Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1539
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสรายุทธ มหาไม้-
dc.date.accessioned2023-09-19T03:13:01Z-
dc.date.available2023-09-19T03:13:01Z-
dc.date.issued2015-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1539-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างเผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับวิสัยทัศน์จังหวัด 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่สอคคล้องกับวิสัยทัศน์จังหวัดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารระดับหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดลำพูน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนกาคเอกชน ผู้แทนภาค ประชาสังคม และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานค้านการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดรวมจำนวน 18 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีคำถามตามที่ได้เตรียมไว้ และศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - 2560 และวิเคราะห์ดีความเนื้อหาผลการศึกษาพบว่า การบริหารแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลำพูนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - 2560 มีขั้นตอนกระบวนการบริหารแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1 การจัดทำแผนยุท ธศาสตร์ (Stratcgic planning) 2 การจัดโครงสร้างและการจัดสรรทรัพยากร (Structuring & Resourccs Allocation) 3 การจัดบุคลากรและการอำนวยการ (Stafling and Directing) 4 การปฏิบัติตามแผน (Implementing) และ 5 การกำกับติคตามประเมินผล (Monitoring and Evaluating) โครงสร้าง การคำเนินงาน การบริหารจัดการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 255 - 2560 เป็นไปตามกรอบแนวทางของพระราชกฤษฎีกาว่าคั่วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 โดยมีคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.0..) เป็นผู้กำกับบริหารการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดลำพูน ซึ่งประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ค่าเป้าหมาย ที่กำหนดขึ้นมานั้น ได้ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมครอบคลุมทุกภาคส่วนในการร่วมกันเสนอแนะปัญหา ความต้องการแนวทางการพัฒนาจังหวัดลำพูน โดยมีการดำเนินกระบวนการคิด วิเกราะห์ เพื่อค้นหาศักยกาพของจังหวัดลำพูน โดยใช้เทคนิคการวิเกราะห์ SWOT Analysis เข้ามาดำเนินการซึ่งประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละค้านที่กำหนดขึ้นมามีความสอดคล้องเชื่อมโยงสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ "เมืองแห่งความสุข บนความพอเพียง" ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารแผบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลำพูนประกอบด้วยปัจจัยกายใน เช่นภาวะผู้นำของผู้บริหาร ความรู้ ความสามารถและจำนวนบุคลากรเจ้าหน้าที่ ความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อระ บบการบริหารงานของภาคราชการ ปัจจัยภายนอก เช่น ระเบียบข้อกฎหมาย ระยะเวลาคำเนินการ ความต่อเนื่องของนโขบายภาครัฐ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ แนวคิด ทิศทางในการจัดทำและการบริหารแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา จังหวัดลำพูนในอนาคต มุ่งหวังให้ภาลประชาชนภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็ง มีความตื่นตัว และตระหนักรู้ถึงบทบาทหน้าที่ความเป็นพลเมือง ที่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการพัฒนาจังหวัดลำพูนและพัฒนาประเทสให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม และมุ่งหวังให้ภาคราชการให้ความสำคัญกับภาคประชาสังคมเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการประชาคมระดม ความคิดเห็นใน ทุกๆเรื่องราว ทุกๆมิติที่ดำเนินการแล้วจะเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนหน่วยงานระดับนโยบายที่กำกับดูแลการพัฒนาบุคลากรกาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กวรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรกาครั ฐให้เกิดทักษะมีความเป็นมืออาชีพด้านการบริหารเชิง ยุทธศาสตร์ เพื่อจะได้นำองค์ความรู้ เทคนิคการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ไปเป็นกรอบแนวคิดวางรากฐานการพัฒนาระบบการบริหารราชการ การ พัฒนาประเทศ หากดำเนินการได้จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับกำลังคนภาครัฐ และสร้างความเข้มแข็งทางค้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะค้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ที่มีการเปลี่ยนแปลงพลวัตรอยู่ตลอดเวลา ประการสุดท้าย การบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลำพูนในภาพรวม ควรน้อม นำหลักการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง "การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" มาเป็นกรอบคิดและกรอบการทำงานการบริหารในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งแสวงหาปัญหาข้อเท็จจริง สร้างความร่วมมือระหว่างกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมมือกันพัฒนาจังหวัดลำพูนให้เกิดประโยชน์สุขสูงสุดตามวิสัยทัศน์ "เมืองแห่งความสุข บนความพอเพียง"en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้. สำนักหอสมุดen_US
dc.subjectการบริหารen_US
dc.subjectยุทธศาสตร์en_US
dc.titleความสอดคล้องระหว่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับวิสัยทัศน์ จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeCongruence Between the Strategic Plan foe Provincial Development and Visions of Lamphum Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sayayuth-mahamai.pdf129.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.