Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1542
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิวัฒน์ ประสานสุข-
dc.date.accessioned2023-09-19T03:45:35Z-
dc.date.available2023-09-19T03:45:35Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1542-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองมะจับ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองมะจับ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและ เพื่อทราบผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองมะจับตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ กลุ่มนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกลุ่มผู้ที่มีความคุ้นเคยกับแหล่งท่องเที่ยวและมีความรู้ในเรื่องทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านหนองมะจับได้แก่กลุ่มผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปของชุมชนบ้านหนองมะจับจำนวน 300 คนและกลุ่มนักท่องเที่ยวนำร่องที่เข้ามาท่องเที่ยวและใช้บริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองมะจับ จำนวน 50 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์เกี่ยวกับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วม และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยใช้สถิติพรรณนา ใช้ค่าความถี่และร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบ Chi - Square test ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองมะจับอยู่ในระดับสูง และทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนหนองมะจับที่สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ดีที่สุดได้แก่ป่าชุมชนสำหรับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกรจัดการท่องเที่ยวนั้นพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวในภาพรวมปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ปัจจัยด้านอายุ เพศ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ในด้านการติดตามประเมินผล ส่วนปัจจัยในด้านสถานภาพนั้นมีความสัมพันธ์กับการมีส่วน ร่วมในด้านการแบ่งปันผลประโยชน์และการติดตามประเมินผล สำหรับปัจจัยทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่าง อาชีพ กับระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว พบว่ามีความสัมพันธ์ในด้านการแบ่งปันผลประโยชน์ ผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองมะจับหลังการจัดการท่องเที่ยวนั้นเพิ่มขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.subjectการจัดการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนen_US
dc.subjectศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวen_US
dc.titleการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองมะจับ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeCommunity-Based Tourism Management by Nong Ma Chap community, Mae Faek sub-district, Sansai District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:STD-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wiwat-prasansuk.pdf159.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.