANPUYING PORNSOMKUNTHONCHINDA SCHOOL,SAM MUEN SUBDISTRICT,MAE RAMAT DISTRICT,TAK PROVINCE
แนวทางการฝึกทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนท่านผู้หญิงพรสม กุณฑลจินดา ตำบลสามหมื่นอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
Authors: Kitiya Ing-anu
กิติยา อิงเอนุ
Ratchanon Somboonchai
รัชชานนท์ สมบูรณ์ชัย
Maejo University
Ratchanon Somboonchai
รัชชานนท์ สมบูรณ์ชัย
sawat@mju.ac.th
sawat@mju.ac.th
Keywords: ทักษะอาชีพ
แนวทางการฝึกทักษะอาชีพ
โรงเรียน
vocational skills
guideline for vocational kill training
school
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted to : 1) investigate area context of Grade 3 students at Thanpuying Pornsom Kunthonchinda school, Sammuen sub-district, Mae Ramat district, Tak province; 2) explore needs for vocational training of the Grade 3 students and the concerned personnel and 3) assess guidelines for vocational skills training of the Grade 3 students.  The sample group consisted of 36 Grade 3 students and 56 concerned personnel (the school director, the deputy director of the school, the school committee and the students’ guardians) obtained by purposive sampling.  Interview schedule, survey form, and assessment form were used for data collection.  Obtained data were analyzed by using descriptive statistics, data grouping and content analysis. Results of the study revealed that the Grade 3 students lived in a remate mountaineous area (80%) and the Karen (Pakageryor) was the major ethnic group there (more than 40 small communities).  Their livelihood was simple, modest and mainly depended on forest resources and maize cultivation.  They had enough areas for maize cultivation as the main occupation.  Most of the Grade 3 student wished to attend a training on vegetable gardening, oyster mushroom cultivation, wickerwork, food preservation and local weaving.  It was found that the Grade 3 students were satisfied with the straining activities at a highest level in all aspects.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนท่านผู้หญิงพรสม กุณฑลจินดา ตำบลสามหมื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 2) เพื่อสำรวจความต้องการฝึกทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และผู้เกี่ยวข้อง ตำบลสามหมื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และ3) เพื่อประเมินการใช้แนวทางการฝึกทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตำบลสามหมื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 36 คน และใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้อง (ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 56 คน สุ่มโดยวิธีแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ และแบบประเมินเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดย  การวิเคราะห์เนื้อหา การจัดกลุ่มข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า จากการศึกษาบริบทพื้นที่ของนักเรียนมีลักษณะบริบทพื้นที่ เป็นภูเขาสูงร้อยละ 80 ห่างไกลจากชุมชนเมือง ชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง หรือที่เรียกว่า “ปกาเกอญอ” อาศัยกระจายกันอยู่เป็นย่อมบ้านตามเทือกเขากว่า 40 หย่อมบ้าน  มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สมถะ ใช้ประโยชน์จากป่าในการดำรงชีวิต อาชีพส่วนใหญ่ทำไร่ข้าวโพดเป็นหลัก ซึ่งเป็นรายได้หลักของครอบครัว มีพื้นที่เพียงพอต่อการทำการเกษตร การทำไร่ข้าวโพดจึงเป็นจุดเด่นการประกอบอาชีพในชุมชน ผลการสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของนักเรียนพบว่า ส่วนใหญ่ต้องการฝึกทักษะอาชีพ การปลูกพืชผักสวนครัว การเพาะเห็ดนางฟ้า การจักสาน การทอผ้าประจำถิ่น และการแปรรูปอาหาร/ถนอมอาหาร และได้มีการจัดสร้างแนวทางการฝึกทักษะอาชีพและประเมินความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมทักษะอาชีพทั้ง 5 กิจกรรม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ปฏิบัติกิจกรรมรายด้าน กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด กิจกรรมจักสาน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด กิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้า มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด  กิจกรรมแปรรูปอาหาร/ถนอมอาหาร มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด กิจกรรมทอผ้าประจำถิ่น มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1619
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6301417001.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.